20750 : โครงการค่ายพัฒนาชุมชนและสังคม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.กัลย์ชิสา นามวงศ์พรหม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
28/08/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  572  คน
รายละเอียด  นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้จากเงินพัฒนานักศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร) สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผลผลิตผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุน บริหารจัดการทั่วไป แผนงานการเรียนการสอน งานสนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการศึกษา งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2) 2567 60,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรพินธุ์  สฤษดิ์นำ
น.ส. กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรนุช  เจริญกิจ
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริม อัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67 AP 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67 AP 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 67 AP 2.1.9.2 ส่งเสริมกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษาและภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนักศึกษาเข้ามาเรียนจากทุกภูมิภาคของประเทศไทย ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ต่างประสบการณ์และวิถีชีวิต โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 อายุระหว่าง 17 -23 ปี เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้ เพื่อเข้าใจและจัดการตัวเองให้สามารถคิดต่อยอดแนวความคิดดีๆ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้เข้ากับบริบททางสังคม ณ ปัจจุบันที่นักศึกษาใช้ชีวิตอยู่ โครงการค่ายพัฒนาชุมชนและสังคม ประจำปี 2567 จะจัดขึ้่นเพื่อมุ่งหวังจะนำนักศึกษาที่มาจากต่างจังหวัดและนักศึกษาที่อาศัยอยู่ภาคเหนือ แต่ยังไม่มีโอกาสได้ทำความเข้าใจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม สามารถเรียนรู้และเข้าใจวิถีชุมชนและสังคมได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น อันได้แก่ ฐานคิดของคนในชุมชน รูปแบบของความเชื่อ วิธีปฏิบัติตน การกินอยู่หลับนอน กล้าพันธุ์ต้นไม้ต่างๆ ตามวิถีเกษตรล้านนาภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งโครงการนี้มีการบูรณาการสอดคล้องกับแนวคิดของแผนงานด้านวัฒนธรรมของคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 และมีการประยุกต์กระบวนการทำงานให้มีคุณภาพ PDCA ในการวางแผนจัดกิจกรรม โดยทีมงานจากสโมสรนักศึกษาและชมรมนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ถือเป็นการบูรณาการด้านวัฒนธรรมกับการจัดกิจกรรมพัุฒนานักศึกษาให้ได้รับประสบการณ์จากการประชุมงาน ติดต่อหน่วยงาน ประสานงานต่างๆเพื่อให้สามารถจัดโครงการได้ ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพ (UpSkill) ให้นักศึกษาประยุกต์ใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการจัดโครงการ ผลสมฤทธิ์ของโครงการที่ตั้งไว้จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการเป็น "มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน " รูปแบบกิจกรรมการพัฒนาชุมชนและสังคม 1. นำนักศึกษาศึกษาดูงานฟาร์มเกษตรภูมิปัญญาท้องถิ่นและซื้อกล้าดอกไม้ กล้วยไม้ไทยสายพันธุ์ต่างๆ จากหน่วยงานกิจการพิเศษ คณะผลิตกรรมการเกษตร นำไปเพาะขยายพันธุ์ปรับภูมิทัศน์ให้ชุมชนที่ต้องการ พร้อมทั้งอาสาพัฒนาตามความต้องการของชุมชน 2. จัดกิจกรรมการประกวดทูตกิจกรรมคณะผลิตกรรมการเกษตร เน้นแนวคิดของการเป็นคนจิตอาสาพัฒนาชุมชนและสังคม การเป็นผู้ส่งเสริมเกษตรกรและผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาภูมิปัญญาเป็นรายได้ ผนวกกับแนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกษตรล้านนา
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้ก่อเกิดจิตสำนึกที่ดีด้านการพัฒนาชุมชนและสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาได้พัฒนาด้านทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกษตรล้านนา เกิดจิตสำนึกที่ดีด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจในรูปแบบการจัดโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
75 ร้อยละ 75
KPI 2 : ผู้เข้าร่วมโครงการ (นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
572 คน 572
KPI 3 : ร้อยละที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
75 ร้อยละ 75
KPI 4 : ร้อยละที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกษตรล้านนา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
75 ร้อยละ 75
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาได้พัฒนาด้านทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกษตรล้านนา เกิดจิตสำนึกที่ดีด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ชื่อกิจกรรม :
อาสาพัฒนาชุมชนและสังคม คณะผลิตกรรมการเกษตร 2567

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/08/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อำพล  สอนสระเกษ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิรา  หม่องอ้น (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นงลักษ์  ชูพันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหาร ผู้เข้าร่วมโครงการ 572 คน x คนละ 70 บาท = 40,040 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,040.00 บาท 40,040.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร กล้าพันธุ์กล้วยไม้ เตยด่าง และสับปรดสี (ฝ่ายกิจการพิเศษ คณะผลิตกรรมการเกษตร) = 19,960 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,960.00 บาท 19,960.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 60000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล