20879 : โครงการพัฒนาศักยภาพฐานเรียนรู้ทางการประมงในคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และพื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมาย เพื่อสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนและพัฒนาเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/12/2566 17:08:42
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  205  คน
รายละเอียด  1) นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ คณะเทคโนโลยีการประมงฯ 2) นักเรียน คุณครู และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 3) กลุ่มเกษตรกร / ชุมชนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 4) ผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 330,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. จงกล  พรมยะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จอมสุดา  ดวงวงษา
อาจารย์ ดร. นงพงา  แสงเจริญ
อาจารย์ ดร. โดม  อดุลย์สุข
นาย สุฤทธิ์  สมบูรณ์ชัย
นาย ประเสริฐ  ประสงค์ผล
น.ส. น้ำเพชร  ประกอบศิลป์
นาง ณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์
นาย เทพพิทักษ์  บุญทา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิสรา  กิจเจริญ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-67-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-67-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(1) ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น
กลยุทธ์ FT-67-2.3.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(2) จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(3) จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(4) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีพันธกิจในการพัฒนาระบบการให้บริการวิชาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้มีชีวิตให้แก่นักศึกษา และบูรณาการกับการเรียนการสอน การวิจัย โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม ทั้งนี้การดำเนินพันธกิจดังกล่าวเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ของคณะในการส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ชุมชน และสร้างเครือข่ายชุมชนให้เป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา (แผนพัฒนาการศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565 - 2569) นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับพันธกิจและวัตถุประสงค์หลักของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนให้หน่วยงานดำเนินการให้บริการวิชาการแก่สังคมตามความเชี่ยวชาญ และตามบริบทของแต่ละหน่วยงาน สร้างและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตรและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการเกษตร เพื่อเป็นที่พึ่งของตนเองและสังคมตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555 – 2569) โดยที่ผ่านมาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ดำเนินการสำรวจความต้องการ และความพร้อมของกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนดำเนินกิจกรรมเบื้องต้น (บางส่วน) ในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้เสริมจากอาชีพหลักในชุมชนเป้าหมายของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย (ทต.สันพระเนตร, ทต.สันทรายหลวง, ทต.สันนาเม็ง, ทม.แม่โจ้, ทต.ป่าไผ่ และ ทต.หนองจ๊อม) และอำเภอดอยหล่อ อำเภอสารภี อำเภอเชียงดาว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เช่น กลุ่มประมงท้องถิ่น ตำบลชมภู อำเภอสารภี ชุมชนบ้านหนองแหย่ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย ชุมชนบ้านแม่ก๋อน ตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว และ ชุมชนบ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย เป็นต้น โดยชุมชนเหล่านี้ คณะเทคโนโลยีการประมงฯ มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมและพัฒนาให้เป็น “เครือข่ายชุมชนด้านการประมง” ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา ตลอดจนมีการบูรณาการร่วมกับงานสนองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการประมงในระดับนานาชาติ เพื่อให้ชุมชนได้รับการพัฒนาแบบทางเลือกตามองค์ความรู้ 6 มิติ คือ “อยู่รอด พอเพียง และ ยั่งยืน” ในรูปแบบของการพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ ตามพระราชดำริ (พชร.) อีกทั้งสามารถขยายผลการพัฒนาไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงต่อไปในอนาคต นอกจากนี้คณะเทคโนโลยีการประมงฯ ยังได้ดำเนินกิจกรรมเบื้องต้นในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้โครงการประมงโรงเรียนในโรงเรียนเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนสองแคววิทยาคม อำเภอดอยหล่อ ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาทิเช่น กระเหรี่ยง ม้ง ลั่ว ลีซอ และลาหู่ ที่มีฐานะยากจนและมาจากถิ่นทุรกันดาร และโรงเรียนได้รับการโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 อำเภอแม่อาย ซึ่งเป็นโรงเรียนพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและจังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ในการศึกษา เลี้ยงดูเด็กกำพร้า และเยาวชนผู้ด้อยโอกาสในสังคมของพื้นที่อำเภอแม่อาย และพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มุ่งหวังให้นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมทางการประมง เกิดทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สร้างรายได้ สร้างอาชีพในอนาคต ส่งเสริมโรงเรียนเป้าหมาย เป็นแหล่งเรียนรู้หรือฐานเรียนรู้ทางการประมงให้แก่นักเรียน บุคลากร เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไปในชุมชนเขตพื้นที่รอบโรงเรียน ตลอดจนเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ต่อไป โครงการ “การพัฒนาศักยภาพฐานเรียนรู้ทางการประมงในคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และพื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมาย เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน และพัฒนาเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG” เป็นโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทงานบริการวิชาการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 นโยบายประเทศไทย 4.0 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (23) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (พ.ศ. 2561-2580) ยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นโยบายการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจด้วยฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว (BCG model) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมถึงแผนพัฒนาภาคเหนือ และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือในแผนแม่บทงานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569) ได้ยึดแนวทางของแผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100 โครงการเรือธง (Flag Ships) ที่บรรจุในแผนพัฒนามหาวิทยาลัย แผน 12 และข้อมูลจากการวิเคราะห์สถานการณ์ภายในและภายนอกหน่วยงาน ซึ่งครอบคลุมและเน้นประเด็นการเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University) มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (University of Life) นอกจากนี้โครงการฯ ยังผลักดันยุทธศาสตร์ของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ในการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของชุมชนที่ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง และยกระดับการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG จากองค์ความรู้ทางด้านการประมงของคณาจารย์และบุคลากรของคณะฯ ผ่านฐานเรียนรู้ทางการประมง ภายใต้โครงการตามยุทธศาสตร์ของคณะ จำนวนฐานเรียนรู้ 14 ฐาน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ฐานเรียนรู้ในระบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 2 ฐาน คือ 1) ฐานเรียนรู้ปลาบึกและปลาหนังลูกผสมบึกสยามแม่โจ้ และ 2) ฐานเรียนรู้ปลานิลแปลงเพศ กลุ่มที่ 2 ฐานเรียนรู้ด้านทรัพยากรทางน้ำและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 6 ฐาน ประกอบด้วย 1) ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสาหร่ายและแพลงก์ตอน 2) ฐานเรียนรู้ด้านความหลากหลายของทรัพยากรทางน้ำ จำนวน 2 ส่วนจัดแสดง คือ สถานแสดงพรรณปลาภาคเหนือ และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาทางน้ำแม่โจ้ 3) ฐานเรียนรู้การเลี้ยงปลาระบบไบโอฟลอค 4) ฐานเรียนรู้การผลิตปลากดหลวงในน้ำจืดระบบน้ำหมุนเวียน 5) ฐานเรียนรู้การเลี้ยงกุ้ง และ 6) ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงปลาชะโอนในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิด กลุ่มที่ 3 ฐานเรียนรู้ที่พัฒนาเพื่อเตรียมเสนอขอจัดตั้ง จำนวน 3 ฐาน ประกอบด้วย 1) ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงกบนา 2) ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงปลาไหลนา และ 3) ฐานเรียนรู้การผลิตอาหารธรรมชาติ กลุ่มที่ 4 ฐานเรียนรู้ด้านส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการสร้างผู้ประกอบการ จำนวน 3 ฐาน ประกอบด้วย 1) บ่อและโรงเรือนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ 2) ฐานเรียนรู้นวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงจากปลาน้ำจืดสำหรับผู้ประกอบการ และ 3) ฐานเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ตากแห้งด้วยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับผู้ประกอบการ โดยเบื้องต้นฐานเรียนรู้ทางการประมงในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ทั้ง 14 ฐาน (4 กลุ่ม) จะได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจร ให้แก่ นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ จากคณะเทคโนโลยีการประมงฯ และนักเรียน คุณครู และบุคลากรทางการศึกษา (โรงเรียนเป้าหมาย) เกษตรกร (ชุมชนเป้าหมาย) และผู้สนใจทั่วไป จากนั้นดำเนินการส่งเสริมและขับเคลื่อนให้มีการขยายจัดตั้งฐานเรียนรู้ทางการประมงขึ้นภายในพื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมาย ตามความต้องการและความพร้อมของโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้โรงเรียนและชุมชนเป็น “เครือข่ายโรงเรียน/ชุมชนด้านการประมง” และพัฒนาจัดตั้งเป็น “ฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมง” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา นอกจากนี้หากโรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมายมีผลผลิตจากสัตว์น้ำ และมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก็จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบของโรงเรียนหรือชุมชน สามารถนำมาผลิตและจำหน่ายเป็นรายได้ อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ และนำความรู้ไปประกอบอาชีพเสริม สร้างรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านอาหาร มีหลักประกันมั่นคงด้านอาชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะเดียวกันนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการประมงฯ ที่ได้เรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ (ห้องเรียน) ที่มีชีวิต (พื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมาย) ได้เห็นรูปแบบของการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ชุมชนผ่านฐานเรียนรู้ทางการประมงในคณะฯ และฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมงในพื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมาย ซึ่งเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษา สามารถนำความรู้กลับไปพัฒนาบ้านเกิดเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกร สังคม ชุมชน ในการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาศักยภาพฐานเรียนรู้ทางการประมงภายในคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำให้มีคุณภาพในการให้บริการวิชาการด้านการประมงแก่ชุมชนและสังคม
เพื่อสนับสนุนให้คณาจารย์และบุคลากรมีการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านการประมงจากการเรียนการสอน และการวิจัยสู่การพัฒนาฐานเรียนรู้ทางการประมงที่มีชีวิตทั้งภายในคณะและพื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนให้มีการจัดตั้งฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมง ภายในพื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายโรงเรียน/ชุมชนด้านการประมง
เพื่อยกระดับการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG จากองค์ความรู้ทางด้านการประมงของคณาจารย์และบุคลากรของคณะฯ ผ่านฐานเรียนรู้ทางการประมง ไปสู่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมาย
เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ของคณะในการส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ชุมชน และสร้างเครือข่ายโรงเรียน/ชุมชนให้เป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา
เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา สามารถนำความรู้กลับไปพัฒนาบ้านเกิดเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกร สังคม ชุมชน ในการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้ของคณะได้รับการพัฒนา และผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG และสามารถจัดตั้งฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมงในพื้นที่เป้าหมาย
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.272 0.058 ล้านบาท 0.33
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 ร้อยละ 90
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 6 : จำนวนฐานเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมาย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ฐานเรียนรู้ 4
KPI 7 : จำนวนผลผลิต / ต้นแบบผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมายที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชนิด 2
KPI 8 : จำนวนฐานเรียนรู้ทางการประมงที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
7 7 ฐาน 14
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 ร้อยละ 90
KPI 10 : จำนวนโรงเรียนเป้าหมายเครือข่ายด้านการประมง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
9 โรงเรียน 9
KPI 11 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
105 คน 105
KPI 12 : จำนวนชุมชนเป้าหมายเครือข่ายด้านการประมง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
6 ชุมชน 6
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้ของคณะได้รับการพัฒนา และผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG และสามารถจัดตั้งฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมงในพื้นที่เป้าหมาย
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาศักยภาพฐานเรียนรู้ทางการประมงภายในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ จำนวน 14 ฐานเรียนรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/10/2566 - 29/03/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล  พรมยะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา  ดวงวงษา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นงพงา  แสงเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.โดม  อดุลย์สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสุฤทธิ์  สมบูรณ์ชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายประเสริฐ  ประสงค์ผล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.น้ำเพชร  ประกอบศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา  กิจเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 14 ผืน ๆ ละ 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาประกอบและติดตั้งชุดตู้กระจกปลาสวยงาม (พร้อมขาตั้งและชั้นวาง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำชุดป้ายข้อมูลประกอบการแสดงนิทรรศการ ณ ฐานเรียนรู้
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 คลิปหนีบดำ แฟ้ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ค่าพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์สัตว์น้ำ อาหารปลากินพืช อาหารปลาดุก ปูนขาว ปลาป่น กากน้ำตาล รำละเอียด กระชอน สแลนสีดำ สายยางม้วน มุ้งไนล่อนสีฟ้า ท่อพีวีซี ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 108,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 108,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถังน้ำพลาสติก ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น สายไฟขนาด 2.5*2 มม.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ค่าชุดน้ำยาทดสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 160000.00
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ /ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 31/07/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล  พรมยะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา  ดวงวงษา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นงพงา  แสงเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.โดม  อดุลย์สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสุฤทธิ์  สมบูรณ์ชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายประเสริฐ  ประสงค์ผล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.น้ำเพชร  ประกอบศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา  กิจเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) ครั้งละ จำนวน 20 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ โดยจัดจำนวน 7 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) ครั้งละ จำนวน 20 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ โดยจัดจำนวน 7 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย ครั้งละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน โดยจัดจำนวน 7 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ ครั้งละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 คน โดยจัดจำนวน 7 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน ครั้งละ 2 คน ๆ ละ 100 บาท โดยจัดจำนวน 7 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร แฟ้ม ปากกา ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ค่าพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์สัตว์น้ำ อาหารปลากินพืช อาหารปลาดุก สแลนสีดำ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 38,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 38,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น วัตถุดิบสัตว์น้ำ เครื่องปรุง ผัก เครื่องเทศ ผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ถุงมือ มีด เขียง กะละมัง เกลือ น้ำมัน ถุงพลาสติก กล่องโฟม ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 112000.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดตั้งฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมง ภายในพื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมาย จำนวน 4 ฐานเรียนรู้ฯ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 31/07/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล  พรมยะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา  ดวงวงษา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นงพงา  แสงเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.โดม  อดุลย์สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสุฤทธิ์  สมบูรณ์ชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายประเสริฐ  ประสงค์ผล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.น้ำเพชร  ประกอบศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา  กิจเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 4 ผืน ๆ ละ 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ค่าพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์สัตว์น้ำ อาหารปลากินพืช อาหารปลาดุก สแลนสีดำ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 43,000.00 บาท 0.00 บาท 43,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถังน้ำพลาสติก กะละมังพลาสติกสีเหลี่ยม ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น สายไฟขนาด 2.5*2 มม. ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ค่าชุดน้ำยาทดสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 58000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ฐานเรียนรู้มีจำนวนมาก อาจกระทบต่องบประมาณและระยะเวลาในการปรับปรุงพัฒนา
โรงเรียนและชุมชนเป้าหมายบางแห่งอยู่ต่างอำเภอห่างไกลอาจไม่สามารถมาฝึกอบรมฯ ที่คณะได้
ฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมงในโรงเรียนหรือชุมชนไม่มีกิจกรรมต่อเนื่อง ขาดการดูแล ฯลฯ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
วางแผนการใช้งบประมาณและระยะเวลาในการปรับปรุงพัฒนาฯ
วางแผนจัดฝึกอบรมฯ ทั้งภายในคณะ และพื้นที่โรงเรียนและชุมชนเป้าหมาย
ลงพื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมาย ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล