20778 : โครงการ " การพัฒนาสบู่เสม็ดแดงด้วยตัวทำลายต่างชนิดร่วมด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มชุมชน ประชาชนที่สนใจ นักศึกษาที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2567 132,323.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ วิชชุดา  เอื้ออารี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.3 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างคุณค่าทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม(Intelligent Agriculture)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.3.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.3.1.3 พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมด้านเกษตรอัจฉริยะเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ใช้ประโยชน์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 1.3 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างคุณค่าทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม (Intelligent Agriculture)
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 1.3.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 9. พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมด้านเกษตรอัจฉริยะเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ใช้ประโยชน์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคมชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 28. ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เสม็ดแดง ชื่อวิทยาศาสฅร์ Eugenia grata Wigat. Var. collinsae Comb. ชื่อวงศ์ MYRTACEAE ในภาคใต้นิยมเรียกว่า เม็ดชุน (ภาคใต้) เม็ก สะเม็ก ลักษรธโดยทั่วไป เป็นไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มทรงกรวย ไม้ต้นขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ถึงแดงคล้ำแตกสะเก็ดแผ่นบางๆ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว ทรงกลม หรือ ไข่สีขาว ด้านคุณประโยชน์ของเสม็ดแดง ใบสด ตำพอกแก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ บวม แก้อาการปวดท้องปือ ท้องเฟ้อ ใบหรือยอดอ่อน นำมารับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ แต่ในใบจะมีสารออกซาเลต (Oxalate) สูง การรับประทานสดหรือจำนวนมากอาจเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในไตได้ เสม็ดแดงยังพบสารจำพวกกลุ่มสารประกอบฟีนอลิก สารประกอบฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารุยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันแอลดีแอลในเลือด ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดแดงและการเกินโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย และสารประกอบกลุ่มฟลาโวนอยด์ยังเป็นแหล่งของสีย้อมธรรมชาติ โดยจะให้สีสันเป็น สีเหลือง สี้สม หรือ สีแดง กลีเซอรีน(Glycerine) เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ (By Product) มึสูตรทางเคมี C3H5(HO)3 เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด และมีรสหวาน เป็นสารที่ละลายในน้ำและแอลกอฮอล์ได้ จัดเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล ซึ่งผลิตได้ปริมาณร้อยละ 7-8 ของปริมาณน้ำมันพืช ที่ใช้ในกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น และยังมีมูลค่าและสามารถนําไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ต่างๆต่อไปได้ เช่น อุตสาหกรรมยาและเครื่องสําอาง ซึ่งกลีเซอรีนเองนั้นสามารถนำไปผลิตเป็นสบู่หรือนำไปใช้ เป็นสารตั้งต้นใน การสังเคราะห์สารเคมีชนิดอื่นๆได้ นอกจากนี้กลีเซอรีนยังเป็นส่วนช่วยหล่อลื่น ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง หากต้องการ เพิ่มมูลค่าผลพลอยได้ของกลีเซอรีน จะต้องนํามาทําให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น โดยผ่านกระบวน การกลั่นเพื่อให้ได้ Pharmaceutical Grade Glycerine ซึ่งจะมีความบริสุทธิ์ของกลีเซอรีนที่ 99.5% ขึ้นไป กลีเซอรีนจะดูดซับ ความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศนิยมใช้มากในอุตสาหกรรม ทําสบู่เพราะใช้ละลายสารต่างๆ ที่สามารถละลายในนํ้าได้โดยทั่วไป ความสามารถในการระเหยของสารละลายกลีเซอรีนขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของสารละลายนั้นๆ เช่น กลีเซอรีนที่ความบริสุทธิ์มากกว่า 99% จะระเหยที่อุณหภูมิที่สูงกว่า (ที่อุณหภูมิ 240 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า)เมื่อเปรียบเทียบกับกลีเซอรีนที่ความบริสุทธิ์ต่ำกว่า 99% กลีเซอรีนสามารถละลายได้ดีในน้ำและแอลกอฮอล์ แต่ไม่ละลาย ในไขมัน สบู่เป็นเครื่องสำอางชนิดหนึ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ได้จากการนำเอานำมันพืชหรือไขมันสัตว์ผสมกับน้ำด่าง ส่วนผสมระหว่างกรด (ไขมัน) กับเบส (ด่าง) ในอัตราส่วน ที่ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-10 เดิมใช้เพิ่อทำความสะอาดร่างกายเท่านั้น เช่น การอาบน้ำ การล้างมือ สบู่จะช่วยละลาย ไขมัน ทำให้การชำระล้างสะอาดมากขึ้น ปัจจุบันกระบวนการผลิตสบู่มีการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เพื่อให้สบู่มีสรรพคุณตรงตาม ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่นมีสีสรรที่สวยงามน่าใช้ มีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณทางยา ในทางการค้ามีการใช้ สารสังเคราะห์เพิ่มขึ้นทำให้ ผลิ ตภั ณฑ์ น่าใช้ บรรจุภัณฑ์ สวยงามแต่ แฝงไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตราย มีพิษตกค้างและราคาสูง ปัจจุบันนิยมใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติม ในสบู่แทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ พืชสมุนไพรที่ใช้มีสารสำคัญและ มีสรรพคุณทางยา เช่น มีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะใช้ ในการบำบัดโรค มีสีสรรสวยงาม หาง่าย ราคาถูก ประหยัด ปลอดภัย ไร้สารสังเคราะห์และไม่มีพิษตกค้าง ทำให้สบู่สมุนไพรที่ผลิตขึ้นจาก ผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะ หลากหลาย จึงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึง ความมหัศจรรย์ของสมุนไพรไทยที่มีคุณค่ายิ่งของสมุนไพรไทย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์เสม็ดแดงให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป
เพื่อพัฒนาสูตรที่เหมาะสมในการทำสบู่เสม็ดแดงด้วยตัวทำละลายต่างชนิดร่วมด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์
เพื่อเพิ่มมูลค่าและผลพลอยได้ของสารสกัดจากเสม็ดแดง รวมทั้งใบ ดอก และผลของต้นเสม็ดแดง
เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างอาชีพของกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สบู่เสม็ดแดงด้วยตัวทำละลายต่างชนิดร่วมด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์
KPI 1 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมการผลิตสบู่เสม็ดแดงด้วยตัวทำละลายต่างชนิดร่วมด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : งบประมาณภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
132323 บาท 132323
KPI 4 : จำนวนสูตรสบู่เสม็ดแดงด้วยตัวทำละลายต่างชนิดร่วมด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 สูตร 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สบู่เสม็ดแดงด้วยตัวทำละลายต่างชนิดร่วมด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์
ชื่อกิจกรรม :
การผลิตสบู่เสม็ดแดงด้วยตัวทำละลายต่างชนิดร่วมด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์และจัดอบรมการผลิตสบู่เสม็ดแดงด้วยตัวทำละลายต่างชนิดร่วมด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 31/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา  จินดาซิงห์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าเดินทางไปปฏิบัติงาน จำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 1,202 กม. ๆ (ไป-กลับ) ละ 4 บาท เป็นเงิน 19,232 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 19,232.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,232.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าที่พักเหมาจ่าย จำนวน 12 คืน ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 16 วัน ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 3,840 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,840.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,840.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 30 คน ๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ เป็นเงิน 27,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 27,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 27,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 2 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 6 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น เช่น กลีเซอรีน แอลกอฮอล์ เฮกเซน ฯลฯ เป็นเงิน 14,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น มีดพร้า ตะแกรง ถาดกะบะ ฯลฯ เป็นเงิน 18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม กระดาษ ปากกา ถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 4,751 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,751.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,751.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงซีลสุญญากาศ ถุงพลาสติกใส กล่องกระดาษ ฯลฯ เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 132323.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
มีความคิดเห็นว่าเวลาในการอบรมบางช่วงไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างเต็มที่
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ควรกำหนดเวลาในการอบรมให้เหมาะสมกับแต่ละหัวข้อ และจัดให้มีช่วงเวลาสำหรับการปฏิบัติอย่างเพียงพอ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา ฟส102 ฟิสิกส์พื้นฐานและ รายวิชา สต301 หลักสถิติ
ช่วงเวลา : 01/12/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล