20253 : โครงการออกแบบกระบวนการผลิตคราฟโซดาให้ได้มาตรฐาน เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีธรรมชาติ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/7/2566 14:01:10
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/08/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  สมาชิกวิสาหกิจชุมชนฮักแป้ออร์แกนิก
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน (ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 145,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิชญาพร  อายุมั่น
อาจารย์ ดร. วิลาสินี  บุญธรรม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.9 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.4 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิเศษ
เป้าประสงค์ 66-6.5 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)
ตัวชี้วัด 66-6.5.6 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ 66-6.5.6.1ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมระหว่างภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วิสาหกิจชุมชนฮักแป้ออแกนิคฟาร์ม เกิดจากกลุ่มคนในชุมชนที่มีความผูกพันและมีวิถีชีวิตร่วมกันทั้ง 8 อำเภอของจังหวัดแพร่ มารวมตัวกัน เริ่มจากการเป็นนักกิจกรรมนิเวศสมดุลสร้างสรรค์ต้องการเปลี่ยนพื้นที่ทางการเกษตรเคมีเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ทฤษฎีปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อการอนุรักษ์และคงสภาพทรัพยากรธรรมชาติของป่าเดิมให้คงอยู่ สู่การประกอบกิจการผลิตและจำหน่าย Draft และ Craft Soda เพื่อให้เป็นเครื่องดื่มภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมสมัยที่มีมูลค่าสูง สร้างรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมีแนวคิดในการใช้วัตถุดิบจากป่า เช่น เห็ด ผัก ผลไม้ ดอกไม้ สมุนไพร เครื่องเทศ ธัญพืช ชา กาแฟ โกโก้ ฯลฯ ในการผลิตเครื่องดื่ม เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ป่าจากการใช้ประโยชน์จากป่า เกิดการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนร่วมกับการสร้างนิเวศน์สมดุลของป่าตามแนวทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model โดยเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนฮักแป้ออแกนิคฟาร์ม คือ การอนุรักษ์ป่าเพื่อเป็นคลังวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่ม สร้างแหล่งต้นน้ำและกักเก็บคาร์บอน เพิ่มพื้นที่สีเขียว ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อการผลิตเครื่องดื่มอย่างปลอดภัย โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน และยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป สู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องดื่ม Draft & Craft Soda ที่ยั่งยืนของจังหวัดแพร่ เครื่องดื่ม Draft & Craft Soda เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ได้จากการหมักน้ำผลไม้ด้วยเชื้อจุลินทรีย์ในธรรมชาติ เป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำ (ร้อยละ 3.0-8.5) มีความเป็นกรดอ่อน คือ มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากกรดมาลิกและกรดแลกติก รวมทั้งอุดมไปด้วยสารประกอบฟีโนลิก สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและเกลือแร่ มีกลิ่นรสผลไม้ มีรสออกหวาน โดยปกติไม่มีการเติมสารเพิ่มความหวาน แต่เป็นรสชาติที่มาจากน้ำผลไม้ ในกระบวนการผลิต Draft & Craft Soda ของวิสาหกิจชุมชนฮักแป้ออแกนิคฟาร์มประกอบด้วยขั้นตอนการหมักที่สำคัญ 2 ขั้นตอน คือ การหมักระยะแรก ได้จากการนำผลไม้ (มะกอกป่า) มาหมักโดยใช้อัตราส่วนผลไม้:น้ำ:น้ำตาล 1:1:1 หมักที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลาประมาณ 5-10 วัน เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลในผลไม้ให้เป็นแอลกอฮอล์โดยยีสต์ที่มีในธรรมชาติที่ติดมากับผิวผลไม้ จากนั้นนำบ๊วยมาหมักโดยใช้อัตราส่วนบ๊วย:น้ำ:น้ำตาล 1:1:1 หมักที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 5-10 วัน เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลในผลไม้ให้เป็นแอลกอฮอล์โดยยีสต์ที่มีในธรรมชาติที่ติดมากับผิวผลไม้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ทางคณะวิจัยจะดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน เพื่อควบคุมการปนเปื้อนข้ามที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการผลิต ด้วยการจัดทำระบบมาตรฐาน GMP ของกระบวนการผลิตให้กับวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว และเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการรองรับตลาดต่างประเทศในอนาคตอีกด้วย ซึ่งจากความร่วมมือระหว่างคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติกับวิสาหกิจชุมชนฮักแป้ออร์แกนิกถือเป็นความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการกับมหาวิทยาลัยฯ ในการทำวิจัยร่วมกันเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากนักวิจัยในมหาวิทยาลัยไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้การรับรองมาตรฐานเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2 เพื่อลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียในผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้เป็นเวลานาน ไม่เสียในระหว่างการขนส่ง
3 เพื่อเป็นการส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการออกแบบกระบวนการผลิตคราฟโซดาให้ได้มาตรฐาน เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีธรรมชาติ
KPI 1 : ผลิตภัณฑ์ได้ทำการยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 2 : สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบ online ได้มากขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ร้อยละ 20
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้นจากเดิม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ร้อยละ 20
KPI 5 : ผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานสามารถจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
145000 บาท 145000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการออกแบบกระบวนการผลิตคราฟโซดาให้ได้มาตรฐาน เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีธรรมชาติ
ชื่อกิจกรรม :
การออกแบบกระบวนการผลิตคราฟโซดาให้ได้มาตรฐาน เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีธรรมชาติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร  อายุมั่น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วิลาสินี  บุญธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง รถยนต์ส่วนตัว จำนวน 1 ครั้ง ๆ ละ 350 กิโลเมตร ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
2. ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ตรวจสอบ จำนวน 1 งานๆละ 40,000 บาท เป็นเงิน 40,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและทดสอบผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 งานๆละ 25,000 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารรายงาน จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 67,900.00 บาท 67,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนการปฏิบัติราชการนอกเวลา (วันธรรมดา) จำนวน 2 คน ๆ ละ 25 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. วัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 30,500 บาท
2. วัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 20,000 บาท
3. วัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 52,600.00 บาท 52,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
1. ค่าสาธารณูปโภคของหน่วยงาน (ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินโครงการ) เป็นเงิน 14,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,500.00 บาท 14,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 145000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา ทช 331 เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการผลิตอาหาร ส่วนหัวข้อ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพของกระบวนการผลิตเครื่องดื่มประเภทคราฟโซดาจากสถานที่จริงและกระบวนการผลิตจริง
ช่วงเวลา : 01/06/2566 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล