19889 : โครงการความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย ณ บ้านดินพอเพียง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/3/2566 9:13:34
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
13/03/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษา บุคลากร และชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2566 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.14 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.1.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 21. ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิดสาธารณะและจิดสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.3 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 43. สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.5 จำนวนฐานการเรียนรู้ที่เป็นที่พึ่งของชุมชน (ชุมพร)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 45. ผลักดันการตั้งฐานเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถเป็นที่พึ่งให้กับชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นมหาวิทยาลัยฯ ที่เปิดการเรียนการสอนด้านการเกษตรและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ประกอบด้วย สาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และสาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรออกสู่ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมาก ขณะที่มหาวิทยาลัยมีการวางเป้าหมายทิศทางการพัฒนาระยะ 15 ปี พ.ศ.2555-2569 เป็น "มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต" ที่เคารพและให้ความสำคัญกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ปรัชญา "มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน" ทั้งนี้ที่ผ่านมา คณาจารย์และนักศึกษาดำเนินการกิจกรรมภายใต้รูปแบบกองกำลัง "เที่ยว" รับใช้สังคม ดำเนินกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือนและส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกแก่นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เกิดการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ได้แก่การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆที่เกิดจากระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) ขยะอินทรีย์ภายในโรงอาหารมหาวิทยาลัยฯ 2) การใช้พลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า) 3) ปริมาณขยะแห้งและขยะอื่นๆ 4) คุณภาพน้ำ 5) การปลูลูกป่ป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างตามแนวทางศาสตร์พระราชา ควบคู่กับการร่วมเป็นสมาชิกฯ เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาพลังจิตอาสาจากสถาบันการศึกษา ไปหนุนเสริมพลังการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ดังนั้นจากฐานทุนทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยฯ โดยเฉพาะการปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างและปลูกพันธุ์ไม้อาหารท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย เช่น ส้มจี๊ด มะม่วงหิมพานต์ เหลียง หมาก กล้วยท้องถิ่น และพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ โดยเริ่มต้นจากบ้านดินพอเพียงและขยายต่อไปอาคารแม่โจ้สามัคคี ซึ่งผลผลิตดังกล่าวสามารถดำเนินการต่อยอด สู่ประเด็นการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งสอดคล้องกับ ศ.ดร.วันดี ทาตระกูล คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นิยามความมั่นคงทางอาหารว่า “การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอ สำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสมตามความต้องการตามวัย เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งการมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาสมดุลของระบบนิเวศวิทยา และความคงอยู่ของฐานทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัยหรือการก่อการร้ายอันเนื่องจากอาหาร” แต่ทั้งนี้ความมั่นคงทางอาหารไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ว่าการมีอาหารอย่างเพียงพอ แต่ความมั่นคงทางอาหารนั้นสัมพันธ์กับมิติต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม โดยต้องมองไปถึงความมีอธิปไตยทางอาหารของเกษตรกร ต้องสัมพันธ์กับมิติความมั่นคงด้านต่างๆ เช่น ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางสังคม และความมั่นคงในการดำรงชีวิต (อ้างถึงใน อุบล, 2558) ทั้งนี้ โครงการการสร้างความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย จึงเป็นการต่อยอดเรื่องการใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยฯให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้แนวคิด “การสร้างคุณค่าใหม่บนฐานทุนเดิม”

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อต่อยอดผลผลิตภายในป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างและพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สู่ประเด็นการบริโภคที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม
เพื่อใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบูรณาการสู่การเรียนการสอน การบริการวิชาการและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พื้นที่ความมั่นคงทางด้านอาหารและอาหารปลอดภัย
KPI 1 : จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พื้นที่ความมั่นคงทางด้านอาหารและอาหารปลอดภัย
ชื่อกิจกรรม :
การใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่ป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การต่อยอดเมนูอาหาร ผลผลิตน้ำผึ้งโพรงไทย เป็นต้น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 13/03/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล