19517 : โครงการบริการวิชาการที่เป็นเลิศ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ด้านการบริการวิชาการของคณะ (66-2.6.1)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.รุ้งทอง เขื่อนขัน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/7/2566 13:58:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
11/01/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  15  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศิษย์เก่า ผู้นำชุมชน หน่วยงานภายนอก และบุคคลทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานยุทธศาสตร์
แผนงานรอง : แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
ผลผลิต : ผลงานการให้บริการวิชาการ
กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์
แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม
งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุนบริการวิชาการ
งบเงินอุดหนุน
เงินอุดหนุนทั่วไป
โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2)
2566 500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วุฒิกานต์  ปุระพรหม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พันธุ์ระวี  กองบุญเทียม
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.8(64-68)-FAED การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ
ตัวชี้วัด 2.21FAED65 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.8.3(64-68) จัดทำฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.18FAED65 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ FAED-2.8.1(64-68) สนับสนุนการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมากขึ้น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างชาติ
กลยุทธ์ FAED-2.8.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสภาวะอันท้าทายจากสถานการณ์รอบด้าน ทั้งในระดับโลกและภูมิภาค ตลอดจนสถานการณ์ภายในประเทศ ทั้งในด้านการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิท-19) เทคโนโลยีพลิกผัน (disruptive technology) การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของฝ่ายต่าง ๆ (ชุมชน ผู้ประกอบการทั่วไป และผู้ประกอบการในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม) ในการเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริมท้องถิ่นให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี (ทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม) เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และเพื่อยกระดับการปฏิบัติวิชาชีพ โดยยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบวางแผนสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาที่มีภารกิจการบริการวิชาการแก่สังคม นอกเหนือจากภารกิจหลักด้านการเรียนการสอน และการวิจัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระดับการออกแบบและวางแผนสิ่งแวดล้อม ผังเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์ ทั้งนี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้นำทั้งองค์ความรู้และนวัตกรรมมาใช้เพื่อการดำเนินการดังกล่าว โดยได้บูรณาการภารกิจด้านการเรียนการสอน การวิจัย ร่วมกับการบริการวิชาการให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ในการดำเนินงานนั้น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้เห็นความจำเป็นในการดำเนินงานที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ด้วยการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน องค์กร ภาครัฐ เอกชน และชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีขอบเขตการดำเนินงานที่ครอบคลุมความต้องการของผู้รับบริการ ประกอบด้วย การให้คำแนะนำปรึกษา สำรวจ ศึกษาการออกแบบวางผัง ตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะแก่บุคลากรในหน่วยงาน บุคคลทั่วไป และผู้ประกอบการ ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ จึงได้พิจารณาเสนอรูปแบบการบริการวิชาการด้วยการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยของคณะฯ ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และองค์กรต่าง ๆ
เพื่อส่งเสริมการบูรณาการการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการและงานวิจัยของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อเป็นการบริการวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้/เทคโนโลยี/นวัตกรรม แก่ชุมชน หน่วยงาน องค์กร ผู้ประกอบการ นักวิชาชีพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการบริการวิชาการแก่ชุมชน เพื่อสร้างอัตลักษณ์ด้านการบริการวิชาการของคณะ
KPI 1 : จำนวนกิจกรรมบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 กิจกรรม 2
KPI 2 : จำนวนกิจกรรมจากการให้บริการวิชาการที่ต่อยอดและก่อให้เกิดรายได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กิจกรรม 1
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการบริการวิชาการแก่ชุมชน เพื่อสร้างอัตลักษณ์ด้านการบริการวิชาการของคณะ
ชื่อกิจกรรม :
1. กิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชน เพื่อสร้างอัตลักษณ์ด้านการบริการวิชาการของคณะ ประกอบด้วย
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
- กิจกรรมให้คำปรึกษา
- กิจกรรมการลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม เก็บข้อมูลทางกายภาพ
- กิจกรรมนำเสนอผลงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ
- กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในงานบริการวิชาการของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 12/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์  ปุระพรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าชดเชยในการใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปปฏิบัติงาน (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-ไม่มี-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-ไม่มี-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล