20839 : โครงการสัมมนา “กฎหมายอาญา น่ารู้”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/12/2566 11:03:45
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2566  ถึง  31/08/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการไม่ใช้งบประมาณ 2567 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. จักรกฤช  ณ นคร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านกฏระเบียบ ข้อบังคับ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริม อัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลกด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 19. ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

“...กฎหมายมิใช่ตัวความยุติธรรม หากเป็นแต่เพียงบทบัญญัติหรือปัจจัยที่ตราไว้เพื่อรักษาความยุติธรรม ผู้ใดก็ตามแม้ไม่รู้กฎหมายแต่ถ้าประพฤติปฏิบัติด้วยความสุจริตแล้วควรจะ ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเต็มที่ ตรงกันข้ามคนที่รู้กฎหมายแต่ใช้กฎหมายไปในทางทุจริตควรต้องถือว่าทุจริต...” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๒ กฎหมายเป็นข้อกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายกฎหมายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากความคิดหรือความเชื่อของมนุษย์เป็นพื้นฐานข้อกำหนดใดจะเป็นกฎหมายจึงได้มีแนวความคิดของนักปราชญ์กฎหมายในหลายๆยุคให้ความหมายของกฎหมายไว้ ความคิดเห็นของนักปราชญ์กฎหมายนี้มีหลากหลายสำนักและมีแนวความคิดต่าง ๆ กันตามวิวัฒนาการของสังคม สำนักความคิดที่สำคัญและยังคงนำมายึดถือเป็นหลักในเรื่องความหมายของกฎหมายจนถึงปัจจุบันมีอยู่สองสำนัก ได้แก่ สำนักความคิดกฎหมายธรรมชาติและสำนักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง สำนักความคิดกฎหมายธรรมชาติ เป็นสำนักความคิดที่มีกำเนิดและวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรีก สำนักนี้มีความคิดเห็นว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ซึ่งอาจเรียกว่า “กฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law) และเกิดจากธรรมชาติโดยตรงเหมือนปรากฏการณ์อื่นๆ ของโลก บ้างก็เชื่อว่าธรรมชาตินั้นคือพระผู้เป็นเจ้า ทำให้หลักเกณฑ์ทางศาสนา เหตุผลและศีลธรรม จึงเป็นสิ่งที่นักกฎหมายเชื่อว่าเป็นที่มาของกฎหมาย เพราะกฎหรือระเบียบใดที่ขัดต่อเหตุผลและศีลธรรมย่อมไร้สภาพบังคับทางกฎหมายทั้งสิ้น สำนักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองนี้เคียงคู่กันกับสำนักความคิดกฎหมายธรรมชาติ เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ที่ว่าต้องการให้กฎหมายมีข้อความตายตัว เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของราษฎรและบุคคลที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ สำนักความคิดนี้ไม่สนใจในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมหรือแนวคิดที่ว่ากฎหมายธรรมชาติมีอยู่จริงหรือไม่ แต่กลับถือว่ากฎหมายของรัฐที่บังคับใช้เป็นกฎหมายที่สมบูรณ์ใช้ได้จริง มีความแน่นอนและเคร่งครัด จอห์น ออสติน (John Austin) ค.ศ. 1790 – 1859 เป็นผู้ตั้งและสอนวิชา Jurisprudence ในอังกฤษเมื่อศตวรรษที่ 19 อันเป็นยุคที่ความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยของรัฐกำลังได้รับความนิยม และเชื่อมั่นว่าการจัดการบ้านเมืองให้รุ่งเรืองจะต้องกระทำโดยอำนาจสิทธิ์ขาดของรัฐ เขาได้ให้ความหมายของคําว่า “กฎหมาย” ว่า “กฎหมาย คือ คำสั่งคําบัญชาของรัฐาธิปัตย์ ซึ่งบังคับใช้กับราษฎรทั้งหลาย ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม โดยปกติแล้ว ผู้นั้นต้องรับโทษ” คําว่า “ความยุติธรรม” หมายถึง “การให้ในสิ่งที่บุคคลควรได้” เป็นคําสำคัญทางนิติศาสตร์ กฎหมายจะดำรงอยู่ได้หรือต้องสิ้นสุดลงไปก็เพราะความยุติธรรม อย่างไรก็ดี จะถือเกณฑ์ใดมาตัดสินว่ากฎหมายนั้นยุติธรรมแล้วหรือไม่ ความคิดของนักปรัชญาจากสำนักความคิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น สำนักความคิดกฎหมายธรรมชาติเห็นว่า ความยุติธรรมต้องสอดคล้องกันไปกับกฎหมายธรรมชาติ หมายความว่า เกณฑ์พิจารณาความยุติธรรมคือ ศีลธรรม มโนธรรม และจริยธรรม ส่วนสำนักความคิดฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองก็เห็นว่า ความยุติธรรมต้องสอดคล้องกันกับกฎหมายของรัฐที่มีอยู่แล้ว ซึ่งความคิดเรื่องความยุติธรรมของสำนักความคิดฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองนี้มีอิทธิพลต่อการใช้กฎหมายของนานาประเทศตลอดมา เพราะการกำหนดเกณฑ์ยุติธรรมด้วยบทกฎหมายย่อมเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัวได้มาตรฐานกว่าศีลธรรม และมโนธรรม แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าความยุติธรรมตามความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ จะไร้ประโยชน์เลยทีเดียว ความยุติธรรมตามเกณฑ์ศีลธรรมและมโนธรรมก็เข้ามามีบทบาทในการใช้กฎหมายอยู่ไม่น้อย กฎหมายจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะการใช้ชีวิตในประจำวันของมนุษย์ย่อมต้องดำเนินอยู่ในกรอบแห่งกฎหมาย ที่เป็นบรรทัดฐานอันเดียวกัน ดังนั้นบุคคลจึงไม่อาจอ้างว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อปฏิเสธความรับผิด สุภาษิตกฎหมายที่ว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่อาจเป็นข้อแก้ตัวได้” นั้นมาจากภาษาลาตินที่ว่า “Ignorantia juris non excusat” หรือที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Ignorance of the law is no excuse. เป็นหลักกฎหมายที่นานาประเทศรวมถึงประเทศไทยได้ยอมรับและปฏิบัติตามมานานแล้ว ประมวลกฎหมายอาญาของไทย มาตรา 64 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” ซึ่งหมายความว่าความไม่รู้ว่าการกระทำของตนเป็นความผิดต่อกฎหมายนั้น ไม่อาจใช้เป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้พ้นผิดได้ และปัจจุบัน มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชานิติสาสตร์ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จึงมีแนวความคิดในการบูรนาการการเรียนการสอนกับการจัดโครงการสัมมนา “กฎหมายอาญา น่ารู้” โดยให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้มีส่วนร่วมและเข้าอบรมในโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ สร้างจิตสาธารณะ และจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะ Skills ของนักศึกษาในด้านกฎหมาย เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย ตามประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์หลักของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีความรู้ความรู้ในกฎหมายอาญา เพื่อให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีความรู้ความรู้และความเข้าใจในการแยกองค์ประกอบความผิดในทางอาญา เพื่อให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีความรู้ความรู้ในการวินิจฉัยและปรับข้อเท็จกับข้อกฎหมายได้อย่างถูกต้อง เพื่อพัฒนาทักษะ Skills ของนักศึกษาในด้านกฎหมายในหมวด GE และสาขาอื่นๆให้มากขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายอาญาและนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการ/นักศึกษา/บุคลากร/ประชาชนทั่วไปจากวิชาชีพกฎหมายในการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนครั้งของการจัดอบรมสัมมนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ครั้ง 1
KPI 3 : จำนวนของผู้รับบริการ/นักศึกษา/บุคลากร ที่เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายอาญาและนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ชื่อกิจกรรม :
อบรมกฎหมายอาญา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 31/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จักรกฤช  ณ นคร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ฐิระ  ทองเหลือ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จุฑามาส  เพ็งโคนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล  พิมลรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์นาตาลี อาร์  ใจเย็น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
โครงการกฎหมายอาญา น่ารู้
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
เพิ่มความเข้าใจในมิติของการวินิจฉัยแต่ละฐานความผิดของกฎหมายอาญา
ช่วงเวลา : 01/10/2566 - 31/10/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล