19495 : โครงการถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2566
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
นายจีระศักดิ์ วงษาปัน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/7/2566 14:50:59
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
26/07/2566  ถึง  26/07/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  ผู้แทนบุคลากร และนักศึกษา สังกัดคณะเศรษฐศาสตร์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กองทุนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2)) 2566 5,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย จีระศักดิ์  วงษาปัน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.24 จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.4.3 พัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร ให้น่าสนใจและทันสมัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-5 เป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-5.1 จำนวนกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-5.1.1 พัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตรให้น่าสนใจและทันสมัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เนื่องมาจากในฤดูฝน หรือที่เรียกกันว่า “ฤดูการเข้าพรรษา” คือ ช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 นั้น กำหนดให้พระภิกษุทั้งหลาย ต้องเข้าอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดระยะเวลา 3 เดือน พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องอยู่จำพรรษาในพระอารามระหว่างนั้น มีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำ มีความจำเป็นต้องใช้เทียนไว้สำหรับจุดบูชาให้ตลอดพรรษา พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันหล่อเทียน สำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ได้จุดบูชาตลอด 3 เดือนของกำหนดเวลาเข้าพรรษา จึงเรียกเทียนที่หล่อขึ้นนี้ว่า “เทียนพรรษา” หรือ “เทียนจำพรรษา” โดยการถวายเทียนพรรษาเป็นกุศลอย่างหนึ่งของการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาสว่างไสว พิธีหล่อเทียนเริ่มก่อนเข้าพรรษาเล็กน้อย การเตรียมงานพิธีหล่อเทียนในชุมชนนั้น จะเริ่มขึ้นประมาณวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 ก่อนเข้าพรรษา ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อหล่อเทียนในวันรุ่งขึ้นจะจัดขบวนแห่นำไปถวาย ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อเป็นพุทธบูชา และในวันนั้นมีการทำบุญร่วมกันตักบาตรถวายพระภิกษุสงฆ์ แสดงความศรัทธาโดยพร้อมเพรียงกัน ทั้งยังเป็นการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส การให้การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นสิ่งที่ชาวพุทธยึดถือปฏิบัติมานาน งานทำบุญหล่อเทียนและถวายเทียนพรรษา นับเป็นประเพณีที่ดีงาม สมควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะได้ช่วยกันรักษาประเพณีนี้ไว้ให้คงสืบต่อไปชั่วกาลนาน ด้วยคณะเศรษฐศาสตร์ได้เห็นความสำคัญของการธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และจะทำให้บุคลากรและนักศึกษาได้มีกิจกรรมทำบุญร่วมกัน ตลอดจนเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรและนักศึกษาภายในคณะ โดยคณะได้จัดโครงการนี้ขึ้นเป็นประจำในทุก ๆ ปี และได้รับความร่วมมือจากบุคลากรและนักศึกษาเป็นอย่างดี อนึ่ง ในปีที่ผ่านมา ยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (coronavirus 2019) หรือโควิค 19 (COVID-19) รวมถึงนักศึกษาจะต้องเรียนทางออนไลน์ ดังนั้น คณะเศรษฐศาสตร์ จึงได้นำเทียนพรรษาไปถวาย เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565 ในช่วงบ่าย ณ วัดสันทรายต้นกอก (สลีปิงจัยแก้วกว้าง) เลขที่ 141 ซอยบ้านสันทรายต้นกอก 2 หมู่ 7 ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นตัวแทนบุคลากรสังกัดคณะเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งและ/หรือประกาศในเรื่องของมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิค-19 (COVID-19) โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดต่อไป ในการนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ จึงได้กำหนดจัดโครงการถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2566 ขึ้น ในวันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2566 ระหว่างเวลา 11.00-12.00 น. ณ วัดมงคลเศรษฐี (วัดศรีสหกรณ์) เลขที่ 99 หมู่ 7 ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50210 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้แทนบุคลากร และนักศึกษา สังกัดคณะเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งและ/หรือประกาศในเรื่องของมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิค-19 (COVID-19) โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เพื่อธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา
เพื่อถวายเทียนพรรษา และปัจจัยต่าง ๆ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้แทนบุคลากร และนักศึกษา สังกัดคณะเศรษฐศาสตร์ ได้ร่วมส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา
KPI 1 : ร้อยละของจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ (จำนวน 30 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้แทนบุคลากร และนักศึกษา สังกัดคณะเศรษฐศาสตร์ ได้ร่วมส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา
ชื่อกิจกรรม :
การถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2566

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/07/2566 - 26/07/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายจีระศักดิ์  วงษาปัน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายพิธีสงฆ์
1. ค่าเทียนพรรษา พร้อมขาตั้งเทียน 2,000.00 บาท
2. ค่าเครื่องไทยธรรมและชุดสังฆทาน 3,000.00 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล