20772 : พัฒนาสมรรถนะผู้นำเกษตรกรอินทรีย์รุ่นใหม่สู่ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรดิจิทัล
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางนพนิตย์ วงศ์สุ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/11/2566 10:46:00
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/11/2566  ถึง  30/06/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เครือข่ายผู้นำเกษตรอินทรีย์รุ่นใหม่ รุ่นที่ 1-7
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินสะสมเพื่อขับเคลื่อนโครงการยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการ 2567 91,879.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการกำกับติดตามแบบบูรณาการ
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA67-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ BA67-G-6 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด BA67-KPI-18 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ BA67-S-18 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตัวชี้วัด BA67-KPI-19 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ BA67-S-19 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาพปัญหาด้านความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และการปรับเปลี่ยนระบบการทำการเกษตรที่เน้นที่มุ่งเน้นการทำการเกษตรแบบอุตสาหกรรมแทนการเกษตรแบบยังชีพกำลังมีผลกระทบโดยตรงกับการทำเกษตรกรรมในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเกษตรกรจะต้องผลิตผลผลิตให้ได้ปริมาณที่มากและมีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับจากโรงงานอุตสาหกรรมและผู้บริโภค ตัวอย่างสำคัญ คือ ข้าวราคาตกต่ำ เป็นปัญหาอย่างมากในปี 2564 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูง ไม่ต่ำกว่า 7,000 บาทต่อไร่ และ ผลผลิตที่ได้ต่ำ เพียง 500 กก.ต่อไร่ (ข่าวมติชน ออนไลน์: 10 พย.2564) การแก้ปัญหาเร่งด่วนในรูปแบบหนึ่ง คือการควบคุมต้นทุนปัจจัยการเพาะปลูกให้คงที่หรือลดน้อยลงเพื่อการแข่งขันทางด้านการตลาด โดยเฉพาะการแข่งขันสินค้าเกษตรกับกลุ่ม Asian Economic Community: AEC ซึ่งกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิก โดยเฉพาะสินค้าทางด้านผลิตภัณฑ์เกษตร ดังนั้น การทำการเกษตรแบบเดิมที่เคยทำกันมาอาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในยุคปัจจุบันที่มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาเกษตรให้เพียงพอและเป็นวัตถุดิบสู่ครัวโลก ประกอบกับวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของรัฐที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจากเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ตามนโยบาย ประเทศไทย ๔.๐ เพื่อให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางไปสู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีด้านอาหาร เทคโนโลยีด้านสุขภาพ เทคโนโลยีด้านระบบการทำงานอัตโนมัติ เทคโนโลยีด้านดิจิตอล และเทคโนโลยีด้านวัฒนธรรม ในโครงการนี้เน้นด้านเทคโนโลยีด้านดิจิตอล ซึ่งประกอบไปด้วยเทคโนโลยีด้านการเงิน เทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ และการศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความสัมคัญอันดับต้นๆ ในการสร้างฐานเศรษฐกิจจากภาคธุรกิจ ตัวอย่างของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประสบความสำเร็จได้แก่ Lazada.com และ Shoppee.com และยังรวมถึงนักธุรกิจรายย่อยที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการทำธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ ในการประสบความสำเร็จในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นไม่ได้มีองค์ประกอบด้านเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่ยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นที่สำคัญได้แก่พื้นฐานการตลาด 4P, Marketing Mix, แบนด์, และการเล่าเรื่องรวมสินค้า (Story Telling) พื้นฐานการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เช่น เครื่องมือสังคมออนไลน์ (Social Network) เรียกว่าการตลาดสังคมออนไลน์ (Social Network Marketing) ตัวอย่างเครื่องมือที่นิยมใช้ปัจจุบันได้แก่ Facebook, Google+, และ Line Official ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคการเกษตรสามารถทำการตลาดออนไลน์นั้นไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และเกิดความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบย้อนกลับ และทำให้เกิดเครือข่ายด้านสินค้าเกษตรเพื่อให้เกิดพันธกิจทางธุรกิจเพื่อต่อรองและขยายด้านการขายกับผู้บริโภครายใหญ่ได้ ปัจจุบันเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการพัฒนาการตลาดออนไลน์จึงส่งผลให้มีจำนวนข้อมูลปริมาณมหาศาลในเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต สิ่งที่ตามมาคือผู้ซื้อ หรือผู้บริโภคไม่สามารถทำความเข้าใจข้อมูลได้ง่าย ดังนั้น ในโครงการนี้จึงนำหลักการ Neuro Marketing มาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดออนไลน์ซึ่งหลักการของ Neuro Marketing ใช้หลักการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของสมองผู้บริโภคมากสุด เพื่อลดขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ หรือใช้บริการ โดยหลักการพื้นฐานประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การเข้าใจสมอง การเข้าในสิ่งเร้า และกระบวนการนำข้อมูลเข้าสู่สมอง ด้วยเทคโนโลยีนี้ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใจ จดจำแบรนด์ และเข้าใจเรื่องราวของสินค้าได้อย่างง่ายดาย ถ้าเราจะเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้เพิ่มขึ้นนั้น นอกจากนี้ สมรรถภาพในการผลิตหรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ ของผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรในชุมชนไทยส่วนใหญ่แล้วจะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาก โดยพัฒนามาจากภูมิปัญญาเดียวกัน จะมีการผลิตเฉพาะ ชุมชนหรือผลิตสินค้าพิเศษที่โดดเด่นแตกต่างโดยสิ้นเชิง จากหมู่บ้านอื่นหรือถิ่นอื่นน้อยมาก ซึ่งการมีผลิตภัณฑ์ ชุมชนเพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าของแต่ละพื้นที่ที่คล้ายคลึงกัน มากนี่เอง ส่งผลลบต่อการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เพราะ ไม่มีความเฉพาะ (Unique) ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ ทั้งนี้ การแก้ไขในประเด็นปัญหาดังกล่าวว่า ควรหาอัตลักษณ์ของสินค้าเพื่อสร้างเป็นจุดขาย วิสาหกิจชุมชนที่มุ่งเน้นพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หากมีการสร้างอัตลักษณ์ของสินค้าเอง หรือเรื่องราว ในผลิตภัณฑ์หรือแหล่งผลิต ก็สามารถเป็นแนวทาง ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่สนใจได้มากขึ้น “อัตลักษณ์” หรือ “เอกลักษณ์” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะ ขาดไม่ได้ในตัวผลิตภัณฑ์หรือสินค้า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าชุมชนที่จะต้องหาความแตกต่าง สร้างความน่าสนใจ ก่อให้เกิดความรู้สึกน่าค้นหาแก่ผู้บริโภคให้ได้ อันจะนำไปต่อยอดสู่การสร้างและสื่อสารแบรนด์ของผลิตภัณฑ์สินค้า นั้นๆ ให้เป็นที่สนใจแก่ผู้บริโภคอย่างมั่นคงและยั่งยืน จากความสำคัญและความจำเป็นของหลักการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลข้างต้น คณะทำงานโครงการ สร้างและพัฒนาผู้นำเกษตรกรอินทรีย์รุ่นใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (งบประมาณปี 2561-2563) จึงมีความต้องการที่จะพัฒนาสมรรถนะผู้นำเกษตรกรอินทรีย์รุ่นใหม่สู่ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรดิจิทัล สำหรับเครือข่าย/ศิษย์เก่าโครงการสร้างและพัฒนาผู้นำเกษตรกรอินทรีย์รุ่นใหม่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมผู้นำเกษตรกรอินทรีย์รุ่นใหม่ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ และสามารถปฏิบัติด้านสื่อดิจิทัลและการตลาดดิจิทัล
เพื่อสร้างสื่อดิจิทัลสำหรับธุรกิจเกษตรสู่อัตลักษณ์ของผู้ประกอบการ
เพื่อสร้างและพัฒนาการตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สมรรถนะกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรให้มีความรู้ และสามารถปฏิบัติด้านสื่อดิจิทัลและการตลาดดิจิทัลได้สื่อดิจิทัลของธุรกิจเกษตรสู่อัตลักษณ์ของผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร เพื่อต่อยอดธุรกิจเกษตร
KPI 1 : สื่อดิจิทัลธุรกิจเกษตรสู่อัตลักษณ์ของผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ชิ้น 30
KPI 2 : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อดิจิทัลและการตลาดดิจิทัล
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : การบริหารโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตามกำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : แผนและกลยุทธ์การตลาดธุรกิจเกษตรดิจิทัล
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 แผน 30
KPI 5 : ช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรด้วยการตลาดดิจิทัล
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ช่องทาง 30
KPI 6 : จำนวนเกษตรกรในโครงการผู้นำเกษตรอินทรีย์รุ่นใหม่ได้พัฒนาทักษะ ความรู้ เกี่ยวกับสื่อดิจิทัลและการตลาดดิจิทัล
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สมรรถนะกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรให้มีความรู้ และสามารถปฏิบัติด้านสื่อดิจิทัลและการตลาดดิจิทัลได้สื่อดิจิทัลของธุรกิจเกษตรสู่อัตลักษณ์ของผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร เพื่อต่อยอดธุรกิจเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาสมรรถนะผู้นำเกษตรกรอินทรีย์รุ่นใหม่สู่ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรดิจิทัล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/11/2566 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 5 วันๆละ 100 บาท 30 คน เป็นเงิน 15,000 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 วัน 2 ครั้งๆละ 30 บาท 30 คน เป็นเงิน 9,000 บาท
3.ค่าจ้างเหมาผลิตโลโก้/บรรจุภัณฑ์ จำนวน 30 ผลงานๆละ 1,300 บาท เป็นเงิน 39,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 63,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 63,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5วันๆละ 6ชม.ละ 600บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1.ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 4,379 บาท
2.ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 3,500 บาท
3.ค่าวัสดุสำนักงาน (ถ่ายเอกสาร) จำนวน 30 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,879.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,879.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 91879.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล