20895 : โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระดับอุดมศึกษาเพื่อสนองแนวทางการพัฒนาการศึกษาของชาติและ โครงการผู้ด้อยโอกาสในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ฉัตรสูงเนิน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/2/2567 4:26:13
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
03/01/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบบริการวิชาการ 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน
อาจารย์ ดร. ศรัณย์  จันทร์ทะเล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA67 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA67-2.7 มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
ตัวชี้วัด LA67 จำนวนโครงการที่มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์ LA67 ส่งเสริมความร่วมมือการจัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" หมายถึง กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องเท่านั้น ซึ่งเด็กที่มีความบกพร่อง มีการแบ่งหลายแบบ ซึ่งตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ มีการแบ่งลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้คือ เด็กที่มีลักษณะ 1) มีความบกพร่องทางการมองเห็น 2) มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3) มีความบกพร่องทางการสื่อสาร 4) มีความบกพร่องทางร่างกาย และการเคลื่อนไหว 5) มีความบกพร่องทางอารมณ์ และพฤติกรรม 6) มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities) 7) มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) 8) มีภาวะออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs) และ 9) มีความพิการซ้อน ความต้องการพิเศษนี้ ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้ เช่น มีความยากลำบากในการเรียน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส หรือสุขภาพ มีความยากลำบากในการสร้างหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู แสดงออกถึงภาวะความเครียดและไม่มีความสุขอย่างเป็นปกติ มีแนวโน้มของอาการทางสุขภาพร่างกาย หรือความกลัว อันเป็นผลของปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองหรือปัญหาที่เกิดในสถานศึกษา นอกจากนี้ จากสถานการณ์สังคมและโลกปัจจุบัน ก่อให้เกิดภาวะความเครียดในทุกระดับชั้น จากสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเด็กที่มีความต้องการพิเศษในประเทศไทยประจำปี 2563 ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตพบว่าผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษและผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวได้รับการศึกษา 1,533,159 คน ในจำนวนนี้จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษามากที่สุดอยู่ที่ 1,249,795 คน รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา 169,606 คน ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา 35,085 คน ไม่ระบุการศึกษา 24,402 คน และอุดมศึกษา 21,220 คน ซึ่งปัจจุบัน มีเด็กพิเศษจำนวนมากขึ้นที่ได้รับโอกาสและกล้าที่จะออกมาเรียนรู้กับสังคมภายนอก จนเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งทางสถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีการเตรียมบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในตัวเด็ก รวมถึงมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการทางการศึกษาและเตรียมสภาพสิ่งแวดล้อม และสังคม ให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้พวกเขาได้เรียนรู้และสำเร็จการศึกษาตามความตั้งใจ อันจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของประเทศที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 อันเป็นการจัดการความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา นอกจากนี้เป็นการสนองต่อแนวทาง โครงการเพื่อการศึกษาและโครงการผู้ด้อยโอกาส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ให้ความสำคัญกับการให้การศึกษากับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมาอย่างต่อเนื่อง โครงการบริการวิชาการเรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระดับอุดมศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จึงดำเนินการ เพื่อสานต่อโครงการบริการวิชาการในปี 2566 เรื่องการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (SDG10) ที่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจกับ ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง ที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้พัฒนาศักยภาพอย่างเต็มรูปแบบ โดยการอบรมเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เกิดความตระหนักและเข้าใจในตัวเด็ก สำหรับโครงการบริการวิชาการในปีงบประมาณ 2567 นี้ เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบวิธีการสอน และเขียนแผนปฏิบัติการสอนสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างถูกต้องตามหลักการ นอกจากนี้ยังเป็นการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนของผู้สอนในระดับอุดมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับให้แก่ผู้สอน และพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของผู้เรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
2.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา และสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ และทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในทุกภาคส่วน ผู้ปกครอง ในการเป็นเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
3.เพื่อตอบสนองต่อโครงการเพื่อการศึกษาและโครงการผู้ด้อยโอกาส ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาการเรียน บูรณาการกับงานบริการวิชาการ
KPI 1 : จำนวนเครือข่ายความร่วมมือเกี่ยวกับเด็กพิเศษ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : ร้อยละของความรู้ที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
75 ร้อยละ 75
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาการเรียน บูรณาการกับงานบริการวิชาการ
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระดับอุดมศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ศรัณย์  จันทร์ทะเล (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ชนิตสิรี  ศุภพิมล (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ปวันรัตน์  บัวเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม และเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คน ๆ ละ 150 บาท จำนวน 1 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,750.00 บาท 0.00 บาท 3,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม (50หน้า/เล่ม) จำนวน 25 เล่มๆละ 70 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อออนไลน์ จำนวน 1 ชุดๆ ละ 5000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 5 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 5 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน คนละ 1 วัน วันละ 200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกา แฟ้มเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,150.00 บาท 0.00 บาท 1,150.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล