20648 : โครงการ “บริการวิชาการเพื่องานสร้างสรรค์และพัฒนาวิชาชีพ; สารสนเทศ - แม่แจ่ม การพัฒนาอาชีพยั่งยืน” ประจำปี 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.อุรัชชา สุวพานิช (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/10/2566 17:09:44
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
20/10/2566  ถึง  20/02/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  130  คน
รายละเอียด  1) ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 5 คน 2) สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน-สันเกี๋ยง ๒ และเกษตรกรในชุมชนบ้านแม่ปาน และบ้านสันเกี๋ยง ๒ จำนวน 100 คน 3) ผู้บริหาร/ผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 15 คน 4) นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 10 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินรายได้ โครงการตามแผนยุทธศาสตร์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 2567 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
น.ส. อุรัชชา  สุวพานิช
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67Info-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจ (MOC) (ด้านบริการวิชาการ)
เป้าประสงค์ 67Info-2.5 บริการวิชาการและชี้นำแนวทางต่อการพัฒนาสังคม
ตัวชี้วัด 67Info-2.17 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67Info-2.5.1 คณะฯ ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดผลงานตามความเชี่ยวชาญที่มีประสิทธิภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านสื่อดิจิทัลและส่งเสริมให้บุคลากรของคณะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในกิจกรรมของชุมชนที่มีการใช้สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกลไกในการพัฒนาชุมชนสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจฐานใหญ่ของประเทศ หรือที่เรียกว่า "เศรษฐกิจฐานราก" ซึ่งการจะทำให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางอาหาร และมีรายได้อย่างยั่งยืนบนพื้นที่ของตนเอง จำเป็นต้องสร้างความร่วมมือและอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อบูรณาการนโยบายทางเศรษฐกิจที่ภาครัฐได้วางยุทธศาสตร์และเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ผลักดัน และพัฒนาการดำเนินงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติ ให้เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ศีลธรรม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน โดยการน้อมนำและสืบสานพระราชดำริและศาสตร์แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี มาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ คือ การระเบิดจากข้างใน เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา บนรากฐานของ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ผสานกับรากเหง้าขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ภายใต้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นที่มีอยู่ โดยอาศัยการมีส่วนร่วม คือ การร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตระหนักถึงความสําคัญในบทบาทของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการบริการวิชาการ เพื่อเชื่อมโยงและเผยแพร่ความรู้/องค์ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ สู่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ด้วยการสนับสนุนให้เกิดการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือรูปแบบของการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ที่เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่น ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อีกทั้ง เป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานจากหลายภาคส่วนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะอาชีพ และสร้างความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ สร้างความเข้มแข็งสามัคคีในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติร่วมกัน ในการนี้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้จัดให้มีการดำเนินโครงการ “บริการวิชาการเพื่องานสร้างสรรค์และพัฒนาวิชาชีพ; สารสนเทศ - แม่แจ่ม การพัฒนาอาชีพยั่งยืน” ประจำปี 2567 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมการสร้าง ยกระดับ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่ความเป็น 1 คณะ 1 สัญลักษณ์ของความสำเร็จ (One Faculty one Signature) ตามบทบาทและพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น และสังคม ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกำกับ และสังกัดของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในการสนับสนุนผลักดันการมีส่วนร่วม และสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมการเกษตร เพื่อสร้าง ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความ มั่นคงทางอาหาร สุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น ด้วยความยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing) และพัฒนานักศึกษา/บัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการ และสร้างเสริมความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมกับทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการสร้างภาวะความเป็นผู้ประกอบการให้เกิดขึ้นกับนักศึกษา ผู้ประกอบการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสร้างมูลค่า พัฒนาและยกระดับต่อยอดผลผลิตสินค้าเกษตร สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน
เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปสู่ตลาด (ผู้บริโภค), นักการตลาด, ผู้ค้าปลีก, นักธุรกิจ, ผู้ประกอบการธุรกิจ (Startup), วิสาหกิจขนาดกลาง/ขนาดย่อม (SME) และวิสาหกิจชุมชน
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภาคเอกชน/ภาคประชาชนสู่นักศึกษา เกี่ยวกับแนวคิด หลักการ กระบวนการ และเทคนิควิธี ในการสร้าง พัฒนา และจัดทำแผนธุรกิจ รวมถึงมีโอกาสได้ทดลองนำเสนอผลงาน/สินค้า/ผลิตภัณฑ์ และแผนธุรกิจ ร่วมกับนักธุรกิจ นักลงทุน ผู้ร่วมลงทุน ฯลฯ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แหล่งเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ ด้านการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย และผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
KPI 1 : ชุมชนท้องถิ่นมีผลผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย และผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชิ้น 2
KPI 2 : จำนวนแหล่งเรียนรู้การผลิตอาหารเกษตรปลอดภัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แห่ง 1
KPI 3 : ร้อยละของเกษตรกรในวิสาหกิจชุมชนฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจต่อการแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
85 ร้อยละ 85
ผลผลิต : นักศึกษาและเกษตรกรในชุมชนท้องถิ่น ได้รับความรู้และการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของการเป็นผู้ประกอบการ (Startup)
KPI 1 : สื่อวิดีโอสั้นนำเสนอการขายออนไลน์ของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ชิ้น 5
KPI 2 : ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจต่อการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ ตลอดจนการนำเสนอสินค้าเพื่อการขายในรูปแบบออนไลน์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
85 ร้อยละ 85
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แหล่งเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ ด้านการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย และผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
สํารวจความต้องการรับบริการวิชาการของชุมชนเป้าหมาย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/10/2566 - 25/10/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 1 คน x 1 วัน x 270.- บาท = 270.- บาท
2. ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 1 คน x 1 วัน x 240.- บาท = 240.- บาท
3. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง (สำหรับผู้ปฏิบัติงาน; ไป-กลับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ) จำนวน 1 คัน x 1,104.- บาท = 1,140.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,614.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,614.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1614.00
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อ Upskill และ Reskill การเพิ่ม ยก เปลี่ยนทักษะใหม่ ๆ ในการประกอบธุรกิจเพื่อสังคมชุมชน (Social Enterprise: ES)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/11/2566 - 20/11/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาเช่ารถ(รถตู้) สำหรับวิทยากร จำนวน 1 คัน x 1,800.- บาท x 2 วัน = 3,600.- บาท
2. ค่าที่พัก(วิทยากร) จำนวน 1 ห้อง x 500.- บาท x 3 คืน = 1,500.- บาท
3. ค่าที่พัก(ผู้ปฏิบัติงาน) จำนวน 2 ห้อง x 600.- บาท x 4 คืน = 4,800.- บาท
4. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง (สำหรับผู้ปฏิบัติงาน; ไป-กลับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ) จำนวน 1 คัน x 1,104.- บาท
5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 110 คน x 35.- บาท x 6 มื้อ = 23,100.- บาท
6. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 110 คน x 120.- บาท x 3 มื้อ = 39,600.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
73,704.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 73,704.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. วิทยากร (ภายนอกมิใช่บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน x 15 ชม. X 1,000.- บาท = 15,000.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรถเช่า (รถตู้สำหรับวิทยากร) โดยประมาณการ จำนวน 1 คัน x 1,132.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,132.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,132.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 89836.00
ผลผลิต : นักศึกษาและเกษตรกรในชุมชนท้องถิ่น ได้รับความรู้และการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของการเป็นผู้ประกอบการ (Startup)
ชื่อกิจกรรม :
“IC Start Up” ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ ส่งเสริมอาชีพ และการทำตลาดออนไลน์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/11/2566 - 19/01/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร  เรืองนภากุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กริ่งกาญจน์  เจริญกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน x 35.- บาท x 2 มื้อ = 1,050.- บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 15 คน x 100.- บาท x 1 มื้อ = 1,500.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,550.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,550.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. วิทยากร (ภายนอกมิใช่บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน x 6 ชม. X 1,000.- บาท = 6,000.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 8550.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
นักศึกษามีกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกคณะฯ ค่อนข้างมาก อีกทั้งเวลาในการลงพื้นที่เพื่อเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมฯ ของนักศึกษากับชุมชนไม่สอดประสานกัน ทำให้โอกาสและเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมฯ ของนักศึกษามีช่วงระยะเวลาที่จำกัด
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
จัดกิจกรรมฯ ต่าง ๆ ภายในคณะฯ แทนการนำนักศึกษาเดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรมฯ นอกสถานที่ โดยเชิญวิทยากรและผู้ประกอบการภาคเอกชนเข้าร่วมกิจกรรมฯ กับนักศึกษา
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล