20857 : โครงการ "การสร้างการรับรู้ด้านการบริโภคนิยมใหม่ใส่ใจสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 24/11/2566 10:14:31
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  31/08/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  35  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุนักศึกษา คณาจารย์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และแกนำสมาชิกการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2567 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (GO. Eco U.)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.2.2 คะแนนการจัดอันดับ Green University Ranking (Green University) (กรณีส่วนงาน: ความสำเร็จในการสนับสนุนมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนนโยบาย Green U และ Green Office)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.2.2.1 ขับเคลื่อนและผลักดันการพัฒนาม. เพื่อให้ได้รับคะแนนการประเมิน Green University Ranking ทั้ง 7 ด้าน ให้สูงขึ้นต่อเนื่อง
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.4.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณาการกับพันธกิจอื่น (การเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (GO.Eco U.)
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 1.2.2 คะแนนการจัดอันดับ Green University Ranking (Green University)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 4. ขับเคลื่อนและผลักดันการพัฒนามหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้รับคะแนนการประเมิน Green University Ranking ทั้ง 7 ด้านให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 2.4.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณาการกับพันธกิจอื่น (การเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 32. ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นมหาวิทยาลัยฯ ที่เปิดการเรียนการสอนด้านการเกษตรและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ประกอบด้วย สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ สาขาวิชาผู้ประกอบการ สาขาวิชานวัตกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชและสาขาวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรออกสู่ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมาก ขณะที่มหาวิทยาลัยฯ มีการวางเป้าหมายทิศทางการพัฒนาระยะ 15 ปี พ.ศ. 2555-2569 เป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” ที่เคารพและให้ความสำคัญกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ปรัชญา : “มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความรุ่งเรื่องวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน” ทั้งนี้ที่ผ่านมากลุ่มนักศึกษาโดยชมรมกองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคมดำเนินกิจกรรมเพื่อการกระตุ้นเตือนและส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกแก่นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เกิดการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ได้แก่การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆที่เกิดจากระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) ขยะอินทรีย์ภายในโรงอาหารมหาวิทยาลัยฯ 2) การใช้พลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า) 3) ปริมาณขยะแห้งและขยะอื่นๆ 4) คุณภาพน้ำ 5) การปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างตามแนวทางศาสตร์พระราชา ควบคู่กับการร่วมเป็นสมาชิกฯ เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาพลังจิตอาสาจากสถาบันการศึกษา ไปหนุนเสริมพลังการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ภายใต้ปณิธานร่วม : “เพื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวางทิศทางเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย” ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิดเครือข่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อม (Green Youth) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 4 ประเด็นที่เกี่ยวข้อง คือ 1. การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย 2. การจัดการของเสียภายในมหาวิทยาลัย 3. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัย 4. การจัดการพลังงานภายในมหาวิทยาลัย ดังนั้นจากฐานทุนทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยฯ ประกอบกับผลการดำเนินกิจกรรมของทาง กองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างและปลูกพันธุ์ไม้อาหารท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย เช่น ส้มจี๊ด มะม่วงหิมพานต์ เหลียง หมาก กล้วยท้องถิ่น และพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ โดยเริ่มต้นจากบ้านดินพอเพียงและขยายต่อไปอาคารแม่โจ้สามัคคี ซึ่งผลผลิตดังกล่าวสามารถดำเนินการต่อยอด สู่ประเด็นการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งสอดคล้องกับ ศ.ดร. วันดี ทาตระกูล คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นิยามความมั่นคงทางอาหารว่า “การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอ สำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสมตามความต้องการตามวัย เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งการมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาสมดุลของระบบนิเวศวิทยา และความคงอยู่ของฐานทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัยหรือการก่อการร้ายอันเนื่องจากอาหาร” แต่ทั้งนี้ความมั่นคงทางอาหารไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ว่าการมีอาหารอย่างเพียงพอ แต่ความมั่นคงทางอาหารนั้นสัมพันธ์กับมิติต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม โดยต้องมองไปถึงความมีอธิปไตยทางอาหารของเกษตรกร ต้องสัมพันธ์กับมิติความมั่นคงด้านต่างๆ เช่น ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางสังคม และความมั่นคงในการดำรงชีวิต (อ้างถึงใน อุบล, 2558) ทั้งนี้ โครงการบริโภคนิยมใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ จึงเป็นโครงการที่สามารถสร้างการรับรู้ด้านการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้แนวคิด “การสร้างคุณค่าใหม่บนฐานทุนเดิม”

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อต่อยอดผลผลิตภายในป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างและพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สู่ประเด็นการบริโภคที่ใส่ใจต่อสุขภาวะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างการรับรู้ด้านการใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อการบริโภคที่ใส่ใจต่อสุขภาวะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กระบวนการบริโภคนิยมใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ
KPI 1 : จำนวนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนนักศึกษาที่ร่วมสร้างค่านิยมใหม่ใส่ใจสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25 ่คน 25
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กระบวนการบริโภคนิยมใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาพื้นที่รองรับกิจกรรมการความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย ควบคู่กับการสร้างการรับรู้ด้านการบริโภคนิยมใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 31/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายรังสิวุฒิ  สิงห์คำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
ปฏิบัติการร่วมการบริโภคนิยมใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 31/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จุฑามาส  เพ็งโคนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
บริโภคนิยมใหม่
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ปฏิบัติการร่วมการบริโภคนิยมใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
ช่วงเวลา : 01/12/2566 - 31/08/2567
ตัวชี้วัด
2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล