20907 : โครงการวิเคราะห์สถานภาพพืชอาหารพื้นถิ่นเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (67-2.6.4)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.สุทธิพร ฟังเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ผู้ประกอบการธุรกิจภูมิทัศน์ หน่วยงานปกครองท้องถิ่น นักศึกษา และผู้สนใจในการวางแผนการบริหารจัดการและแนวทางการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนร่วมกัน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน
แผนงานพื้นฐาน
แผนงานรอง : แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรคน
ผลผลิต : ผลการให้บริการวิชาการ
กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์
แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม
งานบริการวิชาการแก่ชุมชม
กองทุนบริการวิชาการ
งบเงินอุดหนุน
เงินอุดหนุนทั่วไป
เงินอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ (อพ.สธ.)
2567 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พรทิพย์  จันทร์ราช
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.5(64-68)-FAED67 การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงาน และการให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ตัวชี้วัด 2.3.1FAED67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.1(64-68) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอกอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ FAED-2.5.3(64-68) ผลักดันและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยในสาขาที่คณะมีความพร้อม
กลยุทธ์ FAED-2.5.2(64-68) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานด้านบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.3.2FAED67 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.4(64-68) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-2.5.5(64-68) จัดทำฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
กลยุทธ์ FAED-2.5.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-2.5.7(64-68) เพิ่มปริมาณการยื่นข้อเสนอโครงการ โดยประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอจากแหล่งทุนต่าง ๆ และประสานการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มโอกาสการยื่นข้อเสนอโครงการ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอภายในมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับ ความท้าทายจากภายนอกและภายในประเทศที่มีความผันแปรสูงและมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ทั้งที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และข้อจำกัดของโครงสร้างภายในประเทศที่ยังคงรอการปรับปรุงแก้ไขในหลายมิติ นโยบายการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปี จากสรุปผลแผนพัฒนาที่ผ่านมาของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12-13 พบว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ตลอดจนผลจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อโครงสร้างและองคาพยพของประเทศในทุกมิติ เพื่อนำมากำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศที่ควรมุ่งไปในอนาคต โดยผสมผสานบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้น ในการที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตท่ามกลางสังคมที่ทันสมัย ก้าวหน้า ควบคู่ไปกับด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์อย่างสมดุลในระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ให้สามารถเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคงท่ามกลางความผันแปรที่เกิดขึ้นรอบด้านจากภายนอก รายงานจาก UN ปี 2013 รายงานจำนวนประชากรของโลกเพิ่มจาก 7.2 พันล้านคนเพิ่มเป็น 9.6 พันล้านคนในปี 2050 ปัจจุบันพบว่าร้อยละ 50 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70 ในปี 2030 ด้วยสภาพเมืองขยาย ที่ดินทำกินลดลง และสภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง การผลิตจากภาคการเกษตรลดลง (Aubry C,2012) ความต้องการอาหารในพื้นที่เมืองเพิ่มสูงขึ้น การสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยในพื้นที่เมือง(Food Security) จึงเป็นประเด็นที่สังคมทั่วโลกให้ความสนใจ การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเมืองร่วมกับการสร้างอาหารของพื้นที่ชุมชนเมืองหรือการเกษตรในเขตเมือง (Urban Smart Farming) กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก สอดคล้องการศึกษา Orsini et al. (2013) ที่รายงานว่า การจัดการเกษตรกินได้ในพื้นที่เมืองสามารถเป็นแหล่งอาหารสำหรับพื้นที่เมือง (Food supply) เสริมสร้างสุขภาพ (Health condition) สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) เชื่อมโยงผู้คนในสังคม (Social integration) และระบบสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (environmental sustainability )ไปพร้อมๆกันได้ จากสถานการณ์ประเด็นปัญหาและความห่วงใยในเรื่องสิ่งแวดล้อมนำไปสู่การเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคและการผลิตในทุกระดับเพื่อการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green growth) จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการสร้างเสริมองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ รวมถึงมีการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมสู่คุณภาพดีพร้อมกับการพัฒนาประเทศชาติอย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคง และยั่งยืนสืบไป การใช้ประโยชน์และพึ่งพาทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นการบริโภคทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย หากไม่มีการฟื้นฟูทรัพยากร และแนวทางการจัดการอย่างยั่งยืน จะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อ ระบบนิเวศและแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ จะส่งผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตของผู้คนและชุมชนโดยรอบพื้นที่ ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ จำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนา องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบสถานะปัจจุบันของทรัพยากรแต่ละพื้นที่ ที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถธำรงรักษาขุมทรัพย์อันทรงคุณค่ามหาศาลจากความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างยั่งยืน จากรายงานการวิจัย การศึกษาศักยภาพของพืชอาหารพื้นถิ่น ในเขตชานเมืองเชียงใหม่ เพื่อการนำไปใช้ในงานภูมิทัศน์ ภายใต้โครงการทุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2563 (พรทิพย์, 2563) ได้ทำการสำรวจพืชอาหารท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบพืชอาหารพื้นถิ่นในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสันต้นเปา บ้านป่าก้าง บ้านบ่อหิน บ้านขัวโก บ้านหนองอึ่ง บ้านพยากน้อย พบพืชกินได้พื้นถิ่นจำนวน 263 ชนิด แยกเป็นประเภท ไม้ยืนต้น 82 ชนิด ไม้พุ่ม 43 ชนิด ไม้ล้มลุก 100 ชนิดและไม้เลื้อย 38 ชนิด โดยสำรวจหมวดหมู่ตามหมวดหมู่การใช้งานในด้านงานภูมิทัศน์ประกอบด้วย 4 ประเภท ได้แก่ ไม้ต้น(Tree) ไม้พุ่ม (Shrub) ไม้ล้มลุก (Herb) และไม้เลื้อย (Climber) ทั้งนี้จากงานวิจัยดังกล่าวยังพบว่าประเด็นสำคัญคือ การกระจายตัวของพืชกินได้พื้นถิ่นมีแนวโน้มลดและมีพืชที่น่าสนใจที่ใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้าน เช่น ผักสี้ยว มะเฟือง และ ผักเฮือด เป็นต้น มีจำนวนลดลงอย่างมากในชุมชน ในขณะที่บางชนิดพันธ์ได้สูญหายไปจากชุมชน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่สอดคล้องกับการรายงานที่ได้กล่าวในตอนต้น ที่สถานการณ์พืชอาหารมีความสำคัญต่อสังคมโลกที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารที่ลดลง และแนวทางที่สำคัญคือการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยเฉพาะในพื้นที่เมืองด้วยการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารในพื้นที่ที่จำกัด การวิเคราะห์สถานการณ์การลดลงของพืชกินได้พื้นถิ่น รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการลดจำนวนของทรัพยากรในท้องถิ่นจึงมีความสำคัญต่อการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่น ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงมีเป้าหมายการวิจัยต่อยอดจากผลการวิจัยโครงการการศึกษาศักยภาพของพืชอาหารพื้นถิ่นในเขตชานเมืองเชียงใหม่เพื่อการนำไปใช้ในงานภูมิทัศน์ ; พรทิพย์ จันทร์ราช (2563) และโครงการศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้ ; เยาวนิตย์ ธาราฉาย (2563) เพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยดังกล่าวมาดำเนินการศึกษาต่อเนื่องและบูรณาการ เพื่อวิเคราะห์สถานภาพพืชอาหารพื้นถิ่น สถานการณ์ความหลากหลาย ในการใช้ประโยชน์ ทบทวนคุณค่าและมูลค่าต่อชุมชน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ร่วมกับการสร้างมูลค่าของการใช้ประโยชน์พืชอาหารพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถธำรงรักษาขุมทรัพย์อันทรงคุณค่ามหาศาลจากความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ให้เยาวชนรุ่นหลังได้มีโอกาสเรียนรู้และนำมาสู่การใช้ประโยชน์สืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อรวบรวมข้อมูลพืชอาหารพื้นถิ่นในพื้นที่
เพื่อวิเคราะห์สถานภาพและการใช้ประโยชน์พืชอาหารพื้นถิ่นของชุมชน
เพื่อวิเคราะห์ ทบทวนคุณค่าของพืชอาหารพื้นถิ่น (ข้อมูลทางสมุนไพร ข้อมูลโภชนาการ การใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ (กิน/ ใช้/ ชม /บูชา))
เพื่อเสนอแนวทางรูปแบบการใช้ประโยชน์และแนวทางอนุรักษ์พืชอาหารท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในพื้นที่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แนวทางรูปแบบการใช้ประโยชน์และแนวทางอนุรักษ์พืชอาหารท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในพื้นที่
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจาการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของงานวิจัยและบริการวิชาการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แนวทางรูปแบบการใช้ประโยชน์และแนวทางอนุรักษ์พืชอาหารท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในพื้นที่
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การรวบรวมข้อมูลภาคสนาม สำรวจและสอบถามจัดทำบันทึก ข้อมูลเชิงพื้นที่ ทบทวนข้อมูลพื้นที่ เพื่อจัดทำฐานรายชื่อพืชพื้นถิ่น (Plant List) ฐานข้อมูลพืชกินได้คงอยู่ในพื้นที่ รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน
กิจกรรมที่ 2 : การวิเคราะห์ขอบเขต การประเมินสถานภาพพืชกินได้คงอยู่ในพื้นที่ ทบทวนข้อมูลอดีต- ปัจจุบัน
กิจกรรมที่ 3 : กิจกรรมการสร้างแนวทางการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมสำหรับพืชอาหารพื้นถิ่นกับกิจกรรมเสริมสร้างผลิตภัณฑ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พรทิพย์  จันทร์ราช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 1 คัน 3 ครั้ง ครั้งละ 2 วัน 2500 บาท/วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
(ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 30 บาท 1 มื้อ (3 ครั้ง))
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ (3 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัย (ปริญญาตรี) 1 คน x 3 เดือน ๆ ละ 15,000 บาท
ประสานงาน สำรวจพื้นที่ภาคสนามและจัดทำฐานข้อมูลและจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผู้ช่วยวิจัย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 84,000.00 บาท 84,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาค ภาคบรรยาย
(จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 คน จำนวน 2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าป้ายไวนิลฝึกอบรม (ขนาด 1.2X 2.4 เมตร) 2 ชิ้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,300.00 บาท 1,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน/ วัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท 13,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าจัดพิมพ์รายงานสี เล่มละ 500 บาท x 10 เล่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
บูรณาการความรู้ ปีการศึกษา 2566 - 2567 : การวิเคราะห์สถานภาพพืชอาหารพื้นถิ่นเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ข้อมูลชนิดพันธุ์พืชพื้นถิ่นที่มีศักยภาพในการบูรณาการกับการเรียนการสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตลอดจนบูรณาการองค์ความรู้เพื่อประสิทธิภาพในการใช้พืชพรรณในพื้นที่อย่างยั่งยืน ส่งเสริมอนุรักษ์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมายเพื่อการเรียนการสอน การวิจัยจะส่งผลให้เกิดการองค์ความรู้สำหรับ นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู
ช่วงเวลา : 02/10/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ต่อยอดงานวิจัยจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ-มจ.) ประจำปี 2563 : โครงการศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้ ; เยาวนิตย์ ธาราฉาย (2563) และโครงการการศึกษาศักยภาพของพืชอาหารพื้นถิ่นในเขตชานเมืองเชียงใหม่เพื่อการนำไปใช้ในงานภูมิทัศน์ ; พรทิพย์ จันทร์ราช (2563)
ช่วงเวลา : 02/10/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล