20761 : โครงการสืบสานวัฒนธรรมแฮกนาปลูกข้าว
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.สุจิรา ทิวจิรกุล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/08/2567  ถึง  31/08/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  172  คน
รายละเอียด  นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมถึงผู้สนใจภายนอก จำนวน 172 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2567 ของสำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง : แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผลผลิต : ผลงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมหลักส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แผนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กองทุนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2) 2567 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ธิดารัตน์  ศิริบูรณ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.4.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.4.2.1 พัฒนาแผนและกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67 AP 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 67 AP 2.4.1 จำนวนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่บุรณาการกับพันธกิจอื่น (การเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ)
กลยุทธ์ 67 AP 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษาด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตรและมีการบูรณาการกับการเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประชาชนชาวไทยมีอาชีพทางเกษตรกรรมมาแต่โบราณกาล อาหารที่สำคัญ คือ ข้าว เป็นทั้งแป้งและน้ำตาลเป็นอาหารหลักที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นการผลิตข้าวจีงเป็นงานสำคัญ ในวิธีชีวิตของคนไทยทั้งมวล การแสวงหาเนื้อที่ปลูกข้าวโดยการหาแหล่งน้ำและเนื้อที่ราบเป้นที่ปลูกข้าวเรียกกันว่า"ทุ่งนา" จึงทำมาช้านาน เนื้อที่ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นที่ราบของประเทศไว้สำหรับเป็นที่ปลูกข้าวมากมาย ประเพณีทางล้านนาที่ปฏิบัติกันสืบมา เช่น การแฮกนา ของชาวล้านนาไทยกับการแรกนาของภาคกลาง เป็นอันเดียวกันต่างและล้านนาประชาชนออกเสียงเป็นแฮกนา เป็นอย่างเดียวกับจรดพระนังคัล คือการไถนา หรือ พระราชพิธีแรกนาขวัญ คณะผลิตกรรมการเกษตรเป็นคณะที่มีการเรียนการสอนนักศึกษาในด้านการเกษตรมานานกว่า 50 ปี มีความมุ่งมั่นที่จะรักษาไว้ซึ่งความสำคัญของข้าวไม่ว่าจะในฐานะของอาหาร เครื่องมือทางวัฒนธรรม และการสานเชื่อมเครือข่ายทางสังคมให้เข้ามาเห็นและมีส่วนร่วมอย่างแนบแน่น จึงประสงค์จะจัดโครงการนี้เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจ ได้นำเอาความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ สำหรับนักศึกษาเป็นการได้รับความรู้จากนอกห้องเรียนมาบูรณาการด้วยการได้รู้จักการทำนาแบบธรรมชาติ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีอาชีพทำนามาตลอดชีวิต รวมไปถึง พิธีกรรมแฮกปลูกข้าวและแฮกนาเกี่ยวข้าวแบบล้านนา รวมถึงประเพณีลงแขกปลูกข้าว เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจของคนไทยที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่คณะ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา โดยใช้อุบายให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมและสมดูล อันจะส่งผลต่อการรับรู้ที่ดีต่อการทำนาและอาชีพเกษตรกรของนักศีกษาต่อสังคม ชุมชน และประชาชนชาวบ้าน เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่ Organic University Green และ Eco University ต่อไปในอนาคต ประเทศไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรมที่เข้มแข็งยั่งยืนมานับตั้งแต่บรรพบุรุษ ดังนั้น การส่งเสริม อนุรักษ์อาชีพและศิลปวัฒนธรรม ประเพณีเกี่ยวกับการเกษตร จึงมีความสำคัญมากสำหรับคณะผลิตกรรมการเกษตร ที่มุ่งมั่นจะผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้อย่างสม่ำเสมอ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจภายนอกได้สัมผัสเรียนรู้อัตลักษณ์ของหน่วยงานและมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม บูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษาและการเรียนการสอน
เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก ได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นตามอัตลักษณ์ของการเกษตร
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมวัฒนธรรมในกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นตามอัตลักษณ์ของการเกษตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 2 : ร้อยละความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมาย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
172 คน 172
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก ได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นตามอัตลักษณ์ของการเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
การเกี่ยวข้าวโดยพิธีกรรมแบบล้านนา พร้อมทั้งสาธิตการข้าวข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2567 - 31/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ธิดารัตน์  ศิริบูรณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กาญจนา  จอมสังข์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสัมพันธ์  ตาติวงค์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายบัณฑิต  ต๊ะเสาร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.สุจิรา  ทิวจิรกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางหทัยรัตน์  ชววัฑรัตน์ชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางจิราพร  หลงปันใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (สำหรับนักศึกษา) จำนวน 142 คน ๆ ละ 65 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 9,230 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับนักศึกษา) จำนวน 142 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 8,520 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,750.00 บาท 17,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับบุคลากร) จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,050.00 บาท 1,050.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน จำนวน 1 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 1,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
งบประมาณในการดำเนินงานโครงการค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่แท้จริง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
บริหารค่าใช้จ่ายโครงการให้อยู่ในวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
พร 455 ระบบการเกษตร, พร 498 ปัญหาพิเศษ, 10120301 พืชไร่เศรษฐกิจและปัจจัยสิ่งแวดล้อม, 10120404 กระบวนการผลิตข้าว, 10120415 การจัดการแปลงปลูกและน้ำเพื่อการผลิตพืชไร่, 10120496 ปัญหาพิเศษด้านพืชไร่
ช่วงเวลา : 03/07/2567 - 04/11/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล