20909 : โครงการเกษตรกรสู้โลกร้อน: การปรับปรุง โรงเรือนและสภาพแวดล้อมเพื่อลดความร้อน และสร้างสุขภาวะที่ดีสำหรับโค ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.สุทธิพร ฟังเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  35  คน
รายละเอียด  เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ (สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร) 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัชวิชญ์  ติกุล
อาจารย์ ณัฐพล  เรืองวิทยานุสรณ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.5(64-68)-FAED67 การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงาน และการให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ตัวชี้วัด 2.3.1FAED67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.1(64-68) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอกอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ FAED-2.5.3(64-68) ผลักดันและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยในสาขาที่คณะมีความพร้อม
กลยุทธ์ FAED-2.5.2(64-68) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานด้านบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.3.2FAED67 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.4(64-68) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-2.5.5(64-68) จัดทำฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
กลยุทธ์ FAED-2.5.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-2.5.7(64-68) เพิ่มปริมาณการยื่นข้อเสนอโครงการ โดยประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอจากแหล่งทุนต่าง ๆ และประสานการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มโอกาสการยื่นข้อเสนอโครงการ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอภายในมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันกำลังสร้างผลกระทบที่ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยากต่อการรับมือทั้งสภาวะอากาศที่ร้อนรุนแรงและยาวนานที่มีผลทำให้โคเกิดความเครียด กินอาหารได้ในปริมาณที่ลดน้อยลงถึงร้อยละ 10 ถึง 15 จากปริมาณการบริโภคปกติ (West, 2019) ทำให้สุขภาพของโคอ่อนแอลง อัตราการเจริญเติบโตต่ำ เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และส่งกระทบด้านลบต่อผลผลิต ในขณะเดียวกันสภาพแวดล้อมที่อับชื้น ทำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคติดต่อ เช่น โรคปากเท้าเปื่อย โรคคอบวมและโรคไข้สามวันที่เป็นโรคติดต่อผ่านแมลงดูดเลือด (กาญจนภูสิต, 2565) อีกทั้งในอำเภอสันป่าตองยังมีแหล่งการซื้อขายโคกระบือขนาดใหญ่ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดในสัตว์สูง ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคจึงจำเป็นต้องมีวิธีการรับมือกับสภาพอากาศที่แปรปรวนเพื่อให้สัตว์เลี้ยงของตนยังคงมีสวัสดิภาพที่ดี การจัดสภาพแวดล้อมและโรงเรือนให้ได้มาตราฐานมีส่วนช่วยอย่างมากในการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและโรคติดต่อได้เป็นอย่างดี การเลี้ยงสัตว์ระบบปิดจึงถูกให้ความสำคัญและถูกให้ความสนใจในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Hafiz, 2020) จะเห็นได้ว่าในเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายใหญ่ส่วนมากนิยมการทำปศุสัตว์ในรูปแบบระบบปิดแบบครบวงจร ที่ต้องอาศัยการใช้พลังงานไฟฟ้าในการควบคุมดูแลโรงเรือน แต่สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีข้อจำกัดในการสร้างโรงเรือนนั้น ส่วนมากนิยมใช้วิธีการเลี้ยงโคแบบระบบเปิด เนื่องมาจากข้อจำกัดขององค์ความรู้ ต้นทุนและรายจ่าย อาทิ ค่าไฟ ค่าน้ำและค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ อีกทั้งการลงทุนสร้างโรงเรือนระบบปิดอาจนำมาซึ่งความไม่คุ้มทุนสำหรับการเลี้ยงสัตว์ที่มีจำนวนไม่มาก จากการนำเสนอการประยุกต์ใช้ความรู้จากโครงการวิจัยเรื่องรูปแบบโรงเรือนและการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อและโคนมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอนาคต (สพภ.-วช.15/2561) ในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างโรงเรือนและจัดสภาพแวดล้อมเพื่อรับมือกับสภาวะโลกร้อนสำหรับเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อในตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในปีงบประมาณ 2565 พบว่ากิจกรรมประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ ทางโครงการยังคงเห็นถึงประโยชน์ในการเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวและต้องการขยายเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโครายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังมีเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวที่มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้เรื่อง การปรับปรุงโรงเรือนและสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพื่อลดอุณหภูมิแบบประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อที่เกษตรกรจะสามารถนำความรู้ไปปรับปรุงโรงเรือนและสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มของตนได้ โครงการเกษตรกรสู้โลกร้อน: การปรับปรุงโรงเรือนและสภาพแวดล้อมเพื่อลดความร้อนและสร้างสุขภาวะที่ดีสำหรับโค ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโครายย่อยมีความรู้ในการปรับปรุงโรงเรือนเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่แปรปรวน สามารถดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ดำเนินงานก่อสร้างปรับปรุงโรงเรือนและสภาพแวดล้อมด้วยงบประมาณที่เกษตรกรสามารถจ่ายได้ นำมาซึ่งการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในการลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน ลดความอับชื้นซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค รวมไปถึงการลดต้นทุนค่าอาหารเสริมและยารักษาโรค โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีจุดมุ่งหมายในการถ่ายทอดความรู้ด้านงานวิชาการไปสู่เกษตรกร สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวให้มุ่งไปสู่ความเป็นเลิศทางการเกษตรและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของทั้งระดับชุมชนและมหาวิทยาลัย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อบริการวิชาการแก่เกษตรกรรายย่อยให้สามารถปรับปรุงโรงเรือนและสภาพแวดล้อมที่ช่วยลดอุณหภูมิและความอับชื้นภายในโรงเรือนเลี้ยงโคแบบพึ่งพาธรรมชาติโดยไม่ใช้พลังงาน
เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงโคของเกษตรกรรายย่อยในการลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ที่เกิดขึ้นจากความร้อนภายในโรงเรือนที่ส่งผลกระทบต่อโค
เพื่อส่งเสริมการบูรณาการงานวิจัยกับงานบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและเพิ่มศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกรมีความรู้ในการปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงโคเนื้อ
KPI 1 : เกษตรกรมีความรู้ในการปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงโคเนื้อเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนเกษตรกรและผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
35 คน 35
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกรมีความรู้ในการปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงโคเนื้อ
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปรับปรุงโรงเรือนและสภาพแวดล้อมเพื่อลดความร้อนและสร้างสุขภาวะที่ดีสำหรับโค ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัชวิชญ์  ติกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ณัฐพล  เรืองวิทยานุสรณ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 43 คน ๆ ละ 30 บาท 4 มื้อ เป็นเงิน 5,160 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,160.00 บาท 0.00 บาท 5,160.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 43 คน ๆ ละ 100 บาท 2 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,600.00 บาท 0.00 บาท 8,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบกราฟฟิคคู่มือประกอบการอบรม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่สำหรับบรรยายและฝึกปฏิบัติการพื้นที่การจัดฝึอบรมบรรายและฝึกปฏิบัติ พร้อมระบบโสตทัศนูปกรณ์
(จำนวน 2 วัน ๆ ละ 2,000 บาท)

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการอบรมปฏิบัติการ
(จำนวน 2 วัน ๆ ละ 2,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าชดเชยในการใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปปฏิบัติงาน (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)
- ค่าเดินทาง/ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,110.00 บาท 0.00 บาท 1,110.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่ไม่ใช่บุคลากรของรัฐ)
- บรรยาย 1 คน x 4 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
- ปฏิบัติ 1 คน x 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
- บรรยาย 1 คน x 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
- ปฏิบัติ 1 คน x 4 ชั่วโมง ๆ ล 300 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,890.00 บาท 0.00 บาท 3,890.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ คลิปหนิบกระดาษ แฟ้ม ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,840.00 บาท 0.00 บาท 2,840.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ช่วงเวลาและรูปแบบการอบรมอาจเปลี่ยนแปลงหรือคาดเคลื่อนได้เนื่องจากอยู่ในสถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัส โควิด-19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับช่วงเวลาลงพื้นที่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดแบะเป็นไปตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่
จำกัดหรือแบ่งกลุ่มการอบรม และ/หรือ อบรมออนไลน์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การออกแบบสิ่งแวดล้อมในงานสถาปัตยกรรม
ช่วงเวลา : 01/12/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
โรงเรือนและการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อและโคนมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต (สพภ.-วช.15/2561) มาบริการวิชาการ
ช่วงเวลา : 01/12/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล