20017 : การยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี นวัตกรรมเกษตรและอาหารขั้นสูง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.ประทีปชล ชัยเลิศ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
28/02/2566  ถึง  27/02/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  1. ผู้ประกอบการ/ภาคเอกชนที่ต้องการนำผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา งานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวทิยาลัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ 2. นักวิจัย นักศึกษา บุคลากร ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจทั่วไปที่เได้รับองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 3. เจ้าของผลงานนวัตกรรมได้รับการจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชต่างประเทศ 4. บุคลากรปฏิบัติงานส่วนงานได้รับการขึ้นทะเบียนตัวแทนสิทธิบัตร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น สำนักงานมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณภายใต้โปรแกรม 25 แผนงานย่อยพัฒนาระบบและกลไกสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศ ววน.
แผนงานย่อยรายประเด็น "แผนงานพัฒนาระบบ ววน. ในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพลิกโฉมมหาวิทยาลัย"
2566 6,000,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ  ไชยชนะ
อาจารย์ ดร. กัลย์  กัลยาณมิตร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวุฒิ  ดุษฎี
รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล  ทองมา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร
ฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.6 ระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา (Reinventing University) คือ การปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษาให้สามารถจัดการศึกษา วิจัย และผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศตามศักยภาพและความถนัด เพื่อเป็นหัวจักรในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่ ความยั่งยืน สิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องทำคือการปฏิรูประบบการบริหาร ปรับเปลี่ยนหลักสูตรและการเรียนการสอนให้ทันสมัย ผลิตกำลังคนคุณภาพสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีปัญญาและคุณธรรม ยกระดับการวิจัยและสร้างนวัตกรรมให้มีความเป็นเลิศ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการของบัณฑิต (Entrepreneur) และเพิ่มโอกาส “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” ของคนทุกช่วงวัย เพื่อตอบสนองนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และทิศทางการพัฒนาอุดมศึกษาปของกระทรวง อว. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดทำแผนพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย และได้เสนอตัวพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่สถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 2 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ตามความเชี่ยวชาญและยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ภายใต้การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ ผ่านการพัฒนาข้อเสนอโครงการการยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรและอาหารขั้นสูงนี้ขึ้น โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับงบประมาณด้านการวิจัยย้อนหลัง 5 ปี รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 886,224,034.- บาท และเพื่อเป็นการสร้างความเป็นเลิศในการพัฒนาสู่สถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 2 ตามยุทธศาสตร์และพันธกิจหลักที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กำหนดจุดเน้นในการพัฒนาที่สอดคล้องกับประเด็นแผนแม่บทในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 13 และแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ของกระทรวง อว. คือ การผลิตบัณฑิตผู้ประกอบการฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก 8 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1) เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร (Agri. Tech and Innovation) ซึ่งประกอบด้วยประเด็นย่อย ได้แก่  เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy : BCG)  อาหารและสุขภาพ (Food and Health)  ความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Biodiversity and Sustainable)  การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนและผู้ประกอบการ ทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ (Technology Transfer)  การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Tech & Innovation Ecosystem) 2) การผลิตบัณฑิตผู้ประกอบการนักปฏิบัติ (Entrepreneurship and Hands on students) ซึ่งประกอบด้วยประเด็นย่อย ได้แก่  การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ ทั้งผู้ประกอบการใหม่ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และผู้ประกอบการเดิม (Entrepreneur)  การสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)  การผลิตบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติ ด้วยการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นทั้งในห้องปฏิบัติการและฟาร์มที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการจริง (Hands on Learning) โดยมีกรอบแนวคิดในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบเพื่อดำเนินการยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรและอาหารขั้นสูง โดยเริ่มจากการวางยุทธศาสตร์ ดังนี้ ด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ดี (IP Strategy) โดยเริ่มจากการสร้างสรรค์งานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ผ่านการร่วมกับหน่วยงานต้นน้ำที่รับผิดชอบการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ได้แก่สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร และคณะ วิทยาลัย ต่างๆ เพื่อดำเนินการในกิจกรรมดังนี้ ส่วนที่ 1 กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมอันเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาและ การสร้างความตระหนักเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาทั้งภายในและภายนอกองค์กร กิจกรรมสร้างความตระหนักในการใช้และการสร้างผลงานอันมีทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นที่เข้าใจอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิจัย นักศึกษา และผู้ประกอบการ ที่มีบทบาทในฐานะเป็นทั้งผู้ใช้ และ ผู้สร้างสรรค์ การสร้างความตระหนักในเรื่องของการละเมิด ข้อควรระวัง ตลอดจนการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคุ้มค่าของการลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาไปสู่การตลาดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม กิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละปี ดังนี้ 1) กิจกรรมคัดกรองงานวิจัยที่มีศักยภาพ (IP Audit) ร่วมกับหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเพื่อจัดทำ IP Portfolio เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการ เพื่อต้องการทราบต้นทุนงานวิจัย ผู้มีส่วนร่วมนำไปสู่การดำเนินการด้าน IP Clearance และวางกลยุทธ์ IP Strategy ไปสู่การคุ้มครองอย่างเหมาะสม รวมไปถึงวางแนวทางใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีอย่างไร เช่นการใช้ประโยชน์ในเชิงสังคม การใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ 2) กิจกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากทรัพย์สินทางปัญญา การฝึกทักษะการคิดที่นอกเหนือจากกรอบแนวคิดการวิจัยเดิมเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมได้แก่ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่จะมาฝึกฝนทักษะการคิดแบบนวัตกร โดยใช้ฐานความรู้จากทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการปกป้องแต่ละประเภท ส่วนที่ 2 IP Protection เป็นกระบวนการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้เหมาะสม 1) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ ความแตกต่าง ความคุ้มค่าทั้งเวลาและงบประมาณ 2) การให้บริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์/เครื่องหมายการค้า/พันธุ์พืชใหม่ ให้แก่ มหาวิทยาลัย นักศึกษา บุคลากร นักวิจัย อาจารย์ และผู้ประกอบการ 3) การติดตาม ตรวจสอบ สถานะของทรัพย์สินทางปัญญาจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาจนจบกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสม ส่วนที่ 3 Utilization การผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 1) การประเมินศักยภาพของ IP ประเภทต่างๆ และการประเมินระดับความพร้อมของเทคโนโลยี เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ด้านการใช้ประโยชน์ 2) การคิดรูปแบบธุรกิจสำหรับเทคโนโลยีแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับธุรกิจและการลงทุน 3) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับการเจรจากับภาคเอกชนที่สนใจนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือการประเมินมูลค่าเพื่อการลงทุนในการปรับปรุง/พัฒนาต่อยอดนวัตกรรม 4) การเจรจาต่อรองกับผู้ที่จะนำงานทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 5) การจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว 6) การจับคู่ธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมในการถ่ายทอดรวมทั้งการจัดทำต้นแบบเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาด 7) การเข้าร่วมแสดงนิทรรศการ แสดงผลงาน เพื่อหาผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือหาผู้ร่วมลงทุน ตลอดจนหาผู้ร่วมโครงการทำวิจัยเพื่อต่อยอดเพิ่มเติมจากองค์ความรู้เดิม 8) การพัฒนาแนวทางการอนุญาตให้ใช้สิทธิกับผู้ประกอบการใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมการบ่มเพาะกับอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วางแนวทางการพัฒนารูปแบบ (Business Model) ให้เกิดประโยชน์กับทั้งหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยศึกษาความเป็นไปได้ของงานวิจัยที่มีศักยภาพและมีความพร้อมพัฒนาไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง จากนั้นจึงหาผู้ประกอบการใหม่ที่พร้อมรับงานวิจัยดังกล่าวไปสร้างธุรกิจใหม่ (Startup) โดยผู้ประกอบการรับอนุญาตใช้สิทธิจากมหาวิทยาลัยผ่านอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ โดยยกเว้นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเปิดเผยการประดิษฐ์ในช่วงแรกที่ผู้ประกอบการต้องเข้ารับการบ่มเพาะจากอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ภายหลังผู้ประกอบการเข้มแข็งและ Spinoff ออกไปแล้วจึงค่อยจ่ายค่าธรรมเนียม (Royalty) ในอัตราที่พอสมควรในระยะเวลา หนึ่งกลับมาให้แก่มหาวิทยาลัย ส่วนที่ 4 enforcement การบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การให้คำปรึกษาเบื้องต้นในการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยการทำหนังสือแจ้งเตือน และส่งต่อไปยังส่วนงานทางด้านกฎหมายทั้งในมหาวิทยาลัย และส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกทั้งการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญในการดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการสร้างและสะสมองค์ความรู้ในด้านเป้าหมายต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยตลอดเวลา และพัฒนาประเทศจากประเทศที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการตามภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมมาเป็นระยะเวลากว่า 17 ปี เริ่มตั้งแต่ก่อตั้งเป็นสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจในปี พ.ศ. 2548 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เดิม และเริ่มบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญามาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 โดยฝ่ายจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (Technology Licensing Office; TLO) ภายใต้นโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาผ่านระเบียบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการบริหารและจัดการทรัพย์สินทางปัญญาฉบับแรกในปี พ.ศ. 2553 และได้ปรับเปลี่ยนเป็นข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการบริหารและจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565 เพื่อให้เนื้อหาสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและรองรับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นให้เกิดความถูกต้องเหมาะสม เป็นประโยชน์ และเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2560-2564) ผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ส่งผลให้เกิดการคุ้มครองสิทธิในสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร รวม 154 คำขอ ลิขสิทธิ์ 380 เรื่อง พันธุ์พืชใหม่ 29 พันธุ์ และเครื่องหมายการค้า 37 คำขอ ทำให้เกิดการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยีไปสู่ภาคเอกชน 27 เรื่อง 31 สัญญา เกิดรายได้จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิรวม 3,983,634 บาท ในขณะเดียวกัน ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ได้เชื่อมโยงการทำงานกับภาคเอกชนในลักษณะการลงทุนวิจัยร่วม (University-Industry Linkage; UIL) จำนวน 39 โครงการ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ได้สนับสนุนงบประมาณรวม 5,462,100 บาท และผู้ประกอบการสนับสนุนงบประมาณในรูปเงินสด (In-Cash) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,025,500 บาท และสนับสนุนงบประมาณในลักษระเทียบเท่าเงินสด (In-Kind) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 7,265,500 บาท ข้อมูลย้อนหลังด้าน Technology/Business Incubation & Technology Transfer และ Innovation-driven enterprise (IDE) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการตามภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมมาเป็นระยะเวลากว่า 17 ปี โดยมหาวิทยาลัยได้เริ่มตั้งแต่ก่อตั้งเป็นสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจในปี พ.ศ. 2548 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เดิม โดยทำหน้าที่บ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่จากฐานงานวิจัยและนวัตกรรม (Business Incubator; BI) จากทั้งกลุ่มนักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคลากร ผ่านการสนับสนุนจากหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator; UBI) และกลุ่มบุคคลทั่วไป ผ่านการสนับสนุนจากแพลตฟอร์มบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (Technology Business Incubator; TBI) ส่งผลให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีประสบการณ์ด้านการบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง ช่วยส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมของผู้ประกอบการในภาพรวมตั้งแต่การสร้างความตระหนักให้นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป การคัดสรรส่งเสริมสนับสนุนทั้งใน ลักษณะ in-cash และ in-kind ด้านการพัฒนาธุรกิจและด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (Technology Licensing Office; TLO) ภายใต้กระบวนการบ่มเพาะภายในระยะเวลา 3-5 ปี การบ่มเพาะผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งเน้นให้เกิดความเป็นเลิศตาม core competency ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ด้านการเกษตรและต่อเชื่อมไปถึงอาหาร ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2560-2564) ผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งผลให้เกิดผู้ประกอบการทั้งจาก UBI และ TBI รวม 28 ราย แบ่งเป็นนักศึกษาปัจจุบัน 4 ราย ศิษย์เก่า 5 ราย บุคคลทั่วไป 16 ราย และวิสาหกิจชุมชน 3 ชุมชน ทำให้เกิดรายได้รวม 84,415,776.23 บาท การจ้างงาน 89 ราย การลงทุนเพิ่ม 23,955,480 บาท 38,638,827 บาท เกิดสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างมหาวิทยาลัยกับผู้ประกอบการ 11 สัญญา และเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยไปสู่ผู้ประกอบการ 18 ผลงาน จากการได้รับงบประมาณภายใต้โปรแกรม 16 โครงการปฏิรูประบบ อววน. แผนงานย่อย “การพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนขั้นสูง” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และงบประมาณภายใต้โปรแกรม 16 แผนงานวิจัยด้านการยกระดับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษาแผนงานย่อย “การพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนขั้นสูง ด้าน ววน. เพื่อการขับเคลื่อนการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษาตามกลุ่มยุทธศาสตร์” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มุ่งพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรและอาหาร ผ่านกระบวนการสร้างและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยให้มีทักษะด้านการเป็นผู้ประกอบการที่สามารถเชื่อมโยงงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยออกสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ ก่อให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ที่ได้รับการพัฒนาด้านธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการพัฒนาถึง 2,200 ราย และเกิด50 ธุรกิจใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบ ผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์จากโครงการที่เข้าร่วมปีงบประมาณ 2560 - 2564 1. มูลค่าการลงทุนทำวิจัยของเอกชน คิดเป็นมูลค่า 720,000 บาท 2. ภาคเอกชนมีการขยายหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นภายในบริษัท เป็นจำนวน 1 ราย 3. จำนวนแรงงานที่ภาคเอกชนมีการลงทุนการจ้างงานเพิ่มขึ้น 2 ราย 4. ภาคเอกชนมีการลงทุนการจ้างงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า 540,000 บาท

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
การเสริมสร้างกลไก (Mechanism) ระบบการนำผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) จากองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสร้างผู้ประกอบการใหม่ พร้อมทั้งเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Core Culture) ในการพัฒนาผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม - เศรษฐกิจ และสามารถยกระดับขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของประเทศ
เพื่อผลักดันงานวิจัยที่อยู่ในมหาวิทยาลัยให้มีการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผ่านการสร้างความตระหนักด้านการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่บุคลากรและส่วนงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัย
เพื่อสร้างกำลังคนและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ให้ตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และการพัฒนาทักษะบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
เพื่อส่งเสริมการนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Area based Innovation for Community)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ระบบนิเวศนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ภายใต้ Platform กลางของมหาวิทยาลัย
KPI 1 : ระบบนิเวศนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ภายใต้ Platform กลางของมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 1 1 ระบบ 1
ผลผลิต : การจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย
KPI 1 : พันธุ์พืชที่มีการจดสิทธิบัตรต่างประเทศ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 2 ผลงาน 2
KPI 2 : บริษัท/หน่วยงาน ที่จัดทำความร่วมมือ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 หน่วยงาน/บริษัท 3
ผลผลิต : การพัฒนากำลังคนด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
KPI 1 : บุคลากรปฏิบัติงานส่วนงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตัวแทนสิทธิบัตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 3 3 คน 3
KPI 2 : นักวิจัย นักศึกษา บุคลากร ที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 40 40 คน 120
ผลผลิต : การนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน Area-based Innovation for Community
KPI 1 : การนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
6 6 6 ผลงาน 6
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ระบบนิเวศนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ภายใต้ Platform กลางของมหาวิทยาลัย
ชื่อกิจกรรม :
1. การยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ภายใต้ Platform กลางของมหาวิทยาลัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ  ไชยชนะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและประสานงาน จำนวน 1 คน x 5 เดือน x 15,000 บาท เป็นเงิน 75,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและประสานงาน จำนวน 2 คน x 11 เดือน x 15,000 บาท เป็นเงิน 330,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 100 บาท x 30 คน จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 9,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 30 คน จำนวน 6 ครั้ง
เป็นเงิน 6,300 บาท
- ค่าเดินทางครั้งละ 10,000 บาท จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 3 คน
เป็นเงิน 90,000 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บาท 3 วัน 3 คน จำนวน 3 ครั้ง 6,480 บาท
- ค่าที่พัก 1,200 บาท 2 คืน 3 คน จำนวน 3 ครั้ง 21,600 บาท
- ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2,500 บาท ครั้งละ 3 วัน จำนวน 5 ครั้ง เป็นเงิน 37,500 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศการพร้อมตกแต่งสถานที่ 100,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 55,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 75,000.00 บาท 187,406.00 บาท 468,474.00 บาท 730,880.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุสำนักงาน 69,120 บาท
- วัสดุคอมพิวเตอร์ 50,000 บาท
- วัสดุเกษตร 75,000 บาท
- วัสดุก่อสร้าง 75,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 269,120.00 บาท 269,120.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1000000.00
ผลผลิต : การจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย
ชื่อกิจกรรม :
2 การจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย
2.1 การผลักดันการจดสิทธิบัตรต่างประเทศ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาดำเนินการยื่นสิทธิบัตรพันธุ์พืชในต่างประเทศ 3 คำขอ
(คำขอละ 180,000 บาท) เป็นเงิน 540,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 270,000.00 บาท 270,000.00 บาท 540,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 540000.00
ชื่อกิจกรรม :
2.2 กิจกรรมการจัดทำความร่วมมือกับบริษัท/หน่วยงานในการผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ : MJU Innovation Day

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดบูธแสดงผลงาน จำนวน 20 ผลงาน เป็นเงิน 250,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อแสดงผลงานที่ได้รับรางวัล ผลงานละ 6,000 บาท จำนวน 10 ผลงาน เป็นเงิน 60,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 70 คน * คนละ 1 มื้อ * มื้อละ 150 บาท) เป็นเงิน 10,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 70 คน * คนละ 2 มื้อ * มื้อละ 35 บาท) เป็นเงิน 4,900 บาท
- ค่าจ้างเหมาตกแต่งสถานที่จัดงาน เป็นเงิน 100,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพร้อมวิดิโอ กิจกรรม Innovation Day เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 445,400.00 บาท 445,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 50,000 บาท
- ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เป็นเงิน 15,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 545400.00
ชื่อกิจกรรม :
2. การจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย
2.3 กิจกรรมการวิเคราะห์แนวทางการยกระดับเทคโนโลยีสู่การใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร (Patent Landscape) (จำนวน 2 ผลงาน*ผลงานละ 51,268.495 บาท) เป็นเงิน 102,536.99 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 102,536.99 บาท 102,536.99 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 102536.99
ผลผลิต : การพัฒนากำลังคนด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
ชื่อกิจกรรม :
3 การพัฒนากำลังคนด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
3.1 การสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญา กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
3.1.1 การสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญา กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าเดินทางวิทยากร (จำนวน 2 คน*คนละ 5,595 บาท) เป็นเงิน 11,190 บาท
- ค่าที่พักวิทยากร 1,200 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 150 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท จำนวน 20 คน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,400 บาท
- ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพร้อมวิดิโอ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 27,990.00 บาท 0.00 บาท 27,990.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ 600 บาท จำนวน 2 คน คนละ 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 14,080 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,080.00 บาท 0.00 บาท 14,080.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45670.00
ชื่อกิจกรรม :
3.1.2 การสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญา กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง (จำนวน 2 วัน*วันละ 2,800 บาท) เป็นเงิน 5,600 บาท
- ค่าที่พัก (จำนวน 7 คน*1 คืน) เป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 30 คน*คนละ 150 บาท*จำนวน 1 มื้อ) เป็นเงิน 4,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 30 คน*คนละ 35 บาท*จำนวน 2 มื้อ) เป็นเงิน 2,100 บาท
- ค่าเช่าสถานที่จัดอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,400.00 บาท 21,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ (จำนวน 3 คน*คนละ 6 ชั่วโมง* ชั่วโมงละ 600 บาท) เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 70,308.40 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 6,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 76,708.40 บาท 76,708.40 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 108908.40
ชื่อกิจกรรม :
3.1.3 การสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญา กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมารถตู้ (จำนวน 3 วัน*วันละ 2,000 บาท) เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าเดินทางและค่าที่พัก (จำนวน 8 คน) เป็นเงิน 80,480 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 30 คน*คนละ 150 บาท*จำนวน 1 มื้อ) เป็นเงิน 4,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 30 คน*คนละ 35 บาท*จำนวน 2 มื้อ) เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 93,080.00 บาท 93,080.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ (จำนวน 3 คน*คนละ 6 ชั่วโมง* ชั่วโมงละ 600 บาท) เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 70,308.40 บาท
- ค่าวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นเงิน 2,370 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 77,678.40 บาท 77,678.40 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 181558.40
ชื่อกิจกรรม :
3.1.4 การอบรมเรื่อง พรบ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าเดินทางวิทยากร (จำนวน 1 คน) เป็นเงิน 5,220 บาท
- ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง (จำนวน 1 คัน*คันละ 1 วัน*วันละ 2,500 บาท) เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพพร้อมวิดีโอ เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน 29,250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 56,970.00 บาท 56,970.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ (จำนวน 2 คน* คนละ 3 ชั่วโมง*ชั่วโมงละ 600 บาท) เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 76,000 บาท
- ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 96,000.00 บาท 96,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 156570.00
ชื่อกิจกรรม :
3.2 การพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต : บุคลากรปฏิบัติงานส่วนงาน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตัวแทนสิทธิบัตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 70,308.40 บาท
- ค่าวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นเงิน 2,370 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 300,000.00 บาท 329,454.61 บาท 629,454.61 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 629454.61
ชื่อกิจกรรม :
3.3 การพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต : บุคลากรปฏิบัติงานส่วนงาน ที่ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
:: การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญากับหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม จำนวน 3 แห่ง
1) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2) มหาวิทยาลัยบูรพา
3) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญากับหน่วยบริหารจัดการืรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม 350,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 350,000.00 บาท 0.00 บาท 350,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 24,465 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 14,890 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 39,355.00 บาท 0.00 บาท 39,355.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 389355.00
ชื่อกิจกรรม :
3.4 การจัดอบรมสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจ เพื่อผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐ (จำนวน 2 คน* คนละ 3 ชั่วโมง* ชั่วโมงละ 600 บาท) เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 91,000 บาท
- ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 111,000.00 บาท 111,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าอาหาร เป็นเงิน 38,500 บาท
- ค่าเดินทางวิทยากร (จำนวน 1 คน*จำนวน 1 ครั้ง) เป็นเงิน 4,140 บาท
- ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพพร้อมตัดต่อวิดิโอ เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง (จำนวน 1 คัน*คันละ 2 วัน*วันละ 2,500 บาท) เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 67,640.00 บาท 67,640.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 182240.00
ชื่อกิจกรรม :
3.5 การนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยรูปแบบของบริษัทโฮลดิ้งของมหาวิทยาลัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าลงทะเบียนหลักสูตร University Holding Company Directorship Certification Program (UHCDP) รุ่นที่ 3 ณ กรุงเทพฯ จำนวน 56,000 บาท
- ค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 36,455 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 92,455.00 บาท 92,455.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 92455.00
ชื่อกิจกรรม :
3.6 อบรมหัวข้อการจัดการนวัตกรรม สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าลงทะเบียนอบรมหลักสูตร การจัดการนวัตกรรมขององค์กรตามแนวทางของ ISO 56002:2021 เป็นเงิน 35,000 บาท
- ค่าอาหาร เป็นเงิน 16,500 บาท
- ค่าเดินทางวิทยากร (จำนวน 1 คน) เป็นเงิน 4,060 บาท
- ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพพร้อมตัดต่อวิดิโอ เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง (จำนวน 1 คัน*คันละ 1 วัน*วันละ 2,500 บาท) เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 78,060.00 บาท 78,060.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 67,191.60 บาท
- ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 68,191.60 บาท 68,191.60 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 146251.60
ผลผลิต : การนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน Area-based Innovation for Community
ชื่อกิจกรรม :
4. การนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน Area-based Innovation for Community
4.1 การประเมินศักยภาพและความต้องการของผู้ประกอบการภาคเอกชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ  ไชยชนะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและประสานงาน จำนวน 2 คน x 11 เดือน x 18,000 บาท เป็นเงิน 396,000 บาท
- ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2,500 บาท จำนวน 2 วัน 5 ครั้ง เป็นเงิน 25,000 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 4 คนๆละ 240 บาท 2 วัน 5 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
- ค่าที่พัก จำนวน 3 ห้องๆละ 1,200 บาท 5 ครั้ง เป็นเงิน 18,000 บาท
- ค่าเดินทางครั้งละ 9,000 บาท จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 2 คน เป็นเงิน 36,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาการจัดทำแผนการตลาดและแผนธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม 20,000 บาท x 5 ผลงาน เป็นเงิน 100,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลงานการนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 180,000.00 บาท 132,500.00 บาท 297,100.00 บาท 609,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 609600.00
ชื่อกิจกรรม :
4.2 การนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน Area-based Innovation for Community
4.2.1 โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบ IOT ควบคุมการให้น้ำอัจฉริยะ (Smart pump controller) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2,500 บาท 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าที่พัก 1,200 บาท จำนวน 2 ห้อง 4 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บาท จำนวน 3 คนๆละ 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 5,760 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลงาน จำนวน 1,240 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี) ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 8 ชั่วโมง 4 ครั้ง เป็นเงิน 19,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน 30,000 บาท
- ค่าวัสดุไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 55,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 155800.00
ชื่อกิจกรรม :
4.2 การนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน Area-based Innovation for Community
4.2.2 โครงการการจัดการขยะอินทรีย์สำหรับโฮมเสตย์บนพื้นที่ราบสูงด้วยเทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รจพรรณ  นิรัญศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2,500 บาท 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าที่พัก 1,200 บาท จำนวน 2 ห้อง 4 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บาท จำนวน 3 คนๆละ 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 5,760 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลงาน จำนวน 1,240 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี) ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 8 ชั่วโมง 4 ครั้ง เป็นเงิน 19,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน 7,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว 2,400 บาท
- ค่าวัสดุเกษตร 600 บาท
- ค่าวัสดุก่อสร้าง 70,000 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 155800.00
ชื่อกิจกรรม :
4.2 การนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน Area-based Innovation for Community
4.2.3 โครงการการพัฒนากระดาษป้องกันน้ำจากเส้นใยธรรมชาติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2,500 บาท 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าที่พัก 1,200 บาท จำนวน 2 ห้อง 4 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บาท จำนวน 3 คนๆละ 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 5,760 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลงาน จำนวน 1,240 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี) ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 8 ชั่วโมง 4 ครั้ง เป็นเงิน 19,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน 2,500 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว 2,500 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ 95,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 155800.00
ชื่อกิจกรรม :
4.2 การนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน Area-based Innovation for Community
4.2.4 โครงการสเปรย์กระตุ้นการหายของแผลและแชมพูรักษาเชื้อราสำหรับสัตว์เลี้ยง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน  เจริญตัณธนกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2,500 บาท 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าที่พัก 1,200 บาท จำนวน 2 ห้อง 4 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บาท จำนวน 3 คนๆละ 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 5,760 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี) ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 8 ชั่วโมง 4 ครั้ง เป็นเงิน 19,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน 5,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว 30,000 บาท
- ค่าวัสดุเกษตร 35,000 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 155800.00
ชื่อกิจกรรม :
4.2 การนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน Area-based Innovation for Community
4.2.5 โครงการการเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งเป็นถ่านชีวภาพด้วยเทคโนโลยีปฏิกรณ์อากาศหมุนเวียน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรี  อินธนู (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2,500 บาท 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าที่พัก 1,200 บาท จำนวน 2 ห้อง 4 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บาท จำนวน 3 คนๆละ 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 5,760 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลงาน จำนวน 1,240 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี) ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 8 ชั่วโมง 4 ครั้ง เป็นเงิน 19,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน 10,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ 15,000 บาท
- ค่าวัสดุเกษตร 20,000 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 130800.00
ชื่อกิจกรรม :
4.3 การส่งเสริมการขอใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างหน่วยงานเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ต้นแบบ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2566 - 30/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ  ไชยชนะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2,500 บาท จำนวน 3 วัน 2 ครั้ง เป็นเงิน 15,000 บาท
- ค่าเดินทางวิทยากร (จำนวน 2 คน คนละ 7,600 บาท 2 ครั้ง) เป็นเงิน 30,400 บาท
- ค่าพาหนะ (กรณีใช้รถยนต์ส่วนตัว) เป็นเงิน 24,520 บาท
- ค่าที่พัก 1,200 บาท จำนวน 2 ห้อง 3 คืน 2 ครั้ง เป็นเงิน 14,400 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บาท จำนวน 2 คน 3 วัน 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,880 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารและสื่อประชาสัมพันธ์ 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 97,200.00 บาท 97,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐ 600 บาท 12 ชั่วโมง จำนวนคน 2 คน 2 ครั้ง เป็นเงิน 28,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,800.00 บาท 28,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน 25,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ 65,000 บาท
- ค่าวัสดุเกษตร 50,000 บาท
- ค่าวัสดุก่อสร้าง 250,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 390,000.00 บาท 390,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 516000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล