19556 : โครงการอควาโปนิกส์: ปลูกผักและเลี้ยงปลา ระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/1/2566 14:26:52
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2565  ถึง  29/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักศึกษา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้สนใจมีความรู้ด้าน อวาโปนิกส์: ปลูกผักและเลี้ยงปลา ระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารชาต์  เทียมเมือง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดาพร  ตงศิริ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-66-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-66-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-66-2-27 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-66-2.3.3 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ระบบอควาโปนิก (Aquaponics) เป็นการผสมผสานระหว่างระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำและการปลูกพืชแบบไร้ดิน (ไฮโดรโปรนิกส์) เข้าไว้ด้วยกัน เป็นอีกวิธีการหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การใช้พืชในการบำบัดสารอินทรีย์โดยเฉพาะไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสีย โดยอาศัยหลักที่ว่าน้ำทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์น้ำอุดมไปด้วยธาตุอาหาร ได้แก่ สารประกอบไนโตรเจน ไม่ว่าจะเป็นแอมโมเนียหรือไนเตรท เป็นสารอาหารหลักสำหรับพืช พืชจะดูดซึมสารเหล่านี้ไปใช้ในการเจริญเติบโต และทำให้น้ำมีความสะอาดเพียงพอที่จะถูกนำกลับมาใช้ในบ่อเลี้ยงได้ ซึ่งแต่เดิมนั้นการปลูกพืชและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในสมัยก่อนนั้นเป็นการทำเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต ภายในครัวเรือน ต่อมาเมื่อโลกมีการพัฒนามากขึ้นการปลูกพืชและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเข้ามามีบทบาทสำคัญ กลายเป็นการประกอบอาชีพเพื่อการค้าและการทำกำไร จากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเพาะปลูกเป็นอาชีพมีปริมาณมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค จากกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้สิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบจากน้ำเสียที่ระบายออกมาสู่สิ่งแวดล้อม จากปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการคิดค้นระบบบริหารจัดการและการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา เช่น การปลูกพืชไร้ดิน หรือ ไฮโดรโปรนิกส์ (Hydroponic) และแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ว่าด้วยการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเน้นการผสมผสานระหว่างเกษตรอินทรีย์กับเทคโนโลยี จากแนวคิดข้างต้นจึงเกิดเป็นระบบอควาโปนิกส์ (Aquaponic) ซึ่งอควาโปนิกส์ มาจาก คำว่า Aquaculture แปลว่า การปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนั้น อควาโปนิกส์ จึงหมายถึง การรวมระบบของการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์น้ำเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันทำได้โดยการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียนร่วมกับการปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ วิธีนี้เองจะทำให้พืชที่ได้รับสารอาหารที่เป็นของเสียจากบ่อปลา จำพวกธาตุอาหารหลัก เช่น ไนโตรเจน (N) ฟอสโฟรัส (P) โพแทสเซียม (K) โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ย เพื่อบำรุงพืชตลอดระยะการเพาะปลูก ซึ่งวิธีอควาโปนิกส์นี้แตกต่างกันตรงที่ระบบไฮโดโปนิกส์ต้องใส่ปุ๋ยให้แก่พืช หลักการทำงานของวิธีอควาโปนิกส์ คือ เวลาเราเลี้ยงปลา จะมีของเสียจากปลา (เมื่อเลี้ยงไปนานๆ ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ) ดังนั้น เราก็จะเอาน้ำเลี้ยงจากบ่อปลามาวนรดผัก พืชผักจะดูดของเสียเป็นปุ๋ย เป็นการช่วยบำบัดน้ำเสียให้ปลา ปลาก็จะปล่อยของเสียจำพวกแอมโมเนีย (NH3) รวมทั้งของเสียที่ตกค้างในระบบ จะถูกย่อยสลายกลายเป็นสารอาหารสำหรับพืช ดังนั้นการเผยแพร่แนวทางการเลี้ยงปลาร่วมกับการบำบัดน้ำด้วยการนำไปใช้ปลูกพืชแบบไร้ดิน (ไฮโดรโปรนิกส์) จึงเป็นรูปแบบใหม่สำหรับการเลี้ยงปลาที่ให้ผลผลิตสูงและปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลาให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจในการเลี้ยงปลาในระบบที่ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าและได้ผลผลิตพืชร่วมด้วย ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มุ่งเน้นทางด้านการเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหารโดยเฉพาะอาหารอินทรีย์ (Organic Food)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้ระบบการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืชอควาโปนิกส์
เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกร ผู้สนใจนำความรู้ไปใช้เพื่อเป็นการประกอบอาชีพการปลูกผักร่วมกับการเลี้ยงปลา หรือเพื่อสร้างอาหารและแหล่งรายได้ให้กับครัวเรือน เป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ใช้พื้นที่ในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวฯ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร นักศึกษา และผู้สนใจมีความรู้ด้านการปลูกผักเลี้ยงปลา ระบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : สนับสนุนงานด้านการเรียน การสอนในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : ส่งเสริมให้ปลูกผักและเลี้ยงปลา ระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรครัวเรือน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 อาชีพ 1
KPI 7 : ได้เครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันในโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 8 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละของผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร นักศึกษา และผู้สนใจมีความรู้ด้านการปลูกผักเลี้ยงปลา ระบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 1. อบรมเรื่อง อควาโปนิกส์ การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกผักในระบบที่เป็นมิตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารชาต์  เทียมเมือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร  ตงศิริ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 55 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 100 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 5,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,500.00 บาท 0.00 บาท 5,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 55 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,300.00 บาท 0.00 บาท 3,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับ จัดทำแผ่นพับโครงการ จำนวน 75 ใบ x 10 บาท เป็นเงิน 750 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 750.00 บาท 0.00 บาท 750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จัดทำป้ายไวนิล จำนวน 2 ผืน ชุดละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาครัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 2 คน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาครัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 2 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน (กระดาษ ปากกา ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,650.00 บาท 0.00 บาท 7,650.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ (CD หมึกพิมพ์ ฯลฯ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร (อาหารปลา รำ ปลาป่น กระชัง ฯลฯ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว (กะละมัง มีด ฯลฯ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การจัดกิจกรรมอบรมและลงพื้นที่เก็บตัวอย่างฟาร์มเกษตรกรล้าช้ากว่ากำหนดการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนเดินทางเข้าพื้นที่เก็บตัวอย่างฟาร์มเกษตรกรหรือจัดกิจกรรมอบรม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล