20172 : โครงการกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันภัยไข้เลือดออก
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/7/2566 11:58:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
03/07/2566  ถึง  29/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเป้าหมาย และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน กิจกรรมสนับสนุนการบริหารจัดการทั่วไป แผนงานการเรียนการสอน งานสนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.จำนวน 10,000 บาท 2566 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง ณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จอมสุดา  ดวงวงษา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.14 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-66-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-66-2.1 ผลิตบัณฑิตให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพ และส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด FT-66-2-8 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ FT-66-2.1.5 พัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพในสาขาวิชาและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานสังกัดสถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมด้านการเรียนการสอน การให้บริการวิชาการและวิจัย เพื่อรองรับการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการประมงนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนตามขั้นตอนของหลักสูตร มุ่งเน้นความต้องการที่สอดรับกับการพัฒนาสังคมอย่างรู้เท่าทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพในสาขาวิชาและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสร้างความเป็นผู้ประกอบการ ตามบริบทของแต่ละหน่วยงาน ว่าด้วยการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตรและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการเกษตรเพื่อเป็นที่พึ่งของตนเองและสังคม ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555 – 2569) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ คณะฯ จึงให้ความสำคัญกับปัญหา โรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยใช้การกำจัดวงจรชีวิตของยุงที่อาศัยระบบนิเวศในแหล่งน้ำที่มีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนในระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม มาตรการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยวิธี "ชีววิธี" (Biocontrol) จึงถูกนำมาใช้ในการกำจัดไข่ยุง โดยการเลือกใช้ปลากินยุงที่เพาะและขยายพันธุ์ได้ง่าย ในระยะเวลาสั้นๆ จึงเป็นทางเลือกทางหนึ่งที่สำคัญและยั่งยืน ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก อีกทั้งยังสามารถลดการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายอันจะส่งผลอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแบบประหยัดต้นทุนได้ กลุ่มปลากินยุง เป็นชนิดปลาที่มีขนาดเล็ก แพร่ขยายพันธุ์ได้ง่าย มีอัตรารอดสูง เจริญเติบโตได้ในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำปานกลาง - ดีมาก สามารถมีชีวิตอยู่ได้ทั้งใน น้ำสะอาด และ น้ำสกปรก ในธรรมชาติจะพบได้ทั่วไปตาม ลำห้วย หนองน้ำ สระน้ำ และ อ่าง เก็บน้ำ ชนิดที่นิยมได้แก่ ปลาแกมบูเซีย Gambusia affinis ปลาหางนกยูง Poecilia reticulata ปลาสอด Poecilia latipinna โดยปกติลักาณะสำคัญของกลุ่มปลากินยุง คือ เป็นชนิดที่ออกลูกเป็นตัว ลูกปลามีขนาดยาวประมาณ และสามารถกินลูกน้ำ(ลูกยุง)ได้ทันที โดยสามารถกินได้หลายร้อยตัวต่อวัน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ประมาณ 1.5 – 2 เท่า วงจรชีวิตอยู่ระหว่าง 12 – 15 เดือน นอกจากกำจัดลูกน้ำยุงแล้ว ชนิดปลาเหล่านี้ยังกินแพลงก์ตอนพืชหรือสัตว์ ตะไคร่น้ำ ไดอะตอม ตัวอ่อนแมลงต่าง ๆ ได้ด้วย ดังนั้นคณะฯ และสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ จึงเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการนำองค์ความรู้ทางด้านการประมง เช่น รายวิชาหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รายวิชาการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเบื้องต้น มาบูรณาการกับกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่สอดคล้องกับคุณสมบัติของบัณฑิตที่พึ่งประสงค์ บูรณาการร่วมกับการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมเพื่อเป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา ในรูปแบบการฝึกปฏิบัติการนอกห้องเรียน ปีงบประมาณ 2566 คณะเทคโนโลยีการประมงฯ จึงได้จัดทำ “โครงการกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันภัยไข้เลือดออก” โดยมุ่งหวังให้เกิดการบริการวิชาการแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างผู้สอน (คณาจารย์ และบุคลากรของคณะฯ) ผู้เรียน (นักศึกษาสังกัดคณะฯ นิสิตและนักเรียนจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ) และผู้รับบริการจากหน่วยงานภายนอก (เกษตรกร สมาชิกกลุ่มงานเครือข่ายชุมชน และผู้สนใจทั่วไป) ได้รับความรู้ด้านการประมง เรียนรู้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมทางการประมง เกิดทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรมีการบูรณาการกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในในด้านการเรียนการสอนหรืองานวิจัยและการให้บริการวิชาการ
เพื่อเพาะขยายพันธุ์ปลากินยุงและส่งเสริมความรู้ให้กับชุมชนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาและผู้รับบริการจากโครงการสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างยั่งยืน
KPI 1 : ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : สำหรับนักศึกษา ระดับคะแนนประโยชน์หรือผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการจากการเข้าร่วมโครงการต่อการเรียน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
KPI 3 : จำนวนรายวิชาของคณะฯที่ร่วมบูรณาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายวิชา 2
KPI 4 : ร้อยละของจำนวนนักศึกษาสังกัดคณะฯ เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการ (จากจำนวน 30 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : สำหรับเครือข่ายงาน ระดับคะแนนประโยชน์และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และหรือกิจกรรมด้านการประมงต่อการพัฒนาหน่วยงาน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
KPI 6 : จำนวนครั้งในการออกพื้นที่ดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการในพื้นที่เป้าหมาย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ครั้ง 2
KPI 7 : จำนวนเครือข่าย/หน่วยงานภายนอกที่ร่วมบูรณาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 หน่วยงาน 1
KPI 8 : ระดับคะแนนความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดโครงการ/กิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
KPI 9 : ร้อยละของจำนวนผู้รับบริการจากหน่วยงานภายนอก (จากจำนวน 50 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาและผู้รับบริการจากโครงการสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างยั่งยืน
ชื่อกิจกรรม :
โครงการกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันภัยไข้เลือดออก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 05/07/2566 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.น้ำเพชร  ประกอบศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุการเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุก่อสร้าง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
จำนวนผู้เข้ารับบริการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
เกิดปัญหาเรื่องโรคกับลูกพันธุ์ปลาที่จัดเตรียมไว้ส่งผลให้มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมความรู้และสนับสนุนลูกพันธุ์ปลาให้กับเครือข่ายงานและผู้รับบริการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานงานเครือข่ายงานจากการดำเนินงานของคณะกรรมการบริการวิชาการดำเนินงานตามแผนหน่วยงานหรือชุมชนผู้รับบริการ
จัดเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์และเพิ่มระบบการจัดการเรื่องสุขภาพสัตว์น้ำให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล