20380 : จัดทำและอบรมการใช้งาน LINE OA เพื่อบริการนักศึกษา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางนพนิตย์ วงศ์สุ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/6/2567 15:54:34
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
05/06/2567  ถึง  31/08/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  1.บุคลากรสังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา จำนวน 5 คน (ผู้อบรม) 2.ผู้บริหาร จำนวน 2 คน (รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวิเทศสัมพันธ์) 3.วิทยากร จำนวน 1 คน 4.บุคลากรคณะบริหารธุรกิจที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 8,400.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. ธณัฐดา  ธรรมยศ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.2 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาของหลักสูตร
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.2.1 พัฒนาและสนับสนุนนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA67-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ BA67-G-4 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด BA67-KPI-6 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาของหลักสูตร
กลยุทธ์ BA67-S-6 พัฒนาและสนับสนุนนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

คณะบริหารธุรกิจเป็นคณะใหม่ที่ยกฐานะ จากภาควิชาบริหารธุรกิจและการตลาดการเกษตร คณะธุรกิจการเกษตรซึ่งดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปัจจุบัน ได้ผลิต บัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานพัฒนาท้องถิ่น และ ประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการดำเนินการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสิ้น 7 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรปริญญาตรี 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (วิชาเอกการจัดการ วิชาเอกนวัตกรรมการตลาดและการตลาดดิจิทัล วิชาเอกการบริหารการเงินและการลงทุน) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ และหลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต หลักสูตรสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ปัจจุบันมีนักศึกษาอยู่ในสังกัดประมาณ 4,000 คน มีงานบริการการศึกษาและกิจกรรมนักศึกษาเป็นหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ การจัดเรียนการสอน การพัฒนานักศึกษา ตั้งแต่แรกเข้าจนสำเร็จการศึกษา ซึ่งจะมีนักศึกษาติดต่อขอใช้บริการงานต่างๆ เช่น การขอลงทะเบียน การขอเอกสารเพื่อใช้ในการเรียนการสอน คำร้องขอต่างๆ การเข้าร่วมและเก็บชั่วโมงกิจกรรมนักศึกษา สหกิจศึกษา และวิเทศสัมพันธ์การต่างประเทศ เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันนี้ Social Media หรือสื่อออนไลน์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยสื่อสาร หรือการซื้อ-ขายสินค้าที่รวดเร็วทันใจ การขอคำปรึกษาหรือการให้บริการทางการศึกษาก็สามารถดำเนินการผ่านออนไลน์ได้ทันที จากรายงาน Digital Thailand Stat ปี 2564 พบว่าคนไทยใช้โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ถึงร้อยละ 98.9 และออนไลน์ผ่านมือถือวันละ 5 ชั่วโมง 7 นาที ส่วนการใช้ Social media คนไทยมีผู้ใช้ Social Media 78.7% ของจำนวนประชากร ผลสำรวจของ We Are Social ระบุว่า แอปพลิเคชั่นยอดนิยมที่มีการใช้งานสูงสุดของคนไทยคือ LINE ขณะที่อีกหนึ่งผลสำรวจคือ Campaign Asia-Pacific 100 แบรนด์ดีที่สุดในไทยปี 2020พบว่า LINE อยู่อันดับ 8 ในประเทศไทย มีผู้ใช้ LINEเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่น ในปี 2563 มีจำนวนผู้ใช้แอปพลิเคชั่น LINE ถึง 4 ล้านคน เป็นเพศหญิงร้อยละ59 และเพศชายร้อยละ 41 LINE เป็นแอปพลิเคชั่นที่คนไทยใช้มากที่สุดโดยเฉลี่ย 63นาทีต่อวัน เมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้บนสามร์ทโฟน 216นาทีต่อวัน ในปี 2562 LINE ประเทศไทยเปิดตัว LINE Official Account คือบัญชี LINE เพื่อธุรกิจหรือเรียกสั้นๆว่า LINE OA ที่มีวิธีการใช้เหมือนกับ LINE ส่วนตัว คือสามารถคุย ส่งรูปภาพ วิดีโอไปยังผู้ติดตามได้ แต่มีตัวเลือกการใช้งานต่างๆ เพิ่มเติมเข้ามาสำหรับใช้งานในเชิงพาณิชย์ เช่น การส่งข้อความ รูปภาพ วิดีโอถึงผู้รับหลายคนพร้อมกันในครั้งเดียว รวมทั้งมีระบบจัดการข้อความอัตโนมัติ สามารถตั้งค่าตอบกลับอัตโนมัติตามคำสำคัญ (Key word) ผู้ดูแลระบบสามารถคุยกับผู้ติดตามได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม มีระบบเมนูลัดบนหน้าจอที่สามารถให้ผู้ติดตามเข้าไปดูและสามารถเชื่อมต่อเมนู (Rich Menu) ไปยังหน้าต่างอื่นๆที่ผู้ดูแลระบบต้องการได้ ปัจจุบันมีผู้ใช้ LINE OA กว่า 4 ล้านบัญชี นอกจากจะใช้ในเชิงธุรกิจและการค้าแล้ว ปัจจุบันมีการใช้ LINE OA ในทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้กว้างขวาง ดังนั้นงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา จึงสนใจที่จะพัฒนาระบบบริการนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแผนการเรียน การลงทะเบียน คำร้องแบบฟอร์มต่างๆ การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร งานสหกิจศึกษา ผ่านแอปพลิเคชั่น LINE Official Account ในคณะบริหารธุรกิจ ขึ้น เพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างนักศึกษาทุกระดับ กับทีมผู้ให้บริการด้านการศึกษาและกิจกรรมนักศึกษา จะทำให้นักศึกษาได้รับความสะดวกและง่ายขึ้น นักศึกษาสามารถสอบถามข้อมูลกับทีมบริการการศึกษาฯได้โดยตรงแบบรายบุคคล ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย เช่น smartphone, tablet ส่วนทีมบริการการศึกษาฯสามารถส่งข้อมูลข่าวสาร ที่จำเป็นต่อการศึกษาแก่นักศึกษาของคณะบริหารธุรกิจ ที่เป็นผู้ติดตามได้หลากหลายรูปแบบ อีกทั้ง LINE Official Account สามารถเพิ่มผู้ดูแลระบบได้จำนวนมาก จึงทำให้มีผู้ดูแลที่ช่วยกันตอบคำถามแก่ผู้ใช้ได้ตลอดเวลา การได้รับข้อมูล คำแนะนำที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ จะช่วยให้นักศึกษามีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจดูแลตนเอง ได้อย่างเหมาะสม และส่งผลให้สำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมา

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารและการให้บริการนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Digital Transformation
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถนำฟีเจอร์ LINE Official Account ปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : LINE OA เพื่อบริการนักศึกษา
KPI 1 : ระดับความสำเร็จในการนำฟีเจอร์ LINE Official Account ปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
KPI 2 : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 3 : ระดับความพึงพอใจที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : LINE OA เพื่อบริการนักศึกษา
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำและอบรมการใช้งาน LINE OA เพื่อบริการนักศึกษา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/07/2567 - 17/07/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ธณัฐดา  ธรรมยศ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 10 คนๆละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 1,200 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 8400.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล