20363 : โครงการปั้นฝันพยาบาลกับการเป็นผู้ประกอบการ ปีการศึกษา 2566
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางรัตนา กันตีโรจน์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/9/2566 23:21:23
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
18/09/2566  ถึง  18/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  75  คน
รายละเอียด  1. รศ.ดร.เทพ พงษ์พานิช ที่ปรึกษาอธิการบดี 1 คน 2. ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร [Maejo Agro Food Park (MAP)] จำนวน 1 คน 3. วิทยากรจากอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร จำนวน 2 คน 4. วิทยากรภายนอก จำนวน 1 คน 5. คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน 16 คน 6. นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 54 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะพยาบาลศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานการเรียนการสอน งานจัดการศึกษาสาขาพยาบาล กองทุนเพื่อการศึกษา งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามแนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2)-โครงการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษา/บูรณาการเรียนรู้ 2566 6,225.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ บุษกร  ยอดทราย
อาจารย์ อมรเลิศ  พันธ์วัตร์
อาจารย์ หยาดพิรุณ  เสาร์เป็ง
นาง รัตนา  กันตีโรจน์
น.ส. ศกุนตลา  จินดา
น.ส. สาวิตรี  ทิพนี
นาย ศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
นาง มาลี  ล้วนแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพยาบาลศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.13 ทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.8 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.17 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่นการสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.5 บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาที่แลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก MOC
เป้าประสงค์ พยบ66-2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับชาติ
ตัวชี้วัด พยบ66-2.1.3 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ พยบ-2.1 พัฒนาคุณภาพของบัณฑิตตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพการพยาบาล
ตัวชี้วัด พยบ66-2.1.4 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ พยบ-2.1 พัฒนาคุณภาพของบัณฑิตตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพการพยาบาล
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย Reinventing
เป้าประสงค์ พยบ66-4.1 สนับสนุนและขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด พยบ66-4.1.1 บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาที่แลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ พยบ-4.1 สนับสนุน ส่งเสริม และขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี การสร้างนวัตกรรม/การเป็นผู้ประกอบการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อันส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันด้วยรูปแบบธุรกิจใหม่ที่หลากหลายและซับซ้อนขึ้น จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องปรับเปลี่ยน แนวคิดและทักษะในการประกอบธุรกิจใหม่ โดยขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางธุรกิจ แนวโน้มด้านสุขภาพ ได้รับผลกระทบจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเป็นสังคมผู้สูงอายุประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันด้านสาธารณสุข ทำให้นโยบายด้านสุขภาพ และการลงทุนด้านสุขภาพ อุตสาหกรรมยา และเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพเจริญเติบโตมากขึ้น มีผลต่อรูปแบบการดูแลสุขภาพของประชาชน สินค้าด้านสุขภาพจะได้รับความนิยมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลให้บุคลากรสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาชีพการพยาบาลจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมและเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้ และทักษะการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางสังคมในอนาคตเพิ่มขึ้น พยาบาลผู้ประกอบการหรือพยาบาลเจ้าของธุรกิจ (Nurse entrepreneurship) อาจจะเป็นลักษณะ การดูแลหรือให้การพยาบาลโดยตรง การศึกษา การวิจัย การบริหาร หรือการให้คำปรึกษา โดยใช้ ประสบการณ์ด้านการพยาบาลและการศึกษา เพื่อเริ่มต้นธุรกิจของตนเองในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพยาบาล อาจรวมถึงการพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การดูแลผู้ป่วยโดยตรง หรือการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วย การให้ความรู้หรือการเป็นผู้ฝึกอบรมทักษะทางการพยาบาล แก่วิชาชีพอื่น ๆการเปลี่ยนจากพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ สิ่งสำคัญคือต้องมีแนวปฏิบัติที่ดีและความสามารถในการถ่ายโอน ความรู้ ทักษะในการเป็นผู้ดูแลหรือผู้ให้การพยาบาลไปสู่การเป็นผู้นำธุรกิจ การจะทำธุรกิจใด ๆ ควรมีจุดเริ่มต้นจากการรู้จักลูกค้าเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้เราสามารถออกแบบสินค้าและบริการได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า เลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่สามารถเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้ดี รวมถึงสามารถตั้งราคาที่ลูกค้าเป้าหมายยินดีที่จะจ่าย โดยการเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มีขั้นตอนดังนี้ หากลุ่มลูกค้า: กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีหลายแบบ ตัวอย่างเช่น กลุ่มตลาดมวลชน (Mass Market) คือ กลุ่มคนส่วนมาก สินค้าที่นิยมเป้าหมายกลุ่มนี้ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน กลุ่มตลาดเฉพาะ (Niche Market) คือ การเจาะจง กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการแตกต่างจากกลุ่มคนทั่วไปและมีขนาดตลาดไม่มาก หรืออาจเลือกลูกค้าแบบแบ่งกลุ่มตลาด (Segmented Market) ซึ่งเป็นการแบ่งกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการแตกต่างกันออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยผลิตสินค้าและบริการที่แตกต่างกันตามความต้องการและความสามารถในการซื้อและปริมาณลูกค้า เลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย: โดยเลือกจากความน่าสนใจ ขนาด และการเติบโตของแต่ละกลุ่มพร้อมกับประเมินว่าเราสามารถเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ดีมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลได้เข้าใจกระบวนการและสร้างความคุ้นเคยในการนำเสนอแผนธุรกิจแก่แหล่งเงินทุนในอนาคต ผู้จัดจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ และนักศึกษา เพื่อมอบประสบการณ์เสมือนจริงอันเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาที่มีแนวคิดที่จะเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจสุขภาพต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพ
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าใจการกำหนดลูกค้าเป้าหมาย
4. เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง: การรู้จักลูกค้าเป้าหมายธุรกิจสุขภาพ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการและสามารถนำเสนอกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจสุขภาพได้
KPI 1 : นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการกำหนดลูกค้าเป้าหมายธุรกิจสุขภาพที่สนใจ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ค่าเฉลี่ย 3.51
KPI 2 : นักศึกษาได้แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจสุขภาพ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ค่าเฉลี่ย 3.51
KPI 3 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการในภาพรวม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ค่าเฉลี่ย 3.51
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการและสามารถนำเสนอกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจสุขภาพได้
ชื่อกิจกรรม :
โครงการปั้นฝันพยาบาลกับการเป็นผู้ประกอบการ ปีการศึกษา 2566

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/09/2566 - 18/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์บุษกร  ยอดทราย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์อมรเลิศ  พันธ์วัตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์หยาดพิรุณ  เสาร์เป็ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางรัตนา  กันตีโรจน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ศกุนตลา  จินดา (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.สาวิตรี  ทิพนี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 75 คน 1 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,625 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,625.00 บาท 2,625.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน 1 ชม. ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าวิทยากรกลุ่ม จำนวน 4 คน 2 ชม. ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 6225.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
บูรณาการกับ รายวิชา 11701 002 การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านสุขภาพ โดยนำนักศึกษาชั้นปี 2 จำนวน 54 คน ร่วมกิจกรรมในโครงการนี้ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรด้วย
ช่วงเวลา : 18/09/2566 - 18/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล