20885 : โครงการการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/12/2566 17:14:05
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
11/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มสตรีแม่บ้านในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองแม่โจ้ เทศบาลตำบลป่าไผ่ เทศบาลตำบลสันทรายหลวง เทศบาลตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วาธิณี  อินทรพงษ์นุวัฒน์
อาจารย์ ดร. นงพงา  แสงเจริญ
ดร. ภัสสร์พัณณ์  ศรีวิชัย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-67-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-67-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(1) ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น
กลยุทธ์ FT-67-2.3.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(2) จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(4) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปริมาณการจับสัตว์น้ำในประเทศไทยมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2543 มีปริมาณสูงถึง 3.00 ล้านตัน เหลือเพียง 1.54 ล้านตัน ในปี 2562 (FAO, 2019) ร่วมกับสภาวะความผันแปรด้านภูมิอากาศที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมหรือภัยแล้งได้ง่าย (กรมประมง, 2562) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจึงเป็นทางออกที่สำคัญในการสร้างผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยในปี 2543 มีปริมาณเพียง 7.38 แสนตัน ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 9.64 แสนตัน ในปี 2562 (FAO, 2019) นอกจากนี้ประเทศไทยเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญและสามารถผลิตอาหารในฐานะเป็นครัวของโลกได้ โดยจังหวัดเชียงใหม่มีนักท่องเที่ยวที่เป็นคนในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ในปี 2562 มีนักท่องเที่ยวมาเยือนเชียงใหม่ประมาณ 10.82 ล้านคน สร้างมูลค่าให้กับจังหวัดคิดเป็นเงินประมาณ 1.09 แสนล้านบาท (สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่, 2563) ส่งผลให้ความต้องการอาหารเพื่อรองรับการบริโภคก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ผลผลิตสัตว์น้ำจืดในจังหวัดเชียงใหม่มีเพียง 3,871 ตัน ในปี 2562 (กรมประมง, 2564) ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคสัตว์น้ำไม่น้อยกว่าวันละ 40 ตัน ส่วนที่ยังขาดต้องนำมาจากจังหวัดใกล้เคียงและภาคกลาง (สำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่, 2558) ซึ่งพบปัญหาเรื่องของคุณภาพปลาและการใช้สารเคมี เพื่อคงสภาพความสดของสัตว์น้ำ เนื่องจากในการขนส่งที่ต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง ขณะเดียวกันผู้บริโภคในปัจจุบันต้องการบริโภคสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น การแปรรูปอาหาร (food processing) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของอาหารด้วยการผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการ มีคุณภาพและปลอดภัย สอดคล้องกับการยอมรับของผู้บริโภค และสามารถเก็บรักษาไว้ได้ระยะหนึ่ง กระบวนการทำแห้งอาหารเป็นวิธีการที่เก่าแก่วิธีหนึ่งของการถนอมอาหาร ด้วยการดึงน้ำออกจากอาหารด้วยความร้อน เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์เกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ อาหารที่ผ่านการตากแห้งและการรมควัน ช่วยให้อาหารนั้นเก็บไว้บริโภคได้นานขึ้น วิธีการทำแห้งโดยใช้เครื่องมือมี 5 วิธี ได้แก่ 1) การใช้กระแสลมร้อนสัมผัสกับอาหารโดยตรง ได้แก่ ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ ตู้อบลมร้อน (hot air oven) 2) การพ่นอาหารที่เป็นของเหลว ได้แก่ เครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย (spray dryer) 3) การให้อาหารข้นสัมผัสกับผิวหน้าของลูกกลิ้งร้อน เช่น เครื่องอบแห้งแบบลูกกลิ้ง (drum dryer/roller dryer) 4) การทำแห้งแบบเยือกแข็ง (freeze dryer) โดยการกำจัดน้ำในส่วนประกอบของอาหารด้วยการทำให้เย็นจนเป็นน้ำแข็งและเพิ่มความร้อนเพื่อให้ระเหิดกลายเป็นไอในห้องสุญญากาศ และ 5) การลดความชื้นในอาหารด้วยไม่โครเวฟ (microwave) โดยองค์ประกอบของน้ำเกิดการสั่นสะเทือนและเสียดสีกันจากการกระตุ้นของคลื่นไม่โครเวฟ ทำให้น้ำระเหยออกไป นอกจากนี้การอบแห้งในปริมาณมากในคราวเดียว สามารถใช้โรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ได้เช่นเดียวกัน โดยหลักการทำแห้งมีความคล้ายคลึงกับตู้อบลมร้อนหรือตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ดังที่ได้กล่าวข้างต้น ประกอบด้วยแผงรับแสงอาทิตย์ ซึ่งทำด้วยวัสดุใส เมื่อแสงอาทิตย์ตกลงแผงรับแสงจะทะลุผ่านวัสดุสีดำภายในโรงอบ และเปลี่ยนเป็นรังสีความร้อน ที่ผ่านกระทบกับอาหาร ทำให้น้ำในอาหารระเหยออกมา ผ่านช่องทางระบายอากาศของโรงอบ มีผลทำให้อาหารแห้งลง ในระหว่างการอบแห้ง ควรกลับวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้ผิวหน้าของอาหารสัมผัสความร้อนได้อย่างทั่วถึง ทำให้แห้งเร็วและสม่ำเสมอ ข้อดีของการใช้โรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ ได้ผลิตภัณฑ์ที่สีสวยและส่ำเสมอ สามารถป้องกันฝุ่นละอองและแมลงได้ดี ใช้เวลาทำแห้งน้อยกว่าการตากแดดได้ถึงหนึ่งในสาม ประหยัดพื้นที่ในการตาก ประหยัดแรงงานโดยเฉพาะการเก็บอาหารที่ตากเข้าที่ร่มในตอนเย็น และนำออกตากแดดอีกครั้งในช่วงเช้า โดยการตากแดด มีโอกาสปนเปื้อนฝุ่นละออง เชื้อโรคจากแมลงพาหะ หรือเชื้อราจากการถูกฝนหรือละอองน้ำ ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นการอบรมให้ความรู้การทำแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสัตว์น้ำที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานการผลิตอาหาร เพิ่มมูลค่าให้แก่สัตว์น้ำ สร้างรายได้ให้แก่บุคคลที่สนใจ (นักศึกษา ศิษย์เก่า เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิสาหกิจชุมชนและกลุ่มแม่บ้าน) ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและปลูกจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน จึงเกิดโครงการ “การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ” จากการบูรณาการการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงและการบริการวิชาการสู่ชุมชน โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้าน Business Model Canvas (BMC) แนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคนิคการทำแห้งด้วยโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์และตู้อบลมร้อน การขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ และการตลาดออนไลน์ และการฝึกปฏิบัติการแปรรูปสัตว์น้ำด้วยโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์และตู้อบลมร้อน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เข้าใจในการเขียนแผนธุรกิจอย่างย่อ แนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมง เทคนิคการทำแห้ง การขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ และการตลาดออนไลน์
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติการแปรรูปสัตว์น้ำด้วยโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์และ ตู้อบลมร้อนในการประกอบอาชีพเสริม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 3 : การบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น ๆ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พันธกิจ 1
KPI 4 : สนับสนุนงานด้านการเรียน การสอนในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 รายวิชา 2
KPI 5 : ได้แหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25 25 คน 50
KPI 8 : ได้เครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันในโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 9 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0271 0.0229 ล้านบาท 0.05
KPI 10 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรม เรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 05/12/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วาธิณี  อินทรพงษ์นุวัฒน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.นงพงา  แสงเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ดร.ภัสสร์พัณณ์  ศรีวิชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,200.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 2 คน 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 200 บาท 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา กระดาษ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น เนื้อปลา แป้งมันสำปะหลัง เครื่องปรุงรส เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 4,300.00 บาท 0.00 บาท 9,300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่สามารถติดต่อประสานงานกับตัวแทนในพื้นที่ได้
จำนวนผู้ที่สนใจนีมีจำนวนน้อยกว่าเป้าหมาย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เร่งดำเนินการตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
เพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล