20807 : โครงการ การพัฒนาศักยภาพการผลิตกล้วยไม้สมุนไพรด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  ชุมชน ป่าชุมชนที่สนใจปลูกกล้วยไม้เอื้องคำ และเอื้องแซะ จำนวน 1 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนบ้านโปง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ2567 แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลัก เผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) โครงการการพัฒนาศักยภาพการผลิตกล้วยไม้สมุนไพรด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์ 2567 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผานิตย์  นาขยัน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67 AP 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคมชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67 AP 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67 AP 2.3.1.2 ส่งเสริมและผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กล้วยไม้ตระกูลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้เมืองร้อนรากอากาศตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่งของวงศ์กล้วยไม้ ซึ่งมีหลายชนิดที่มีสารประกอบสำคัญทางเภสัชวิทยาที่ช่วยรักษาโรคการอักเสบในกระเพาะอาหาร มะเร็ง และโรคชรา มีคุณค่าอย่างยิ่งทางตำรับยาสมุนไพรจีน (Pharmacopoeia Committee of the P. R. China, 2005 in Chen et al. 2012) ในประเทศไทยกล้วยไม้สกุลหวายทุกชนิด (Dendrobium spp.) เป็นพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 คือกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ที่มีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่อาจจะกลายเป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ถ้าไม่มีการควบคุมและตรวจสอบการค้า (สุมาลี และคณะ, 2559) ดังนั้นกล้วยไม้เอื้องคำและเอื้องแซะจึงเป็นกล้วยไม้ตระกูลหวายสองในหลายชนิดที่ยังต้องมีการเฝ้าระวังและต้องมีการศึกษาการเพาะขยายและเพาะเลี้ยงให้เจริญเติบโตต่อไป กล้วยไม้เอื้องคำ (Dendrobium chrysotoxum Lindl.) เป็นกล้วยไม้สกุลที่นิยมปลูกในประเทศอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์ทั้งการประดับตกแต่งเนื่องจากมีดอกที่สวยงาม มีกลิ่นหอม และที่สำคัญกล้วยไม้สกุลนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรอีกด้วย เอื้องคำมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม 42.83"±" 0.14 mgGAE.g-1 และ สารประกอบฟลาโวนอยด์รวม36.94"±" 1.30 mgQE.g-1 ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ 0.777 mg/mL ค่า Vitamin C Equivalent Antioxidant Capacity (VCEAC) 10.296 mg Vitamin C/g extract สารสกัดจากดอกเอื้องคำ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก 2 ชนิด คือ Staphylococcus aureus และ Bacillus cereus ได้ (วิมลรัตน์ และคณะ, 2562) นอกจากนี้ Purima et al. (2013) ได้รายงานว่าในอินเดียกล้วยไม้เอื้องคำเป็นหนึ่งในกล้วยไม้สมุนไพรที่สำคัญ อันมีสารประกอบโพลีแซคคาไรท์(polysaccharide) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (immune stimulant) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) และมีสารที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือด (hypoglycemic agent) นอกจากนี้ ยังมีผลทางเภสัชวิทยาในการรักษาโรคเม็ดเลือดขาว เซลล์มะเร็งตับ มะเร็งในกระเพาะ มะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma (chen et al., 2008 อ้างใน Purima et al, 2013) ในประเทศจีนมีการนำเอื้องคำมาตากแห้ง ชงเป็นเครื่องดื่มเรียกว่า “ชา ดอกกล้วยไม้” มีสรรพคุณที่ทำให้นอนหลับสบาย ช่วยลดความดันโลหิต และเพิ่มสมรรถภาพทาง เพศ เอื้องแซะ (Dendrobium scabrilingue Lindl.) เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยมีขนสั้นละเอียดสีดำปกคลุม มีใบ รูปรี กว้าง 1.5-2.5 เซนติมเตร ยาว 5-6 ดอก ออกดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อสั้นๆ 1-3 ดอก ดอกออกตามข้อใกล้ปลายยอด ขนาดบานเต็มที่กว้าง 2.5-3 ซม. มีกลิ่นหอมแรง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว หรืออมเขียวอ่อน กลีบปากสีจะเข้มขึ้น จากสีเหลืองแกมเขียวเปลี่ยนจนเป็นสีเหลืองส้ม หูกลีบปากตั้งขึ้น และมีลายสีเขียว (ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, 2015) มีถิ่นกำเนิดในประเทศเมียนมา ลาว และไทย โดยในประเทศไทยพบบนเทือกเขาสูงตามป่าดิบแล้งและป่าสน ของจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พิษณุโลก นครราชสีมา และกาญจนบุรี (Seidenfaden and Simtinand, 1959 อ้างใน กุหลาบ และคณะ, 2564) ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ (ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, 2015) เอื้องแซะเป็นดอกไม้ที่สำคัญในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาวไทใหญ่นิยมนำมาบูชาพระ ในอดีตเคยเป็นของบรรณาการที่สำคัญของเมืองยวมที่ต้องนำไปถวายเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ (วิกิพีเดีย, 2564) เอื้องแซะมีดอกสวยงาม มีกลิ่นหอมคล้ายดอกพิกุล ส่งกลิ่นหอมได้ตลอดทั้งวัน (จิตราพรรณ พิลึก, 2539 อ้างใน กุหลาบ และคณะ, 2564) ในดอกมีปริมาณ n-Butanol ซึ่งเป็นสารหอมสูงถึง 96 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำสารหอมดังกล่าวไปปรับปรุงผลิตน้ำหอมได้ (ประเทืองศรี สินชัยศรี และคณะ, 2538 อ้างใน กุหลาบ และคณะ, 2564) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงโปรดกลิ่นหอมของดอกเอื้องแซะมาก จึงทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ดำเนินการ รักษาพันธุ์เอื้องแซะ และให้เพิ่มจำนวนเอื้องแซะคืนสู่ป่าให้มาก และทรงให้ศึกษาแนวทางการพัฒนาการปลูกเลี้ยงเอื้องแซะเพื่อนำมาพัฒนาสกัดเป็นน้ำหอม เอื้องแซะจึงเป็นกล้วยไม้ไทยที่มีศักยภาพทั้งในเชิงนิเวศวิทยาอนุรักษ์และเชิงเศรษฐกิจ โดยสามารถผลิตเป็นกล้วยไม้กระถางดอกหอม และการปลูกเลี้ยงเพื่อผลิตดอกสำหรับสกัดเป็นน้ำหอมหรือเครื่องหอมได้ (ประพันธ์ โอสถาพันธุ์และคณะ, 2554 อ้างใน กุหลาบ และคณะ, 2564) แต่ปัจจุบันเกิดสภาวะโลกร้อนทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง เกิดภัยแล้ง เกิดมลภาวะทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ เกิดผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของกล้วยไม้ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือภัยคุกคามจากมนุษย์ด้วยการบุกรุกป่า และการเก็บออกจากป่า โดยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการลักลอบจำหน่ายต้นกล้วยไม้ป่าทุกชนิดเป็นจำนวนมากรวมทั้งเอื้องแซะด้วย ส่งขายให้พ่อค้าจากต่างประเทศเพื่อนำลำต้นไปเป็นสมุนไพร นำดอกมาปรุงผลิตน้ำหอม ทำยาแก้ไข้ และยังใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง (ณัชชา วิสุทธิเทพกุล, 2548 อ้างใน กุหลาบ และคณะ, 2564) ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้เอื้องแซะมีจำนวนลดลง ไปเรื่อย ๆ เนื่องจากมีอัตราการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติต่ำ และอาจจะสูญพันธุ์ได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ จึงควรมีการอนุรักษ์ให้มีปริมาณและความหลากหลายเพิ่มขึ้น (กุหลาบ และคณะ, 2564) ด้านการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อเพื่อขยายพันธุ์เอื้องแซะได้มีการศึกษาพอสมควร อาทิเช่น กุหลาบ และคณะ(2564) สามารถเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร Vacin and Went(VW) ที่เติมน้ำตาล 1 เปอร์เซ็นต์ ชักนำให้เกิดต้นอ่อนดีที่สุด และเพื่อชักนำให้เกิดเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ในอาหารแข็งสูตร VW ที่เติมมันฝรั่งบด และผงถ่านกัมมันต์จะได้ต้นที่สมบูรณ์ได้ดีที่สุด ย้ายต้นกล้าปลูกในวัสดุปลูกสแฟกนัมทำให้ต้นอ่อนมีอัตราการรอดชีวิต 87เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่งานศึกษาของมณเฑียรและคณะ(2555) และภุมรินทร์ (2544) สามารถเพาะเมล็ดและเพาะเลี้ยงต้นอ่อนเอื้องแซะในอาหารสูตร VW ดัดแปลง และปลูกในวัสดุปลูกเป็นใยมะพร้าว ณัชชา (2548) เพาะเลี้ยงเมล็ด เอื้องแซะบนอาหาร VW นาน 9 เดือน แล้วชักนำให้เป็นต้นที่สมบูรณ์ในอาหารสูตร Knudson (Knudson, 1946) ที่เติมน้ำมะพร้าวอ่อน กล้วยหอมบด มันบด และ BA เป็นเวลา 3 เดือน สามารถพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้จำนวน 263 ต้น ส่วนการขยายพันธุ์ของเอื้องค้ำ มีเอกสารงานวิจัยมากมายในการเพาะเมล็ดและขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ หากแต่การขยายพันธุ์โดยเมล็ดและเจริญเติบโตในธรรมชาติของกล้วยไม้ทั้งสองชนิด(เอื้องคำและเอื้องแซะ) มักจำเป็นต้องอาศัยเชื้อราไมคอร์ไรซาส์ ซึ่งเป็นเชื้อราใน Basidiomycota และ Ascomycota (Elena et al., 2010 อ้างใน Purima et al, 2013; Shao et al, 2020) ซึ่งจะช่วยในการงอกและเจริญเติบโตของกล้วยไม้ (Elena et al., 2010 อ้างใน Purima et al, 2013; Rasmussen, 1995และ Rasmussen and Rasmussen, 2014 อ้างใน Shao et al.,2020) ยังมีข้อจำกัด อันเนื่องมาจากการขยายพันธุ์และการเพาะเลี้ยงที่ยังไม่สามารถกระตุ้นส่งเสริมให้กล้าไม้หรือลูกกล้วยไม้เอื้องคำเจริญได้ดีและเร็วขึ้นได้ อีกทั้งงานศึกษาวิจัยในเรื่องการเพาะเชื้อราไมคอร์ไรซาส์ให้กับรากกล้วยไม้เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ยังเป็นเรื่องที่มีการศึกษากันน้อยมาก(Elena et al., 2010 อ้างใน Purima et al, 2013) จากงานศึกษาการเพาะขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อดังกล่าว พบว่าสามารถขยายพันธุ์เอื้องแซะได้สำเร็จระดับหนึ่ง แต่ในขณะที่การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเชื้อราไมคอร์ไรซาส์กล้วยไม้กับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ยังมีการศึกษากันน้อยมาก ขณะที่ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนั้นมีความสำคัญมากดังกล่าวมาแล้ว

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. เพื่อสำรวจเชื้อราเอนโดไมคอร์ไรซากล้วยไม้ในพื้นที่ธรรมชาติของกล้วยไม้เอื้องคำ และเอื้องแซะ
3. เพื่อศึกษาผลของเชื้อราเอนโดไมคอร์ไรซาที่มีต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องคำ และเอื้องแซะ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ชนิดเชื้อราที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องคำและเอื้องแซะ
KPI 1 : 1. จำนวนชนิดจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 สายพันธุ์ 1
KPI 2 : 2. องค์ความรู้เรื่องจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตกล้วยไม้เอื้องคำและเอื้องแซะ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 เรื่อง 2
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของโครงการ/กิจกรรมตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
35800 108840 55360 บาท 200000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ชนิดเชื้อราที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องคำและเอื้องแซะ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การสำรวจและเพาะเลี้ยงเชื้อราไมคอร์ไรซาจากกล้วยไม้เอื้องคำ Dendrobium chrysotoxum Lindl. และเอื้องแซะDendrobium scabrilingue Lindl.

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 31/12/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์  นาขยัน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาสำรวจและเก็บตัวอย่างกล้วยไม้เอื้องคำ Dendrobium chrysotoxum Lindl. และเอื้องแซะDendrobium scabrilingue Lindl.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
16,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน (ได้แก่ กระดาษ ปากกา เป็นต้น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ (ได้แก่ หมึกปริ้นเตอร์ เป็นต้น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
18,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 35800.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การทดสอบผลของเชื้อราไมคอร์ไรซาที่มีต่อกล้วยไม้เอื้องคำ Dendrobium chrysotoxum Lindl. และเอื้องแซะDendrobium scabrilingue Lindl.ในสภาพปลอดเชื้อ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์  นาขยัน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการปฏิบัติงานในห้องทดลองและโรงเรือน (จำนวน 1 คน * 6 เดือน * 10,000.00)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ (ได้แก่ เข็มเขี่ยปลายแหลม ถุงมือไนไตรดีสโพส 4.8g Hydrogen peroxide 30% เป็นต้น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 47,840.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 47,840.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว (ได้แก่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าขาว เป็นต้น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 108840.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 การทดสอบผลเชื้อราไมคอร์ไรซากล้วยไม้ในธรรมชาติที่มีต่อกล้วยไม้เอื้องคำและเอื้องแซะในสภาพกระถาง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์  นาขยัน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการเตรียมวัสดุทางการเกษตรและอุปกรณ์เพาะเลี้ยงกลัวยไม้และ เพาะเลี้ยง ดูแล และบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต (จำนวน 1 คน * 3 เดือน * 10,000.00)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเล่มรายงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร (ได้แก่ ขุยมะพร้าว กระถางพลาสติก พีสมอส ตาข่ายพรางแสง เป็นต้น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,360.00 บาท 20,360.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 55360.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. ไม่มีข้อมูลปัญหาและอุปสรรค
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. ไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล