20684 : โครงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะของนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การเป็นผู้ประกอบการ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/11/2566 9:58:47
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/11/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  177  คน
รายละเอียด  นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ชั้นปีที่ 1 2 และ 3 สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2567 141,600.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง วาสนา  วรรณคำ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 4. การพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 (Reinventing University)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 67-6.3 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)
ตัวชี้วัด 67-6.3.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 67-6.3.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มา ประยุกต์ใช้สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ได้จัดการเรียนการสอนของแต่ละสาขาวิชาให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของแต่ละแขนงสาขาวิชาอย่างครบถ้วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ โดยส่วนใหญ่การเรียนภาคปฏิบัติจะดำเนินการอยู่ภายในมหาวิทยาลัย เป็นหลัก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษานอกห้องเรียนร่วมด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่จะช่วยพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ และสร้างสรรค์ความคิดใหม่ ๆ จากประสบการณ์ตรงที่ได้รับอันจะเป็นประโยชน์ต่อผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 (พัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม) ภายใต้การดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนพัฒนาส่วนงานในมิติที่ 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing) ที่ให้บุคลากร นักศึกษา บัณฑิตใหม่ที่ยังไม่มีงานทำ และผู้ประกอบการได้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะในการนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือสร้างธุรกิจใหม่ได้ โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ได้กำหนดเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ ในพ.ศ.2570 คือการ “พลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การสร้างบัณฑิตผู้ประกอบการเศรษฐกิจสร้างคุณค่า ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ” ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเรียนการสอนนอกห้องเรียนและการขับเคลื่อนเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ตามตัวชี้วัดของแผนพัฒนาส่วนงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ที่นักศึกษาและบัณฑิตได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ นั้น งานวิชาการ จึงได้จัด “โครงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะของนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การเป็นผู้ประกอบการ” ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา และสร้างเสริมประสบการณ์การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะสู่การเป็นผู้ประกอบการได้ในอนาคต
2. เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 (การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะของนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การเป็นผู้ประกอบการ
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
88 89 คน 177
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะของนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การเป็นผู้ประกอบการ
ชื่อกิจกรรม :
เตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะของนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การเป็นผู้ประกอบการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางวาสนา  วรรณคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา  วัฒนนภาเกษม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมารถ เป็นเงิน 141,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 70,400.00 บาท 71,200.00 บาท 0.00 บาท 141,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 141600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การเข้าศึกษาดูงานอาจไม่ตรงตามกำหนดการที่นัดหมายไว้เนื่องจากการเดินทางไม่สามารถกำหนดเวลาที่ชัดเจนได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ศึกษาเส้นทางที่จะไปศึกษาดูงานและวางแผนจัดสรรเวลาไว้ล่วงหน้า
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล