20777 : โครงการ "การใช้ประโยชน์จากสารสกัดต้นเสม็ดขาวผสมกับน้ำหมักฝักคูนเพื่อป้องกันโรคและแมลงในพืชผักคะน้า Brassica oleracea Var. Alboglabra และผักกวางตุ้ง Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นายชัยวิชิต เพชรศิลา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  (1) นักเรียน นักศึกษา เยาวชน (2) เกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตพืชผัก และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แหล่งงบประมาณจาก อพสธ. ปี 67 2567 140,150.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ชัยวิชิต  เพชรศิลา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคมชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 29. สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ต้นเสม็ดในประเทศไทยจะพบอยู่สองชนิด คือ Melaleuca cajuputi Powell มีชื่อท้องถิ่นทั่วไปเรียกว่า เสม็ด (ภาคตะวันออก) เสม็ดขาว และภาคใต้เรียกว่า เหม็ดและอีกชนิดหนึ่ง คือ Melaleuca leucadendra (L.) L. เป็นไม้ต่างถิ่น มีชื่อสามัญเรียกว่า Cajeput tree, River cajeput tree, Weeping paperbark tree, White tea tree อยู่ในวงค์ MYRTACEAE ซึ่งต้นเสม็ดนั้นจัดได้ว่าเป็นราชินีแห่งไม้ป่าในริมทะเล และในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร จะมีทั้งเสม็ดขาว และเสม็ดแดง Eugenia grata Wigat. Var. collinsae Comb. พบอยู่ทั่วไป และมีการนำไปใช้ประโยชน์ก็จะแตกต่างกันไป ในปัจจุบันต้นเสม็ดแดงมีจำนวนที่ลดลงเนื่องจากมีการลักลอบขุดไปตกแต่งอาคารสถานที่ต่างๆ เนื่องจากต้นเสม็ดแดงจะมีลักษณะใบและต้นเป็นสีแดงจึงเหมาะต่อการนำไปจัดสวนตกแต่ง และต้นเสม็ดขาวก็พบว่า มีการนำไปใช้ประโยชน์มากไม่แพ้กับเสม็ดแดง มีการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายใช้ได้ทุกส่วนของต้นเสม็ดขาวที่มีสารระเหยสำคัญ เมทิลยูจีนอล และ อี-เมทิลไอโซ ยูจีนอล ที่พบ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส (Eucalyptus Oil) การบูร (camphor) น้ำมันระกำ (methyl salicylate) เมนทอล (menthol) และสารสำคัญอื่น ๆ สารสำคัญเหล่านี้สามารถนำมาพัฒนาการและต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับคน สัตว์ และพืชได้ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้ดำเนินโครงการใช้สารสกัดจากต้นเสม็ดขาวเพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงในต้นหน้าวัว และกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis โดยฉีดพ่นสารสกัดจากต้นเสม็ดขาว 5 วัน/ครั้ง ในช่วงระยะเวลา 1 เดือน และ 12 วัน/ครั้ง ในเดือนที่ 2 ถัดไป พบว่าการใช้สารกัดจากเสม็ดขาวอย่างเดียวสามารถป้องกันและกำจัดโรคและแมลงในต้นหน้าวัว และกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis ได้ เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชี้อรา และแมลงจำพวกเพลี้ย และหนอน ได้ 60 เปอร์เซ็นต์ และเช่นเชื้อแบคทีเรีย เชี้อรา 50 เปอร์เซ็นต์ ชึ่งจากการประเมินในเบื้องต้นสารสกัดจากต้นเสม็ดขาวสามารถป้องกันและกำจัดโรคและแมลงในต้นหน้าวัว และกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis เป็นที่น่าพอใจ ดังนั้นการใช้สารกัดจากเสม็ดขาวให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นจากเดิมควรมีพืชสมุนไพรร่วมด้วย เช่น ต้นคูณ (Cassia fistula Linn.) โดยใช้ฝักคูน ที่มีสารซาโปนิน มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง เพลี้ย และแบคทีเรีย หนอน หอยทาก และหอยเชอรี่ในนาข้าว (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2563) นอกจากนั้นยังพบว่าสารสกัดฝักคูนยังมีความเป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อนถั่ว โดยมีค่า LC50 เท่ากับ 5,508.08 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (สุดารัตน์ และคณะ, 2551) ดังนั้นการใช้ฝักคูนหมักผสมกับสารสกัดเสม็ดขาวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสารกัดเสม็ดขาวให้ดีขึ้น โดยทำการทดลองในผักคะน้า Brassica oleracea Var. Alboglabra และผักกวางตุ้ง Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee เป็นพืชผักที่มีการปลูกทั่วไปในประเทศไทยปลูกไว้บริโภคเองและปลูกเพื่อเป็นการค้า ซึ่งลักษณะการปลูกและการจัดการจะแตกต่างกัน และจากประสบการณ์ลงพื้นที่ตรวจแปลงเกษตรกร เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นแปลงการปลูกพืชผักเป็นแปลง GAP พบว่าทุกแปลงที่ปลูกผักมีการใช้สารเคมีทั้งป้องกันและกำจัดโรคและแมลงทั้งสิ้น ดังนั้นการปลูกพืชทั้งสองชนิดนั้นมีความสำคัญต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตที่ปลูกพืชให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคดังนั้นจึงนำเสนอโครงการ “การใช้ประโยชน์จากสารสกัดต้นเสม็ดขาวผสมกับน้ำหมักฝักคูนเพื่อป้องกันโรคและแมลงในพืชผักคะน้า Brassica oleracea Var. Alboglabra และผักกวางตุ้ง Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee ในกระบวนการผลิตพืชผักที่ไปสู่เกษตรอินทรีย์ที่มีความต้องการของตลาด และสามารถนำมาบริโภคในครัวเรือนได้ นอกจากนั้นยังสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และชุมชนได้ และเพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่จะก้าวไปเป็นเกษตรอินทรีย์และสามารถเป็นที่พึ่งพาของเกษตรกรในการใช้สารสกัดจากต้นเสม็ดขาวในกระบวนการผลิตพืชที่เป็นอินทรีย์ได้ และเพื่อสนองงานในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่ออนุรักษ์ต้นเสม็ดขาวในพื้นที่ป่าชายหาดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษา และพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัดจากต้นเสม็ดขาวร่วมกับพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกระบวนการผลิตพืชผักอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้วิธีการสกัดสารชีวภัณฑ์ ได้ผลิตภัณฑ์สารชีวภัณฑ์ และวิธีการใช้
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ร้อยละการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงหลังจากได้รับวิชาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : ร้อยละความพึ่งพอใจผู้เข้ารับบริการวิชาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
127950 12200 บาท 140150
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้วิธีการสกัดสารชีวภัณฑ์ ได้ผลิตภัณฑ์สารชีวภัณฑ์ และวิธีการใช้
ชื่อกิจกรรม :
เตรียมพื้นที่ดำเนินโครงการ เก็บตัวอย่างพืชและสกัดสารพืชสมุนไพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2567 - 31/03/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายชัยวิชิต  เพชรศิลา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาบริการ เก็บตัวอย่างพืช บดพืชสมุนไพร และการสกัดสารในพืชสมุนไพร จำนวน 2 ชนิดพืช ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาวางระบบน้ำพื้นที่ จำนวน 1 ไร่ ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาปรับพื้นที่และไถพรวนในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 1 ไร่ ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาคนงานเกษตร จำนวน 1 คน ๆ ละ 4 เดือน ๆ ละ 9,000 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มโครงการ จำนวน 3 เล่ม ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 87,350.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 87,350.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 87350.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดชื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2567 - 31/03/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายชัยวิชิต  เพชรศิลา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ค่ากระถางพลาสติก, ค่าขวดบรรจุ, ค่าเมล็ดพันธ์ผัก , ค่าปุ๋ยอินทรีย์ , ค่ามูลวัว ฯลฯ เป็นเงิน 40,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 40,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40600.00
ชื่อกิจกรรม :
ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย และติดตั้งองค์ความรู้สู่ชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายชัยวิชิต  เพชรศิลา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 90 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย วจำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท 4,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 12200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การเบิกจ่ายอาจมีความล้าช้ามีผลต่อการดำเนินโครงการฯ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เร่งการเบิกจ่ายให้ทันตามเวลาที่กำหนดของฝ่ายการเงิน ฝ่ายคลังและพัสดุ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การสัดสารสมุนไพรจากเสม็ดขาวและการหมักฝักคูณแบบง่าย
ช่วงเวลา : 01/03/2567 - 31/07/2567
ตัวชี้วัด
5.2 กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล