20863 : โครงการ "ฐานการเรียนรู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ภายใต้บริบท โคก หนอง นา โมเดลในจังหวัดชุมพร"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/11/2566 8:53:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปภายในจังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
อาจารย์ ดร. พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.4.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณาการกับพันธกิจอื่น (การเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 2.4.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 34. พัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตรให้น่าสนใจและทันสมัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจัดตั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กว่า 4,741 โครงการ นอกจากนี้ยังเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญที่สุดจนทำให้พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทย คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระองค์ได้ปฏิบัติพระองค์เองเป็นแบบอย่าง โปรดให้มีการการปลูกข้าว การเลี้ยงโคนม การเพาะพันธุ์ปลานิลขึ้นในสวนจิตรลดา ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการประหยัด ตัวอย่างเช่น ทรงใช้ดินสอเดือนละ 1 แท่ง หรือการใช้ยาสีพระทนต์จดหมดหลอด นอกจากนั้นยังไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับใด ๆ เลย ยกเว้นแต่นาฬิกาข้อมือ “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอ กิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (4 ธันวาคม 2517) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล เพื่อการจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตรขนาดเล็ก มีกิจกรรมหลักๆ เช่น การทำโคก การทำนา การทำคลองไส้ไก่ การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุข อย่างไรก็ดีโครงการฐานการเรียนรู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ภายใต้บริบท โคก หนอง นา โมเดลในจังหวัดชุมพร จะนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ไปใช้และสอดคล้องกับ SDGs : ข้อ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง คิดค้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร และคณะ สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องทุ่นแรงมาพลิกกลับกองปุ๋ยอินทรีย์ ประหยัดแรงงานและลดต้นทุนการผลิตและได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีเมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์ไปวิเคราะห์ก็ผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศ มีวิธีการผลิตและขั้นตอนที่ง่ายไม่ยุ่งยาก หลักการสำคัญคือ การขึ้นกองปุ๋ยให้อากาศไหลเข้าไปในกองปุ๋ยโดยไม่ต้องพลิกกลับกอง ใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์เป็นตัวย่อยสลายและการดูแลกองปุ๋ยโดยการให้ความชื้นอย่างเพียงพอ เพียง 2 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ จากเหตุผลดังกล่าวจึงสามารถนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากใบไม้และเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรจากโคก หนอง นา ได้อย่างดียิ่ง วัสดุที่นำมาผลิตปุ๋ย เช่น ใบไม้จากป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ฟางข้าว วัชพืชน้ำ หรือผักตบชวาในหนอง เศษพืชผักที่เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยว หรือเศษเหลือทิ้งจากผลไม้ และมูลสัตว์ เป็นต้น ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้นำกลับไปใช้ในการเพาะกล้าผัก เพาะกล้าไม้ เพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ปรับปรุงคุณภาพของดินให้มีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ดินดีเหมาะสมกับการทำการเกษตร และที่สำคัญคือการได้หมุนเวียนธาตุอาหารได้อย่างสมบูรณ์ในบริบทของ โคก หนอง นา โมเดล อย่างไรก็ดีจังหวัดชุมพรเปรียบดังมหานครผลไม้ มีการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกอันดับต้นๆของประเทศ นอกจากทุเรียนผลสดยังมีการแกะเนื้อทุเรียนเพื่อแช่แข็ง และการทำทุเรียนทุเรียนฟรีซดราย ส่งออกไปยังประเทศจีนอีกด้วย จึงทำให้มีเปลือกทุเรียนทิ้งจำนวนมาก ดังนั้นการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 จะสามารถแก้ปัญหาการนำเปลือกทุเรียนไปทิ้งให้เกิดมลภาวะ อย่างไรก็ดีเชื่อว่าโครงการจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการช่วยให้ลดการทิ้งขยะอินทรีย์รวมกับขยะทั่วไป ลดปัญหาหมอกควันจากการเผาสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตร ชุมชนอื่นๆที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้และนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลกระทบทางบวกในวงกว้างต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1
พัฒนาฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ร่วมกับโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ในจังหวัดชุมพร
พัฒนาฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1
KPI 1 : - ฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ฐาน 2
KPI 2 : - ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : - จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 4 : - ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 5 : - ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : - จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 7 : - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 80 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,150.00 บาท 0.00 บาท 3,150.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 1,000 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท
ปฏิบัติ จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,400.00 บาท 0.00 บาท 4,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7550.00
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ร่วมกับโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ในจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ขนาด 80 x 200 เซนติเมตร จำนวน 3 ผืนๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อสารคดีให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ จัดทำสื่อสารคดีให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 1 เรื่อง ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 19,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ยคอก เข่ง คราด บัวรดน้ำ ตาข่ายลวด ฯลฯ เป็นเงิน 21,950 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 21,950.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,950.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่าเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 42450.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1
ช่วงเวลา : 30/11/2566 - 31/08/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
วัตถุประสงค์การบูรณาการผลการประเมินการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการ
เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน 80 สื่อประกอบการเรียนรู้
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล