19721 : โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากกระเทียม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/2/2566 15:15:55
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกร และกลุ่มแม่บ้าน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หยาดฝน  ทนงการกิจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญ  คงกระพันธ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.19 EN66 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของเกษตรกรในภาคเหนือของประเทศไทย แหล่งผลิต กระเทียมที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ผลผลิตส่วนใหญ่นิยมบริโภคภายในประเทศ โดยประมาณร้อยละ 80 เป็นกระเทียมสด และประมาณร้อยละ 20 เป็นกระเทียมแปรรูป ทั้งในลักษณะกระเทียมดอง อบแห้ง และผง (กรมวิชาการเกษตร, 2542) จากข้อมูลสถิติพบว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคากระเทียมผันผวนสูง เกิดภาวะกระเทียมล้นตลาด และราคากระเทียมตกต่ำ โดยมีราคาต่อไร่เหลือเพียง 17.81 บาทต่อกิโลกรัม หลังจากที่ปรับขึ้นมาในช่วงปี 2549-2551 (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2555) นอกจากนี้กระเทียมไทยได้รับผลกระทบของกระเทียมนำเข้าจากประเทศจีน และพม่า ซึ่งมีขนาดหัวกระเทียมที่ใหญ่ และราคาถูกกว่ากระเทียมไทย ส่งผลให้การผลิตของกระเทียมไทยอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง เป็นเหตุให้รัฐบาลต้องหามาตรการรองรับ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับราคากระเทียม เช่น การรับจำนำ การส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นทดแทน เป็นต้น (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร, 2555) การแปรรูปกระเทียมเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้แก่กระเทียมไทย โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกระเทียมที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดมีหลายชนิด เช่น กระเทียมดอง กระเทียมเจียว และ กระเทียมดำ นอกจากนี้กระเทียมยังสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปอาหารได้อีกหลายชนิด เช่น น้ำสลัดกระเทียมและกระเทียมผง ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน สามารถทำเพื่อการบริโภคในครัวเรือนซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตตามพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ยังสามารถผลิตเพื่อการจำหน่ายซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าและเป็นทางเลือกแก่กระเทียมไทยยุคใหม่ที่สามารถตอบสนองผู้ที่รักสุขภาพ รวมถึงพัฒนาให้กระเทียมยังคงเป็นพืชที่ทำรายได้ให้เกษตรกรอย่างมั่นคงต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกระเทียมแก่กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านในอำเภอสันทราย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเทียม
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 6 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 7 : จำนวนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกระเทียม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเทียม
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมการการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากกระเทียม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดฝน  ทนงการกิจ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญ  คงกระพันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 55 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,850 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 55 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 8,250 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม ขนาด A4 ( 30 หน้า) จำนวน 50 เล่มๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 2 x 5 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,600.00 บาท 0.00 บาท 15,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ปฏิบัติ จำนวน 2 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน
จำนวน 2 คนๆละ 100 บาท 45 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กระเทียม ต้นหอม พริกไทยดำ ไข่ไก่ ฯลฯ เป็นเงิน 5,300 บาท
น้ำส้มสายชู มัสตาด เกลือ น้ำปลา น้ำมันพืช หม้อสแตนเลส ถาดสแตนเลส ถุงฟอล์ย ถุงมือพลาสติก กระดาษชำระ กระดาษฟอล์ย ถุงซิปใส ขวดพลาสติก ฯลฯ เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A 4 แฟ้ม ปากกา สมุด ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นส์ แผ่นซีดี ตัวเก็บข้อมูลภายนอก ฯลฯ เป็นเงิน 5,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 21,800.00 บาท 0.00 บาท 21,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล