20621 : โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผ้าเคลือบยางกำจัดวัชพืช
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
อาจารย์ ดร.วรวรรณ เพชรอุไร (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/12/2566 17:35:40
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/05/2567  ถึง  30/06/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  15  คน
รายละเอียด   เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 25,700.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วรวรรณ  เพชรอุไร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ มีเครือข่ายความร่วมมือที่ลงสู่การปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรมตามพันธกิจ และมีผลสำเร็จในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 3.1.6 EN67 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันกว่าครึ่งของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วโลกใช้พลาสติกประเภทต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการเพาะปลูกปกติ โดยพลาสติกเพื่อการเกษตร (Plasticulture) ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ ฟิล์มพลาสติกสำหรับคลุมหน้าดิน/โรงเรือน ฟิล์มสำหรับห่อมัดฟ่อนหญ้า นอกจากนี้ยัง รวมไปถึงโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ท่อพลาสติกถุงกระสอบปุ๋ยและอาหารสัตว์อีกด้วย โดยผลิตภัณฑ์จากพลาสติกที่นิยมใช้หรือเห็นกันทั่วไปในแปลงเกษตร คือ พลาสติกคลุมดินป้องกันวัชพืช ซึ่งเป็นฟิล์มพลาสติกที่ใช้คลุมลงบนหน้าดินในแปลงพืช นิยมผลิตจากโพลิเอทิลีน (Polyethylene, PE) ชนิด LDPE LLDPE และ HDPE การปลูกพืชด้วยการใช้ฟิล์มพลาสติกคลุมดินเหมาะกับพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำจำกัดเพราะจะช่วยรักษาอุณหภูมิและความชื้นในดิน ลดการระเหยของน้ำ และช่วยป้องกันไม่ให้วัชพืชเติบโตหรือแย่งน้ำและสารอาหารจากพืชที่กำลังเพาะปลูกอยู่ ฟิล์มที่นำมาใช้อาจมีสีหรือไม่มีก็ได้ ถ้าเป็นฟิล์มดำ (black film) จะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของวัชพืชแต่ไม่ส่งผ่านแสงไปยังดิน ส่วนฟิล์มใส (clear film) แม้ว่าจะส่งผ่านแสงได้ดีแต่ก็จะส่งเสริมให้วัชพืชเติบโต ซึ่งการป้องกันการเกิดวัชพืชโดยใช้พลาสติกคลุมไว้จะช่วยลดแรงงานคนในการกำจัดวัชพืชทางการเกษตรได้อีกด้วย จากประโยชน์ของพลาสติกคลุมดินป้องกันวัชพืชดังที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าพลาสติกคลุมดินป้องกันวัชพืชมีความจำเป็นต่อการเกษตรเป็นอย่างมาก ทำให้เกษตรกรนิยมใช้กันเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มการใช้งานที่เพิ่มขึ้น (มติชนออนไลน์, 2559) อย่างไรก็ตาม พลาสติกคลุมดินป้องกันวัชพืชส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้หรือใช้เวลานานในการย่อยสลาย ดังนั้นเมื่อมีการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น แต่อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้เพียงน้อยครั้ง จึงเกิดปัญหาขยะเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ยังไม่มีวีธีกำจัดได้อย่างถูกวิธี อีกทั้งประสิทธิภาพของพลาสติกคลุมดินป้องกันวัชพืชที่ลดลงตามอายุการใช้งาน เนื่องจากการกรอบจนทำให้เกิดการแตกชำรุดหรือฉีกขาด บางครั้งอาจจะต้องเปลี่ยนใหม่ ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดขยะเหลือทิ้งเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งชาวบ้านหรือเกษตรกรบางคนนำมาเผาเพื่อกำจัดหรือทิ้งถังขยะทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดที่ยังไม่ถูกวิธี จึงทำให้มีปริมาณขยะและเกิดมลพิษจากการเผาขยะพลาสติกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การจัดการด้านการลดปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-used plastics) หรือการลดปริมาณขยะจากพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ผู้วิจัยจึงสนใจจะใช้ยางพาราหรือยางธรรมชาติซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกยางพารากว่า 23 ล้านไร่ และสามารถผลิตยางพาราได้ 4.9 ล้านตันต่อปี สร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศกว่าปีละ 1.5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกยางพาราสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยส่งออกยางพาราในรูปของยางดิบ เช่น ยางคอมพาวนด์ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น มูลค่ากว่า 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (อรมน, 2562) แต่พบว่ามีการนำยางพารามาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศน้อยมากเพียงไม่ถึงร้องละ 10 ของปริมาณการผลิตยางพาราทั้งหมด ดังนั้นหากมีการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ยางพาราภายในประเทศมากขึ้น เช่น การนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางทางการเกษตรเพื่อทดแทนการใช้พลาสติกคลุมดินป้องกันวัชพืช ก็จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางธรรมชาติและยังช่วยลดปริมาณขยะจากพลาสติกได้ โดยจะนำน้ำยางธรรมชาติซึ่งมีสมบัติเด่นด้านความยืดหยุ่น ความเหนียว ความแข็งแรง ทนต่อการฉีดขาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาผสมกับสารเคมีต่าง ๆ และเขม่าดำ ซึ่งมีสมบัติเด่นด้านการป้องกันรังสียูวี แล้วจึงนำน้ำยางผสมสารเคมีหรือน้ำยางคอมพาวนด์ที่ได้มาทาบนผ้าด้ายดิบและทำให้แห้งได้เป็นแผ่นผ้าเคลือบยางป้องกันวัชพืช ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดปริมาณขยะพลาสติกทางการเกษตรและลดการเกิดมลพิษอันเนื่องมาจากการเผาทำลายขยะพลาสติกได้ นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถผลิตแผ่นผ้าเคลือบยางป้องกันวัชพืชไว้ใช้ได้เองในสวนตามขนาดพื้นที่ที่ต้องการ เนื่องจากมีกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน ต่างจากแผ่นฟิล์มพลาสติกคลุมดินป้องกันวัชพืชที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตขั้นสูง ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผ้าเคลือบยางกำจัดวัชพืชแก่เกษตรกร และผู้สนใจ
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้และมีทักษะสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการพึ่งพาตนเองในการทำการเกษตรได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กิจกรรมอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีกการผลิตผ้าเคลือบยางกำจัดวัชพืช
KPI 1 : ผลิตภัณฑ์ผ้าเคลือบยางกำจัดวัชพืช ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 แบบ 2
KPI 2 : เกษตรกรหรือประชาชนผูัสนใจเข้าร่วมโครงการ (ไม่น้อยกว่า)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
15 คน 15
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กิจกรรมอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีกการผลิตผ้าเคลือบยางกำจัดวัชพืช
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีกการผลิตผ้าเคลือบยางกำจัดวัชพืช

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วรวรรณ  เพชรอุไร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,250.00 บาท 0.00 บาท 2,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,050.00 บาท 0.00 บาท 1,050.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 15 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 750 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 750.00 บาท 0.00 บาท 750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ (ภาคบรรยาย) จำนวน 1 คน ๆ ละ 1 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 2 คน ๆ ละ5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,420.00 บาท 0.00 บาท 6,420.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุก่อสร้าง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,830.00 บาท 0.00 บาท 2,830.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 25700.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล