20805 : โครงการ ยกระดับมาตรฐานพื้นที่การผลิตระบบฟาร์มอัจฉริยะ เข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/11/2566 9:43:26
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  15/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  1. เป็นเกษตรกร/นักเรียนนักศึกษา/เจ้าหน้าที/หน่วยงาน หรือประชาชนผู้ทีมีความสนใจ และอยาก เข้าร่วมโครงการ 2. เกษตรกรผู้ทีอยู่ในพืนที อําเภอละแม จังหวัดชุมพร 3. ผู้มีความสนใจในเรือง การพัฒนาระบบ การให้นําอัจฉริยะ และระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการยกระดับมาตรฐานพื้นที่การผลิตระบบฟาร์มอัจฉริยะ เข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล 2567 260,972.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทธิรักษ์  ผลเจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลดรงค์  ทองสง
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (GO. Eco U.)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.2.1 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.2.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (GO.Eco U.)
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 1.2.1 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 3. กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรมรวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตด้านการเกษตร เพื่อลดผลกระทบจากสภาวะขาดแคลนแรงงาน ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ และสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จึงจำเป็นต้องมีแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอัจฉริยะ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ยกระดับมาตรฐานการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรของประเทศไทยในตลาดโลก ทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้แรงงาน สนับสนุนเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความแม่นยำ ระบบอัตโนมัติและเซ็นเซอร์อัจฉริยะติดตามการเปลี่ยนแปลงทั้งความชื้น แสง และอุณหภูมิภายในสวน เพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการ ส่งผลให้สามารถควบคุมคุณภาพให้คงที่ และสามารถวางแผนระบบการตลาดดีขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยีการช่วยบันทึกข้อมูลสำคัญ และติดตามการบริหารจัดการโรคภายในสวนเกษตรกรเป็นปรับเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมให้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรให้เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร การจัดการในภาคเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการระบบการผลิตทางการเกษตรให้ปลอดวัสดุเหลือใช้ ตลอดจนพัฒนาระบบประกันภัยทางการเกษตรที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนและจูงใจให้เกษตรกรใช้เครื่องมือดังกล่าวในการบริหารจัดการความเสี่ยงในการทำการ รวมถึงการส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในเรื่องการปรับสภาพดิน การตรวจวัดสารเคมีตกค้าง การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และคุณค่าทาง โภชนาการ ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร รวมทั้งยืดอายุการเก็บเกี่ยวและการเก็บ รักษาเพื่อยืดระยะเวลาการจำหน่ายผลผลิตและการส่งออก การติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชแบบอัจฉริยะเป็นการวางแผนในการดำเนินการติดตามสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืชที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการวางแผนรับมือและป้องกันความเสียหายที่จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร และผลผลิตที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันเวลาและมีประสิทธิภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันเข้ามาช่วยให้การดำเนินการนั้นรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นระบบ การดำเนินการพัฒนาต้นแบบระบบการเก็บข้อมูลผ่านทางเว็บแอพพลิเคชัน ให้อยู่ในรูปแบบใช้งานง่ายเช่น การใช้งานบนสมาร์ทโฟน และ ติดตามและพัฒนาการทำงานของระบบการอารักขาพืช เป็นการป้องกันกำจัด การระบุชนิด การพยากรณ์ และการเตือนภัย เพื่อลด ความเสี่ยงจากศัตรูพืช สามารถแยกเป็นกรณีของการลดความเสี่ยง โดยการเตือนภัยโรคแมลง ด้วยระบบการตรวจจับแมลงในแปลง การเตือนภัยโรคจากสภาพอากาศ เช่น การใช้อากาศ ยานไร้คนขับบินถ่ายภาพเพื่อดูความผิดปกติของพืชหากเกิดโรคหรือแมลง การถ่ายภาพพืช หรือแมลงเพื่อตรวจสอบชนิดของโรคและแมลง เพื่อการป้องกันกำจัด เป็นต้น การติดตามสุขภาพพืช เป็นการตรวจสอบและติดตามสุขภาพพืช เพื่อการประเมินผลผลิต โดย ใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะการใช้ระบบ IoT เพื่อให้สามารถประเมินช่วงเวลาและประมาณการผลผลิต ซึ่งจำเป็นต่อการวางแผนด้านการตลาดได้ แรงงานภาคเกษตรในปัจจุบันที่มีแนวโน้มขาดแคลนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งแรงงานใหม่ในภาคการเกษตรที่เข้า มาทดแทนแรงงานเดิมขาดแคลนทักษะเนื่องจากมีประสบการณ์น้อย อย่างไรก็ตามการพัฒนาการเกษตร จำเป็นต้องพัฒนาไปในเชิงเกษตรอุตสาหกรรม รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยและการเพิ่มขึ้นของประชากร โลก ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 2 พันล้านคนใน 30 ปีข้างหน้า อีกทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทั้งใน เรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น การกระจายตัวของฝน ทิศทางและความเร็วลม รวมถึงพายุและลมมรสุมต่างๆ อัน เนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้คาดการณ์หรือทำนายได้ยาก ทำให้เกิดความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน รูปแบบของการทำการเกษตรโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตทดแทนแรงงานมนุษย์ ดังนั้น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะจึงมีความจำเป็น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนภาค การเกษตรได้อย่างยั่งยืน การดำเนินการผลิตตามระบบเกษตรอินทรีย์นั้นพบว่ายังมีน้อย โดยแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรที่เข้าไปส่งเสริมเป็นลักษณะต่างคนต่างโดยขั้นตอนการส่งเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการเกษตรและอาหาร รวมถึงการยกระดับมาตรฐานการผลิตที่เป็นรูปธรรมคือการขอรับการรับรองมาตรฐานยังไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง เป็นผลทำให้ระบบการส่งเสริมดังกล่าวไม่เป็นที่น่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภค โดยบางกรณีอาจมีการปลอมปนสินค้าที่ไม่ใช่อินทรีย์และไม่สามารถสืบย้อนกลับได้ โครงการพัฒนายกระดับการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตรของกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ โดยมีความเชื่อมโยงกับโครงการใหญ่เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการตลอดห่วงโซ่อาหาร และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่กลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตสินค้าอินทรีย์ป้อนเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคของจังหวัดชุมพร ดังนั้นหากมีการศึกษาถึงอันตราย หาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมีการควบคุมและเฝ้าระวัง เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการป้องกันที่กำหนดขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภค มั่นใจได้ว่าอาหารนั้นมีความปลอดภัยทั้งสภาวะแวดล้อมการผลิตที่ดีและคุณภาพความปลอดภัยสูง ปัญหาด้านความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารของจังหวัดชุมพรเป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนชาวชุมพรเองและนักท่องเที่ยว ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนระดับจังหวัดได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาแต่พบว่าขาดการดำเนินงานเชิงบูรณาการ ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาทำได้เพียงบางส่วนไม่ครบตลอดห่วงโซ่อาหารของจังหวัด ประกอบกับขาดงบประมาณดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงทำให้ปัญหาความปลอดภัยของอาหารกลับเข้าสู่สภาวะเดิม คือ การใช้สารเคมีแบบไม่สามารถควบคุมได้ หรือการละเลยการปฏิบัติแบบอินทรีย์โดยหันกลับมาใช้สารเคมีแบบขาดความรู้ความเข้าใจ เป็นผลให้สินค้าเกษตรและอาหารที่จำหน่ายในจังหวัดมีสารเคมีและสารต้องห้ามตกค้างในปริมาณสูง เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพสินค้าอาหารและเกษตรให้เข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนพร้อมกับเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตอาหารปลอดภัย/อินทรีย์ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จึงต้นสร้างต้นแบบแปลง/ฟาร์มอินทรีย์ เพื่อที่จะเป็นแหล่งบริการวิชาการและองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่เกษตรกรในท้องถิ่นตลอดจนผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภคที่เป็นวัตถุดิบให้แก่ภาคอุตสาหกรรมอาหาร หรือจำหน่ายในรูปแบบอื่นๆ และรวมถึงผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อยกระดับมาตรฐานพื้นที่ฟาร์มที่มีระบบการผลิตแบบอัจฉริยะ
เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM
เพื่อสร้างต้นแบบแปลง Smart & IFOAM Farm มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกิดต้นแบบแหล่งเรียนรู้ Smart & IFOAM Farm มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
KPI 1 : จำนวนแปลง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 1
ผลผลิต : พื้นที่แปลงฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรได้รับการรับรองแปลงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM
KPI 1 : ไร่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5.25 5.25 5.25
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกิดต้นแบบแหล่งเรียนรู้ Smart & IFOAM Farm มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ชื่อกิจกรรม :
ยกระดับมาตรฐานพื้นที่ฟาร์มทีมีระบบการผลิตแบบอัจฉริยะ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 30/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา  จินดาซิงห์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า ได้แก่ สายไฟ ท่อร้อยสายไฟ สวิต เบรกเกอร์ ฯลฯ เป็นเงิน 26,140 บาท
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึกพิมพ์ แผ่นบันทึกข้อมูล ฯลฯ เป็นเงิน 24,662 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,802.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,802.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50802.00
ผลผลิต : พื้นที่แปลงฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรได้รับการรับรองแปลงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM
ชื่อกิจกรรม :
การปรับเปลี่ยนพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 30/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์  ผลเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าตรวจแปลงรับรอง เป็นเงิน 35,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 35,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 35,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร ได้แก่ ท่อพีอี หัวสปริงเกอร์ ท่อนํ้ำหยด ฯลฯ เป็นเงิน 31,000 บาท
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึกพิมพ์ แผ่นซีดี ฯลฯ เป็นเงิน 35,000 บาท
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว ได้แก่ ถังล้อเลื่อน ตะกร้า ถุงผ้า ถุงดำ พลาสติกปูพื้น ฯลฯ เป็นเงิน 55,000 บาท
ค่าวัสดุสํานักงาน ได้แก่ กระดาษ สติกเกอร์ กระดาษ A4 แฟ้ม ปากกา สมุด ถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 54,170 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 175,170.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 175,170.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 210170.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ รายวิชา ทพ308 ระบบมาตรฐานการผลิคพืช ระบบ Smart farm รายวิชา ทพ332 การจัดการดินและนําทางการเกษตร
ช่วงเวลา : 01/12/2566 - 15/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล