20311 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการประมง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/8/2566 14:01:19
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
18/08/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของคณะฯ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานบริหารหาวิทยาลัย งานบริหารทั่วไป กองทุนทั่วไป งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 15,000 บาท
2566 15,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วาธิณี  อินทรพงษ์นุวัฒน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 5 การเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย (Income)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 5.1 มีความมั่นคงทางการเงินและเติบโตอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 5.2 จำนวนงบประมาณเงินรายได้
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 5.1.4 เพิ่มรายได้ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการเอื้อหรือส่งเสริมให้มีการใช้องค์ความรู้ของคณาจารย์และบุคลากรหน่วยงานในการสร้างรายได้ให้กับหน่วยงานนั้น ๆ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-66-6 การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ / อัตลักษณ์ / ภารกิจเฉพาะของส่วนงาน
เป้าประสงค์ FT-66-6.1 พัฒนาอัตลักษณ์ตามจุดเน้นของคณะ
ตัวชี้วัด FT-66-6-2 จำนวนผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
กลยุทธ์ FT-66-6.1.1 พัฒนากระบวนการการผลิตสัตว์น้ำ ปรับปรุงสายพันธุ์สัตว์น้ำ และสร้าง product champion เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นกลไกสำคัญในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่ แตกต่างและหลากหลายออกสู่ท้องตลาด โดยอาศัยความต้องการของผู้บริโภคเป็นพื้นฐาน เช่น ความสะดวกในการเตรียมและการบริโภค การลดระดับความหวาน ความมันและความเค็มด้วยการลดปริมาณน้ำตาล น้ำมันและเกลือหรือใช้สารทดแทนในส่วนประกอบ การเพิ่มภาชนะบรรจุชั้นที่ 2 เพื่อเพิ่มความหนาแน่นและแข็งแรงต่อการขนย้าย เป็นต้น การวิจัยและพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยการข้อเท็จจริงซึ่งได้จากการสำรวจตลาดและกลุ่มผู้บริโภค สู่การนำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถจำแนกตามความสัมพันธ์ทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ผลิตภัณฑ์จากสายการผลิตใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่จากการขยายสายการผลิต ผลิตภัณฑ์ปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ใหม่จากการลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น โดยการปรับเปลี่ยนสูตรการผลิต กระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ การขนส่งและการบริการ รูปแบบผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่จำหน่ายในประเทศไทย พบว่า เนื้อปลาแล่แช่แข็งได้รับความนิยมเป็นอันดับแรก ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและให้ประโยชน์พิเศษต่อร่างกาย เช่น อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง โซเดียมต่ำ ไขมันต่ำ พลังงานต่ำ มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีการเสริมคอลลาเจน วิตามินและแร่ธาตุ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมานี้ เกิดจากความต้องการของผู้บริโภคร่วมกับความรู้ทางด้านโภชนาการ ความปลอดภัยของอาหาร สภาวะสุขภาพ และเทคโนโลยีที่สามารถผลิตอาหารด้วยส่วนผสมและกรรมวิธีพิเศษ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำได้มีการจัดทำโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เพื่อพัฒนาสู่การหารายได้ในอนาคต โดยบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลผลิตจากการเรียนรู้ในกระบวนการรายวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง และรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่ โดยรายละเอียดโครงการในการพัฒนา มีดังต่อไปนี้ 1) การวางแผนธุรกิจสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยนำเสนอแผนธุรกิจ ได้แก่ ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ ความเป็นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ SWOT และ Business Model Canvas (BMC) คู่แข่งทางการตลาด สูตรและวิธีการผลิต 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสูตรและกระบวนการผลิตจากข้อมูลที่ได้ค้นคว้า 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการปรับเปลี่ยนสูตร กระบวนการผลิตและภาชนะบรรจุที่สอดคล้องตามความต้องการของผู้บริโภคและผู้ผลิต 4) การผลิตและจำหน่ายสินค้าในท้องตลาดผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ และการรับข้อเสนอแนะจากกลุ่มลูกค้าเพื่อใช้ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ 5) การนำเสนอแผนธุรกิจฉบับปรับปรุง ได้แก่ สูตรการผลิตและวิธีการผลิต ผลประกอบการจากการจำหน่าย ต้นทุนการผลิต และข้อเสนอแนะจากลูกค้า นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริง โดยมีคณาจารย์ และบุคลากรที่มีความรู้เป็นที่ปรึกษา มีเครือข่ายกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกในการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และสามารถต่อยอดสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์จะมีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ภายใต้แบรนด์ของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ
เพื่อให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำมาใช้ในการฝึกปฏิบัติจริง มีการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน และมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกในการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์
เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สร้างอัตลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เพื่อพัฒนาสู่การหารายได้ในอนาคต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้านแปรรูปสัตว์น้ำ
KPI 1 : ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 50 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาต่อการเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
KPI 3 : ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละของคณาจารย์และบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 2 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ผลิตภัณฑ์ 5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้านแปรรูปสัตว์น้ำ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการประมง
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสูตรและกระบวนการผลิตจากข้อมูล 1 ครั้ง
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการปรับเปลี่ยนสูตร กระบวนการผลิตและภาชนะบรรจุตามความต้องการของผู้บริโภค 1 ครั้ง
- การผลิตและจำหน่ายสินค้าในท้องตลาดผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ 2 ครั้ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/08/2566 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วาธิณี  อินทรพงษ์นุวัฒน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.นงพงา  แสงเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่ ค่าสติกเกอร์โลโก้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 8 แผ่นๆ ละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 480 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 480.00 บาท 480.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว ได้แก่ ค่าเนื้อปลา เครื่องปรุงรส ถุงและกล่องพลาสติก ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,520.00 บาท 14,520.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล