20569 : โครงการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร ปี พ.ศ.2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.เบญจวรรณ จันทร์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/07/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  2000  คน
รายละเอียด  เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร ทั่วประเทศ จำนวน 2,000 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2)) 2567 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ดร. วีร์  พวงเพิกศึก
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-4 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-4.6 จำนวนโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-4.6.2 สนับสนุนการให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการเพาะปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะลักษณะของพื้นที่ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการทำการเกษตรกรรม กล่าวคือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำไหลผ่าน สภาพภูมิอากาศที่มีความเหมาะสม มีปริมาณน้ำฝนที่พอเพียงฝนฤดูกาลเพาะปลูก และมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในท้องถิ่นมีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรและมีวิถีชีวิตผูกพันกับการเพราะปลูก โดยในอดีตเกษตรกรปลูกพืชไว้เพื่อบริโภคเป็นสำคัญ หากเหลือจะเก็บไว้ในยุ้งฉาง หรืออาจนำไปแลกเปลี่ยนกับอาหารและสิ่งของอื่น ๆ บ้างเท่านั้น ต่อมาเมื่อประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น การทำการเกษตรก็ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการปลูกเพื่อการบริโภคมาเป็นเพื่อการค้าขายเพิ่มมากขึ้น และเน้นการส่งออกไปยังคู่ค้าต่างประเทศเป็นหลัก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแรงงานภาคการเกษตรเป็นจำนวนมาก ประกอบกับความเหมาะสมของลักษณะพื้นที่ของประเทศ ทำให้สามารถผลิตสินค้าทางการเกษตรหลายชนิดได้โดยเสียต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตของประเทศอื่น ๆ แนวโน้มการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ปรากฎว่าผลผลิตด้านการเกษตรได้ขยายตัวในอัตราค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ยสามารถขยายผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ในอัตราถึงร้อยละ 5 ต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการขยายตัวการเกษตรของโลกที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.5 ถึง 2.8 ต่อปีเท่านั้น ทำให้มีส่วนเสริมสร้างฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศในระยะที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการแข่งขันในภาคการเกษตรได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ถึงแม้จะมีความคลี่คลาายของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19) แต่พบว่ายังมีปัจจัยอื่น ๆ จากทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมันและค่าขนส่ง ราคาปัจจัยการผลิต การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยและของโลกหรือนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร จึงได้ดำเนินงานจัดทำโครงการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร ปี พ.ศ. 2567 โดยดำเนินการตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567 เพื่อสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ประกอบ (ตัวชี้วัด) และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการทำการเกษตร สำหรับจัดทำผลการวิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร ของประเทศไทย และเผยแพร่ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ในภาคการเกษตรของประเทศไทย
เพื่อเผยแพร่ผลการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ในภาคการเกษตรของประเทศไทยให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : บทความผลการวิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร
KPI 1 : บทความผลการวิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 บทความ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : บทความผลการวิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
รวบรวมข้อมูลดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นภาคการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/07/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 2,000 ชุด ๆ ละ 10 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
อัตราการตอบกลับแบบสอบถามน้อย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานตัวแทนกลุ่มเกษตรกรที่จะเป็นกลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม เพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างครบถ้วนตามจำนวน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล