20786 : การศึกษากลวิธีการตั้งชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
อาจารย์กฤษฏิ์ สุรนัคครินทร์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/11/2566 13:24:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาในภาคเหนือทั้งภาครัฐและเอกชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุนโครงการบริการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรม อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ ประจำปีงบประมาณ 2567 2567 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ กฤษฏิ์  สุรนัคครินทร์
อาจารย์ อาภาลัย  สุขสำราญ
อาจารย์ ดร. พิชญ์  จิตต์ภักดี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA67 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA67 -2.6 แสวงหางบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
ตัวชี้วัด LA67-2.6.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ LA67-2.6.1.ผลักดันและส่งเสริมให้การบุคลากรแสวงหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญประเทศหนึ่งของโลก เนื่องจากข้อได้เปรียบทางสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ประกอบกับข้อมูลและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการผลิต การปรับปรุงพันธุ์ และการดูแลรักษาคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยว “บอนสี” เป็นหนึ่งในไม้ดอกไม้ประดับที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ แม้จะยังมีมูลค่าไม่สูงมาก แต่มีแนวโน้มว่ามีการส่งออกเพิ่มทุกปี (เสาวลักษณ์ กิตติธนวัตร, 2564) บอนสี เป็นไม้ประดับที่ใบมีสีสันและรูปทรงสวยงามจนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีแห่งใบไม้” (Queen of the Leafy Plant) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ จัดอยู่ในสกุล Caladium วงศ์ ARACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caladium bicolor ด้วยรูปทรงและสีสันที่น่าหลงใหล ทำให้ในประเทศไทยมีผู้นิยมเลี้ยงบอนสีกันมาก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการผสมบอนสีจนเกิดเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่น ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน การผสมด้วยเกสรดอกจะทำให้ได้ลักษณะใบมีสีสันใหม่ ๆ มากขึ้น หากได้พันธุ์ใหม่มีความเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างไปจากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เดิม สามารถนำไปตั้งชื่อจดทะเบียนกับทางสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย โดยชื่อที่ตั้งต้องไม่ซ้ำกับชื่อเดิมที่มีอยู่แล้ว การตั้งชื่อบอนสีจะมีการแยกหมวดหมู่ออกเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่า “ตับ” ใน ปี พ.ศ 2474-2525 การตั้งชื่อต้องทำต่อที่ชุมนุมอย่างพิถีพิถัน จะมีขนบการตั้งชื่อบอนสีที่เคร่งครัดโดยพิจารณาจากลักษณะต่าง ๆ เช่น สีของพื้นใบ ก้านใบ ประจุด ก่อนที่จะจัดเข้าตับและกำหนดชื่อของบอนสี ดังต่อไปนี้ ความหมายจากสีของบอน ความหมายจากรูปลักษณะใบแบบต่าง ๆ ความหมายจากประจุด (เม็ด, พร่า) ขนาดความถี่ห่าง ลักษณะและสภาพของประจุด ความหมายจากทรวดทรง บางตับเป็นชื่อที่มีลักษณะสอดคล้องกับวรรณคดีหรือบุคคลในประวัติศาสตร์ เช่น บอนสีตับรามเกียรติ์ ตับอิเหนา ตับขุนช้างขุนแผน ตับสามก๊ก ตับวีรชน และจะมีการตั้งชื่อจากสีสันและรูปร่างของใบตามสีชุดของตัวละครนั้น ๆ หรือความคล้ายคลึงของลวดลายที่พบเห็นได้ในจิตรกรรมไทย การตั้งชื่อบอนสีตามลักษณะต่าง ๆ และความหมายของบอนสีที่กล่าวมานี้ เพื่อเป็นแนวทางในการตั้งชื่อบอนสีให้มีความหมายเหมาะสม กลมกลืน ไม่ขัดแย้ง ไร้หลักเกณฑ์ อีกทั้งในลูกผสมพันธุ์ใหม่ยังสามารถดูลักษณะเด่นและสืบค้นไปถึงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบันมีบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่ทั้งที่ขึ้นทะเบียนแล้วและรอการขึ้นทะเบียนจากสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทยจำนวนมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่นั้น มีทั้งอ้างอิงจากการตั้งชื่อตามขนบเดิมและส่วนหนึ่งลดความเคร่งครัดลงจนไม่สามารถจัดอยู่ในหมวดหมู่ตับใดได้ เช่น สาวเชียงราย อัคคีเทพ พลอยดาว Super red ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์บางประการของผู้ผสมพันธุ์ การศึกษาการตั้งชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากวิธีการตั้งชื่อบอนสีได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่ได้เคร่งครัดในขนบดังเช่นอดีต คณะผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะศึกษาการตั้งชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่ โดนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตั้งชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่ ความเชื่อและค่านิยมที่สะท้อนจากชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่ และเผยแพร่ในลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ ผ่านหนังสือ “รวมภาพถ่ายและรายชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่” การวิจัยครั้งนี้จะใช้แนวคิดอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์(Ethnosemantics) ในการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากการศึกษาทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์เป็นการศึกษาภาษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าถึงความคิด ค่านิยม ทัศนคติของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การวิเคราะห์ทางความหมายของคำ โครงสร้างทางภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งจะทำให้เห็นความคิด ค่านิยม โลกทัศน์ของกลุ่มชนนั้นได้ สอดคล้องกับที่อมรรัตน์ วันยาว (2545) กล่าวว่า “ชื่อ” เป็นภาษาที่ถูกกำหนดและสมมติขึ้นมาเพื่อให้เรียกขานสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และชื่อยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม แนวคิด ทัศนคติ รวมถึงวัฒนธรรม ของคนในชาตินั้น ๆ การวิจัยในครั้งนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงวิธีในการสร้างสรรค์ชื่อ ความเชื่อและค่านิยมของกลุ่มผู้พัฒนาบอนสีลูกผสม และสามารถนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการจดทะเบียนชื่อบอนสีให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสายพันธุ์อันเป็นการอนุรักษ์ขนบในการตั้งชื่อบอนสีดังเช่นอดีต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษากลวิธีการตั้งชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่
เพื่อศึกษาความเชื่อและค่านิยมที่สะท้อนจากชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่
เพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเผยแพร่ในลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยนำเสนอองค์ความรู้ เรื่อง กลวิธีการตั้งชื่อ ความเชื่อและค่านิยมที่สะท้อนจากชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่ ผ่านหนังสือ “รวมภาพถ่ายและรายชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่”
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้เรื่องกลวิธีการตั้งชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่
KPI 1 : หนังสือ "รวมภาพถ่ายและรายชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่"
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 เล่ม 200
KPI 2 : การศึกษากลวิธีการตั้งชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้เรื่องกลวิธีการตั้งชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์ใหม่
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษากลวิธีการตั้งชื่อบอนสีลูกผสมพันธุ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์กฤษฏิ์  สุรนัคครินทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์อาภาลัย  สุขสำราญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พิชญ์  จิตต์ภักดี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าที่พัก/ค่าพาหนะ) (12,500 บาท x 4 ครั้ง ในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
10,000.00 บาท 30,000.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจัดทำรายงานวิจัยความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ สำหรับส่งมอบให้หน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัย (300 บาท x 30 เล่ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์หนังสือพร้อมเข้าเล่ม สำหรับแจกจ่ายถึงหน่วยงานมหาวิทยาลัย สำนักหอสมุด และหอสมุด ทั่วประเทศ (550 บาท x 200 เล่ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 110,000.00 บาท 110,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการถ่ายภาพ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล