19215 : หลักสูตรนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/11/2565 14:16:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
03/10/2565  ถึง  31/03/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  ผู้ที่ทำงานแล้วและต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะ และผู้ที่ทำงานแล้วแต่ต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะที่แตกต่างไปจากเดิม จำนวน 30 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน จากแหล่งทุนภายนอก สป.อว. โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ จำนวน 900,000 บาท 2566 900,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร  อมรเลิศพิศาล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.2 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.4 งบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.7 หลักสูตร/โปรแกรมเฉพาะที่ใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.8 งบประมาณการพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.4 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-66-4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ FT-66-4.1 สนับสนุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด FT-66-4-1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ FT-66-4.1.1 สนับสนุนและสร้างบรรยากาศเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาและบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด FT-66-4-3 งบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่
กลยุทธ์ FT-66-4.1.1 สนับสนุนและสร้างบรรยากาศเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาและบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด FT-66-4-6 หลักสูตร/โปรแกรมเฉพาะที่ใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ FT-66-4.1.1 สนับสนุนและสร้างบรรยากาศเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาและบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด FT-66-4-7 งบประมาณการพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ FT-66-4.1.1 สนับสนุนและสร้างบรรยากาศเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาและบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 (COVID-19) ที่สร้างความตื่นกลัวไปทั่วโลก หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการปิดประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อซึ่งส่งผลกระทบต่อการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลก ประเทศไทยได้รับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการเป็นอย่างมาก ส่วนผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและอาหาร พบว่าเกษตรกรไม่สามารถขายสินค้าได้เนื่องอุปสรรคด้านการขนส่งและการกระจายสินค้า โรงงานแปรรูปขาดแคลนแรงงานจากมาตรการกักกันโรค ดัชนีราคาอาหารโลกจากองค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า ราคาสินค้าอาหารเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลมาจากความต้องการอาหารลดลงและวิกฤตนี้จะส่งผลระยะยาว โดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำการผลิตวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมอาหาร ทางออกที่จะช่วยผู้มีรายได้น้อยหรือขาดความมั่นคงทางการเงินคือ ประชาชนที่ตกงานและมีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายทุกคนต้องเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ เน้นการกระจายสินค้าเกษตรในตลาดชุมชน และตลาดภายในประเทศ ดังนั้นสินค้าเกษตรควรมีการพัฒนาขึ้นใหม่ให้มีมูลค่ามากขึ้นด้วยการใช้นวัตกรรม ใส่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเป็นที่น่าสนใจของผู้บริโภค การเพิ่มทักษะในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและแนวคิดการทำนวัตกรรมผลผลิตทางการเกษตรให้ขายได้ ทำให้เกิดแรงดึงดูด มีความประทับใจ และได้รับการยอมรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จะช่วยสร้างโอกาสของอาชีพใหม่และเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประสบภัยจากสถานการณ์โรคระบาดฯ โดยมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ช่วยยืดอายุสินค้าได้นานขึ้น มีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งมีผลดีต่อสุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแบ่งออกเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และไม่ใช่อาหาร เช่น สารสกัดชีวภาพ สมุนไพร เครื่องสำอาง และวัสดุภัณฑ์รักษ์โลก เป็นต้น ช่วยให้เกิดการกระจายสินค้าและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างเป็นรูปธรรมและเพิ่มมูลค่า สามารถนำมาทำเป็นโมเดลต้นแบบการเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ BCG (Bio-circular-green economy) ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมกับการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถประยุกต์ใช้เพื่อการสร้างงานและสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมาย และทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายและมีแนวโน้มของรูปแบบธุรกิจที่เกื้อกูลสังคมด้วยการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน โดยเกษตรกรปลูกผลผลิตเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัยตามความต้องการของตลาด เกษตรกรหรือลูกหลานเกษตรกรอาจเป็นผู้ประกอบการที่แปรรูปเองหรือส่งต่อผลผลิตเกษตรให้กับวิสาหกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ที่มีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตรได้โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม และผู้ที่ทำงานฯได้แนวทางการพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่มาจากความต้องการของเอกชนโดยตรง เกิดความร่วมมือแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน จะเป็นแนวทางในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อย่างเป็นรูปธรรม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะด้านนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารที่สามารถนำมาสร้างรายได้และช่วยฟื้นฟูสภาวะทางเศรษฐกิจหลังสถานการณ์ Covid -19
เพื่อให้ผู้เรียนเพิ่มทักษะการเป็นผู้ประกอบการและกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากผลผลิตทางการเกษตรและสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดกับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การเพิ่มทักษะด้านนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และการเพิ่มทักษะการเป็นผู้ประกอบการและกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของหลักสูตรที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าการอบรมรมจากหลักสูตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 4 : ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากหลักสูตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ผลิตภัณฑ์ 10
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การเพิ่มทักษะด้านนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และการเพิ่มทักษะการเป็นผู้ประกอบการและกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
ชื่อกิจกรรม :
หลักสูตรนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/10/2565 - 31/03/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร  อมรเลิศพิศาล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผู้ประสานงานโครงการ จำนวน 2 คน ๆ ละ 6 เดือน ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 180,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
90,000.00 บาท 90,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 180,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพนิ่งและวีดีโอพร้อมตัดต่อ จำนวน 1 คลิป เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาการวิเคราะห์ ทดสอบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาสูตรเครื่องสำอางของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 1 งาน เป็นเงิน 230,000 บาท
1. การวิเคราะห์สารสำคัญด้วยเทคนิค HPLC
2. การวิเคราะห์การต้านเชื้อจุลินทรีย์เบื้องต้น
3. การวิเคราะห์ปริมาณ Polysaccharide
4. การพัฒนาสูตรเครื่องสำอาง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
115,000.00 บาท 115,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 230,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทดสอบ วิเคราะห์ และพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์อาหารของผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 1 งาน เป็นเงิน 200,000 บาท
1. การวิเคราะห์อายุการเก็บรักษาของอาหาร
2. การทดสอบการปนเปื้อนจุลินทรีย์เบื้องต้น
3. การพัฒนาสูตรอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด
4. การวิเคราะห์ค่าความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหาร
5. การให้คำแนะนำด้านกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กฎหมายเพื่อยื่นขอ อย.
6. การวิเคราะห์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH
7. การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟินอลิกรวม (Total phenolic)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
100,000.00 บาท 100,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 200,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบสติ๊กเกอร์และบรรจุภัณฑ์ จำนวน 1 งาน เป็นเงิน 50,000 บาท
1. ออกแบบบรรจุภัณฑ์
2. ออกแบบสติ๊กเกอร์ฉลากบรรจุภัณฑ์
3. ปริ้นสติ๊กเกอร์โลโก้บรรจุภัณฑ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
25,000.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 3 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 28,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
14,400.00 บาท 14,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น สารเคมี, เครื่องแก้ว ฯลฯ เป็นเงิน 91,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
45,600.00 บาท 45,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 91,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ, ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
10,000.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ภาชนะพลาสติก, ถุงบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
10,000.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ฯลฯ เป็นเงิน 50,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
25,000.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 900000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ระยะเวลา เนื่องจากผู้เรียนหลักสูตรนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการเป็นเจ้าของธุรกิจเอง ซึ่งจะต้องมีการดูแลกิจการของตัวเอง หรือมีการออกบูธ หรือเดินทางไปต่างจังหวัดและต่างประเทศ จึงทำให้ยากต่อการนัดหมายในการเรียนการสอน
การเรียนการสอนยังอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้เรียนบางคนกลัวการแพร่ระบาดของโรค และบางคนยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน จึงขอให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบ zoom ร่วมด้วยกับการมาปฏิบัติจริง และบางคนไม่สะดวกในการเดินทางบ่อยเพราะอยู่ต่างจังหวัด ถ้ามีการเดินทางบ่อยอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก เป็นต้น
การนัดหมายผู้เรียนให้มาลงมือปฏิบัติจริงที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีการนัดโดยลงตารางนัดหมายเรียบร้อย แต่ผู้เรียนไม่มาตามนัด ติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน หรือภารกิจส่วนตัว จึงให้ต้องเลื่อยการนัดหมายทั้งอาจารย์ผู้สอน ซึ่งจะทำให้เป็นการเสียเวลาในตัวอาจารย์ผู้สอน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เพื่อหาช่วงเวลาที่ทุกคนสะดวกและเหมาะสม จึงทำให้บางคนขาดเรียนไปบ้าง และส่วนใหญ่เพื่อความสะดวกของผู้เรียนจึงมีการเรียนการสอนแบบ Online และ On-site ในช่วงเย็นและวันหยุด
ผู้เรียนจึงขอเรียนผ่านออนไลน์ระบบ zoom แทน
การจัดตารางเรียนล่วงหน้าของผู้เรียนแต่ละคน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ระเบียบการใช่จ่ายงบประมาณ.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล