ทุเรียน ได้รับฉายาว่าเป็น ราชาแห่งผลไม้ (King of fruits) ถือว่าเป็นผลไม้สำคัญของประเทศไทยที่นอกจากบริโภคในประเทศแล้ว ยังสามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศในแต่ละปีจำนวนมาก แหล่งปลูกทุเรียนสำคัญของโลกส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และถือว่าไทยเป็นแหล่งผลิตอันดับ 1 ของโลก ประเทศที่ส่งออกหลักได้แก่ประเทศจีน ผลผลิตในปี 2565 รวม 732,330 ตัน ปี 2566 คาดว่าจะมีผลผลิต 756,465 ตัน เพิ่มขึ้น 24,135 ตัน หรือ 3.30 และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนเมษายน จากสถิติการส่งออกทุเรียนในฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2566 จนถึงต้นเดือนพ.ค. 2566 ไทยส่งออกทุเรียนสดไปจีนทั้งสิ้น 25,000 ตู้คอนเทนเนอร์ มีน้ำหนัก 4.5 แสนตัน สร้างมูลค่าการส่งออกกว่าแสนล้านบาท จากการใช้เส้นทางการส่งออก ทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ รวมทั้งเส้นทางขนส่งทางรถไฟ โดยผลการดำเนินการส่งออกเกินเป้าหมายทำยอดสูงสุดเกินกว่าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งเป้าไว้ อีกทั้งทุเรียนไทยยังสามารถครองสัดส่วนตลาดในจีนได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดกว่า 90% และกระทรวงเกษตรฯ มั่นใจว่าปี 2566 จะสามารถส่งออกผลไม้เศรษฐกิจ ทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง มะม่วง มะพร้าว ฯลฯ ได้ตามเป้าหมาย คือ 4.44 ล้านตันสร้างเงินให้ประเทศและเกษตรกรกว่า 2 แสนล้านบาท
การผลิตทุเรียนในอาเซียนช่วง 10 ปี (2554-2563) อินโดนีเซียครองแชมป์การผลิตทุเรียนมากที่สุดของโลก ตามด้วยไทย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ แต่ทุเรียนอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ส่งออกน้อยเพราะมีข้อจำกัดด้านคุณภาพและมาตรฐานการส่งออก ซึ่งคาดว่าใน 5 ปีข้างหน้าไทยแซงหน้าอินโดนีเซีย “คาดว่า ผลผลิตทุเรียนไทย 5 ปีข้างหน้าเพิ่ม 83% หรือ 2,028,490 ตัน ในปี 2568 บริโภคในประเทศเพิ่ม 101.7% หรือ 983,817 ตัน ส่งออกเพิ่มขึ้น 68.3% หรือ 1,044,672 ตัน โดยผลผลิตทุเรียนไทยจะมากเป็นอันดับ 1 หรือ 39.2% อินโดนีเซียเป็นอันดับ 2 หรือ 30.6% ของอาเซียน” ส่วนราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายได้ที่สวน ราคาเฉลี่ยทั้งประเทศในปี 2564 คาดว่าอยู่ที่กิโลกรัม(กก.)ละ 126 บาท ส่วนราคาปลายทางประเทศจีน หากจีนนำเข้าทุเรียนเพิ่มมากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ที่ตลาดเจียงหนานคาดว่าจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 379 บาท สำหรับราคาทุเรียนไทย 5 ปีข้างหน้า (ปี 2564-2568) ราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายได้ที่สวน (เฉลี่ยทั้งประเทศ) ในปี 2568 ประมาณ 144 บาทต่อกก. ราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายได้ที่สวน เฉลี่ยในปี 2564-2568 ประมาณ 126 บาทต่อกก.หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยน้อยกว่า 10% ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2568 ประมาณ 177 บาทต่อ กก. ซึ่งเฉลี่ยราคาในปี 2564-2568 ประมาณ 174 บาทต่อกก.หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยเพิ่ม 10-15% ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2568 ประมาณ 279 บาทต่อกก. เฉลี่ยราคาในปี 2564-2568 ประมาณ 243 บาทต่อกก.หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยเพิ่มมากกว่า 15% ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2568 ประมาณ 379 บาทต่อกก. เฉลี่ยราคาในปี 2564-2568 ประมาณ 290 บาทต่อกก.
ส่วนทุเรียนโลก 10 ปี (ปี 2554-2563) โลกส่งออกทุเรียนเพิ่มขึ้น 48.3% จาก 521,028 ตัน ในปี 2554 เป็น 772,860 ตัน ในปี 2563 และ 5 ปี ข้างหน้า โลกส่งออกทุเรียนเพิ่มขึ้น 134.5% เป็น 1,812,201 ตัน ไทยครองแชมป์อันดับ 1 มาโดยตลอด ซึ่งส่งออก 1,044,672 ตัน(57.65%) ในปี 2568 ตามด้วยเวียดนาม 165,465 ตัน (9.13%) และมาเลเซีย 76,379 ตัน(4.21%) โดยจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ของโลก ซึ่งนำเข้าเพิ่มขึ้น 95.1% จากปี 2563 เป็น 938,882 ตัน รองมาเป็นฮ่องกง นำเข้าเพิ่มขึ้น 61.4% เป็น 374,245 ตัน ขณะที่ประเทศผู้นำเข้ารายใหม่ที่น่าจับตามอง คือ เกาหลีใต้ และไต้หวัน แม้ว่าปริมาณนำเข้าจะยังไม่มากนัก แต่การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 53.3% และ 35.7% ตามลำดับ
สำหรับจังหวัดชุมพรมีเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน จำนวน 25,078 ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกทุเรียนในปี 2566 จำนวน 279,254 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 221,768 ไร่ (ร้อยละ 11.88 ของพื้นที่เกษตรกรรม) ผลผลิต 337,376 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,224 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน 25,490 รายขณะที่สถานการณ์ผลผลิตทุเรียนภาคใต้ ปี 2566 มีผลผลิตในฤดู 582,925 ตัน (มิ.ย. - ต.ค.66) ผลผลิตสูงที่สุดในเดือน ก.ค. 66 จำนวน 192,348 ตัน และจะสิ้นสุดฤดูกาลในเดือน ต.ค.66 โดยกำหนดวันเก็บเกี่ยวและวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูกาลทุเรียน ปี 2566 ในพื้นที่ จ.ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ และคาดว่าในปี 2566 จะมีผลผลิตออกสู่ตลาด ประมาณ 271,470 ตัน กระจายผลผลิตไปยังผู้บริโภคภายในประเทศและต่างประเทศที่สำคัญคือ การส่งออกทุเรียนผลสดไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของทุเรียน ด้วยวิธีการกระจายผลผลิตผ่านผู้ประกอบการ (ล้ง) โดยจังหวัดชุมพรเป็นตลาดสำคัญของทุเรียนเนื่องจากมีล้งรับซื้อทุเรียน มากที่สุดของภาคใต้ โดยมีจำนวนล้ง 439 แห่ง จึงถือได้ว่าจังหวัดชุมพรมีตลาดรองรับการส่งออกใหญ่ที่สุดของภาคใต้ ประกอบการการเพิ่มขึ้นของพื้นและเกษตรกรปลูกทุเรียนรวมทั้งเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตทุเรียน การพัฒนาฟาร์มทุเรียนปลอดภัย เพื่อเป็นแปลงต้นแบบที่จะถ่ายที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ได้ศึกษาเรียนรู้ กระบวนการผลิตทุเรียนที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม
พัฒนาฟาร์มต้นแบบทุเรียนเกษตรปลอดภัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นโครงบริการวิชาการโครงการหนึ่งที่จะตอบโจทย์กับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในประเด็นที่ 2. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในข้อ 4.1.การสร้างเกษตรมูลค่า 4.1.2. เกษตรปลอดภัย 4.1.3. เกษตรชีวภาพ และ 4.1.4. เกษตรแปรรูป เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคงมั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” รวมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนา รวมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (2566-2570) ประเด็นการพัฒนาที่ 1 การพัฒนาการเกษตร (ด้านพืช ประมง ปศุสัตว์สมุนไพร และไม้เศรษฐกิจ) ในกรอบการพัฒนาที่ 3 การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง (Bio-base and processed agriculture product ) ในข้อย่อยที่ 3.2.สนับสนุนภาคการเกษตรแบบครบวงจรโดยเน้นการเพิ่มผลผลิตภาพการผลิต การพัฒนาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลผลิตให้ได้มาตรฐานสากล และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดชุมพร ปี (2568) ตามวิสัยทัศ์ “ชุมพรเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดีและมีคุณค่า มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ประเด็นการพัฒนาที่ 1 การเสริมสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดให้เติบโตอย่างต่อเนื่องมั่นคงจากรากฐานการเกษตร การค้า การบริการและการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง ในข้อที่ 1.การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต แปรรูป จากฐานการเกษตรเดิมและสร้างใหม่สู่การบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตรแบบครบวงจร รวมทั้งสอดคล้องกับพันธกิจของ กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ภานใต้วิสัยทัศน์ "สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต” ภายใต้หน้าที่และอำนาจข้อที่ 1 ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการอุดมศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีความเป็นอิสระทางวิชาการและการบริหารจัดการ ให้มีการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และให้ดำเนินการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ และลังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ 100 ปี ภายใต้โครงการ Well-being@Chumphon เพื่อที่จะขับเคลื่อนพันธกิจหลัก MOC และบูรณาการกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย SPO เพื่อให้เกิดแปลงต้นแบบเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 5 หลักสูตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประกอบด้วย สาขาพืชศาสตร์ สาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ สาขาการท่องเที่ยวและบริการ การเมืองการปกครองท้องถิ่น และสาขานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง รวมทั้งนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยอื่นๆ จะได้ใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาเรียนรู้ในเชิงของวิชาการ และภาคปฏิบัติ เพื่อเพิ่มทักษะในการเรียนรู้ในการบริการจัดการแปลงทุเรียน การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานทุเรียน และการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต รวมทั้งนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ได้ใช้เป็นฐานการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยในอนาคต รวมทั้งเป็นฐานการเรียนรู้สำหรับประชาชนในภูมิภาคที่สนใจศึกษาเรียนรู้ รวมทั้งจะนำไปสู่การบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ ข้าราชการ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนของประเทศต่อไป
พัฒนาฟาร์มต้นแบบทุเรียนเกษตรปลอดภัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นโครงบริการวิชาการ ที่เน้นการเพาะกล้าพันธุ์ทุเรียน ที่ศึกษาคุณภาพ ของต้นตอทุเรียนป่า ชื่อพฤกษศาสตร์: Durio mansoni (Gamble) Bakh. วงศ์ : BOMBACACEAE. ซึ่งเป็นทุเรียนที่มีความทนแล้ง ทนต่อโรคแมลง เป็นต้นตอ Stock ของทุเรียนพันธุ์ดี กับต้นตอทุเรียนบ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์Durio zibethinus L. วงศ์ Malvaceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับทุเรียสายพันธุ์ดีทั่วไปในเบื้องต้น โดยจะเริ่มดำเนินการส่วนของกระบวนการต้นน้ำ คือ การผลิตวัสดุปลูกและวัสดุเพาะ การพัฒนาแปลงกล้าพันธุ์ เพื่อให้เกิดแปลงและโรงเรือนเพาะกล้าพันธุ์เรียนพร้อมทั้งวัสดุเพาะและวัสดุปลูก อันเป็นต้นทางในการพัฒนาแปลงทุเรียน ในพื้นที่ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในอนาคต และให้เป็นต้นแบบในการศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ ข้าราชการและประชาชน รวมทั้งต่อยอดพัฒนาไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และการสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต โดยโครงการดังกล่าวจะดำเนินการในพื้นทีฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัด ชุมพร
|