20783 : โครงการ "แปลงรวบรวมชนิดพันธ์ุไผ่ท้องถิ่นภาคใต้"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/11/2566 10:50:00
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2567 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (GO. Eco U.)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.2.1 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.2.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (GO.Eco U.)
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 1.2.1 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 3. กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรมรวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคมชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 28. ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมไผ่อย่างบูรณาการ สอดคล้องกับการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวทางพระราชดำรัส อ้างอิงจากเว็บไซต์ มูลนิธิชัยพัฒนา มีดังต่อไปนี้ ...การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย... ...การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ... พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 ในการประชุม สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใจความตอนหนึ่ง ว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้เริ่มต้นขึ้นราวปีพุทธศักราช 2535 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ในการศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ และบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสปฏิบัติงานที่ศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย ได้ศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้รวบรวมเป็นหลักฐานไว้ และเพื่อให้เป็นสื่อในระหว่างสถาบันต่าง ๆ บุคคลต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาให้สามารถ ร่วมใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้การศึกษาไม่ซ้ำซ้อน สามารถที่จะดำเนินการไปก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในทางวิชาการได้” ไผ่เป็นพืชที่อยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมานาน มีการปลูกไผ่เพื่อใช้ประโยชน์จากไผ่ในหลายรูปแบบ ทั่วโลกมีไผ่ประมาณ 75 สกุล 1,250 ชนิด ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ซึ่งมีปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมกับการกระจายพันธุ์และการเจริญเติบโตของไผ่ จากการสำรวจ ชนิดพันธุ์ไผ่ในประเทศไทยพบว่า มีจำนวน 17 สกุล (genera) 72 ชนิด (species) (สราวุธ สังข์แก้ว, 2553) กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบมากในป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ไผ่ที่รู้จักกันดีเช่น ไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ซาง (ซางหม่น ซางนวล) ไผ่บงหวาน ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ตากวาง และ ไผ่ป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำไผ่ชนิดพันธุ์ต่างประเทศที่สามารถเติบโตในภูมิอากาศของประเทศไทยได้มาปลูกเป็นไผ่เศรษฐกิจ เช่น ไผ่ดำอินโด ไผ่กิมซุง ไผ่เก้าดาว เป็นต้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำหนดให้การขับเคลื่อนเรื่องไผ่เป็นพืชในยุทธศาสตร์หนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ได้ร่วมมือกับชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ รวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่ภายใต้โครงการไผ่เพื่อน้อง เริ่มโครงการวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ปลูกไผ่กิมซุง จำนวน 100 ต้น และ ไผ่ซางหม่น จำนวน 100 ต้น อีกทั้งยังบริจาคเงินเพื่อวางระบบน้ำในแปลงไผ่ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนต้นพันธุ์ไผ่หลากหลายชนิดจากศิษย์เก่าแม่โจ้จังหวัดต่าง ๆ เพื่อรวบรวมพันธุกรรมไผ่จากแหล่งต่าง ๆไว้ในโครงการ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนปุ๋ยจากศิษย์เก่าเสมอมา อย่างไรก็ดีปี พ.ศ. 2563 จัดกิจกรรมเสวนาและปลูกไผ่ ในวันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม โดยทางชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ร่วมกับงานบริการวิชาการและวิจัย จัดกิจกรรมเสวนา “พูดคุย…ตามประสาคนรักษ์ไผ่” นำโดยคุณ วีรวัชร์ จารุรัชต์ธำรง ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 49 ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ คุณสมบัติ มากลัด จากเครือข่ายผู้จำหน่ายพันธุ์ไผ่ (มอบชนิดพันธุ์ไผ่กว่า 200 ต้น ให้กับโครงการ) และคุณโชคดี ปรโลกานนท์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 45 ผู้ก่อตั้ง โรงเรียนป่าไผ่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญด้านไผ่ ดำเนินการเสวนา อย่างไรก็ตามปี พ.ศ. 2564 มีแผนงานวิจัยศึกษาการเจริญโตของไผ่ซางหม่นที่ปลูกในดินทราย และได้รับการสนับสนุนกล้าพันธุ์ผักเหลียงจาก ดร. สันติพงษ์ พรหมชาติ หนึ่งในเครือข่ายผู้ปลูกไผ่ มอบกิ่งตอนผักเหลียง จำนวนกว่า 300 ต้น เพื่อปลูกเสริมในป่าไผ่ อีกทั้งยังสามารถบูรณาการร่วมกับโครงการ “ไผ่เพื่อการศึกษาและการค้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร” ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน 50,000 บาท จากสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2564 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืช เพื่อฝึกอบรมการจัดการสวนไผ่อย่างบูรณาการ เพื่อจัดกิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับไผ่ และเพื่อปลูกรวบรวมชนิดไผ่หน่อหวานทานดิบ ในปีงบประมาณ 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการ อพ.สธ. ในการการอนุรักษ์พันธุกรรมไผ่อย่างบูรณาการ โดยมีกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรมคือการรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่คืนวิถีชีวิตไทยให้ชุมชน และกิจกรรมการจัดการระบบให้น้ำแบบอัตโนมัติและโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในแปลงรวบรวมสายพันธุ์ไผ่ ได้สร้างแปลงรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่ท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนทุกช่วงวัยที่สนใจศึกษาชนิดพันธุ์ไผ่ ในปีที่ผ่านมาได้รวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่ในท้องถิ่นไว้หลายชนิด เช่น ไผ่เฉียงรุน ไผ่ผาก ไผ่ลำมะลอก ไผ่พุมรอก ไผ่เกรียบ ไผ่กำยาน ไผ่เหลียง ไผ่ตง ไผ่ ฯลฯ อย่างไรก็ดีการงานด้านการรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่มีการบูรณาการร่วมกับสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ ปัจจุบันได้ปลูกรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่แล้วกว่า 600 ต้น มีชนิดพันธุ์ไผ่กว่า 30 ชนิดพันธุ์ ในเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ ที่ผ่านมาประสบปัญหาด้านงบประมาณในการจ้างเหมาคนงานเกษตรจึงทำให้ไผ่ที่ปลูกไว้ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคนงานเกษตรเพื่อคอยช่วยดูแลแปลงไผ่ เพื่อให้มีความพร้อมรองรับการบริการวิชาการด้านไผ่ได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่ท้องถิ่น
เพื่อจัดฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านไผ่
เพื่อผลิตสื่อสารคดีให้ความรู้เกี่ยวกับไผ่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
8000 34000 158000 บาท 200000
KPI 2 : ความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ปี 1
KPI 4 : แปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ไร่ 4
KPI 5 : จำนวนชนิดพันธุ์ไผ่ที่รวบรวม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ชนิด 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่
ชื่อกิจกรรม :
สำรวจชนิดพันธุ์ไผ่ในจังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/11/2566 - 31/12/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 10 วันๆละ 240 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก จำนวน 4 คืนๆละ 800 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะ จำนวน 600 กิโลเมตรๆละ 4 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 8000.00
ชื่อกิจกรรม :
ผลิตสื่อวีดีทัศน์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2567 - 31/03/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผลิตสื่อวีดีทัศน์ จำนวน 2 เรื่องๆละ 17,000 บาท เป็นเงิน 34,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 34,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 34,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 34000.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านไผ่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆละ 1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผลิตไวนิล จำนวน 1 ชิ้นๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเครื่องเสียง จำนวน 1 ครั้งๆละ 1,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่ฝึกอบรม จำนวน 1 ครั้งๆละ 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ไม่เป็นบุคลากรภาครัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
ชื่อกิจกรรม :
สร้างแปลงรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่และดูแลบำรุงรักษา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเตรียมแปลงปลูกรวบรวมพันธุ์ไผ่ จำนวน 4 ไร่ๆละ 25,000 บาท เป็นเงิน 100,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าต้นพันธุ์ไผ่ จำนวน 200 ต้นๆละ 100 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ปุ๋ยอินทรีย์เคมี จำนวน 30 กระสอบๆละ 600 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าปุ๋ยคอกจำนวน 200 กระสอบๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 148000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล