19122 : โครงการการศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการอนุบาลและการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เอื้องคำเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.สุรีย์ชล วงศ์ประสิทธิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/5/2566 14:36:26
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2566/แผนงานพื้นฐาน/แผนรอง : แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์/ผลผลิต : ผลงานการให้บริการวิชาการ/กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์/แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม/งานบริการวิชาการแก่ชุมชน/กองทุนบริการวิชาการ/งบเงินอุดหนุน/เงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) 2566 190,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. จุฑามาศ  พิลาดี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 66 AP การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.19 66 AP องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 66 AP 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการและพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศแก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังประสบปัญหายิ่งใหญ่อันเดียวกัน คือ การสูญเสียความสมดุลทางธรรมชาติก่อให้เกิดอุทกภัย ภัยแล้ง ฝนตกไม่ตรงฤดูกาล มลภาวะในสภาพแวดล้อมทั้งในดิน แหล่งน้ำและบรรยากาศ การเกิดสภาวะเรือนกระจกที่ส่งผลต่อสภาวะโลกร้อน กำลังเป็นที่ตื่นตัวอยู่ ณ ขณะนี้ด้วยเหตุสำคัญจากการกระทำของคนเรานี้เอง สภาวการณ์เหล่านี้มิได้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์เท่านั้นแต่ทั้งพืชและสัตว์ต่างก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน พืชกลุ่มกล้วยไม้หลายชนิดกำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมแหล่งที่อยู่อาศัย การบุกรุกป่า การเก็บออกจากป่า ทั้งเพื่อการค้า เพื่อการสะสม เพื่อการปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับ ทำให้กล้วยไม้ในป่าธรรมชาติลดจำนวนลงเรื่อยๆ ตลอดมา และอาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด บ้านปงไคร้ ตั้งอยู่ที่ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีชาวบ้านรวมกลุ่มกันคอยให้คำแนะนำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดดเด่นในเรื่องของพื้นที่ ที่เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ มีป่าชุมชน มีจุดชมวิวสวยๆ มีที่พักแสนสบาย และอาหารพื้นบ้านแสนอร่อย และที่สำคัญกว่า คือการที่หมู่บ้านปงไคร้แห่งนี้ เป็นหมู่บ้านที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์กล้วยไม้มากหมายหลากหลายชนิดโดยเฉพาะพันธุ์กล้วยไม้ชื่อฟ้ามุ่ย เป็นดอกกล้วยไม้เฉพาะถิ่น สามารถพบเห็นได้ที่ป่าชุมชน หมู่บ้านปงไคร้เท่านั้น ด้วยสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้ฟ้ามุ่ย เป็นดอกกล้วยไม้ที่หาดูได้ยาก ด้วยเหตุผลนี้ ชาวบ้านปงไคร้จึงได้เรียนรู้ วิธีการเพาะปลูกกล้วยไม้ฟ้ามุ่ย ไม่ให้สูญหายไปจากประเทศไทย ประเทศไทยมีกล้วยไม้ไทยที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมจึงต้องให้ความสำคัญในการจัดการรวบรวมชนิดกล้วยไม้ไทย เพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ และบางชนิดให้คุณค่าทางสมุนไพรเภสัชกรรมและเครื่องหอม กล้วยไม้ไทยเป็นดอกไม้ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ กล้วยไม้มีหลากหลายชนิดและสายพันธุ์และมีการพัฒนาพันธุกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าของกล้วยไม้ไทยและเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้มีคุณภาพให้ดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามชนิดกล้วยไม้ไทยได้สูญหายไป ถ้าไม่มีการรวบรวมชนิดกล้วยไม้ไทยและขยายพันธุ์เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เห็นและสามารถนำมาขยายพันธุ์ เพื่อทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ได้ จึงทำให้มีการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงและการเพิ่มศักยภาพการผลิตในการสกัดกลิ่นหอมของกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้บางชนิดเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ การจัดทำโครงการโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่บ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนำกล้วยไม้ เพื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอย่างง่าย เพื่อสร้างรายได้เสริมให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องจะได้นำความรู้และทักษะที่ได้จากการเข้าร่วมตามโครงการนี้นำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นการดำเนินงานตามโครงการนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีความสำคัญสำหรับการพัฒนาและส่งเสริม ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ของครัวเรือนเกษตรกร รวมทั้งเกษตรกรที่ร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปผลิตกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์และยกระดับสถานที่ท่องเที่ยว และในการจัดทำโครงการนี้นอกจากจะมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายแล้วยังมีการจัดทำคู่มือและเอกสารเผยแพร่เพื่อการพกพาได้สะดวกสำหรับเกษตรกร ซึ่งคณะผู้ร่วมโครงการศึกษาพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไทยชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพกล้วยไม้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้นี้สามารถนำไปส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการปลูกและใช้ประโยชน์จากกล้วยไม้ เพื่อช่วยให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าและมูลค่าของกล้วยไม้สกุลกุหลาบ รวมทั้งปลูกจิตสำนึกเชิงอนุรักษ์กล้วยไม้ให้ดำรงอยู่ในสภาพธรรมชาติ เพื่อเป็นช่องทางช่วยลดการนำกล้วยไม้เอื้องคำ ออกจากป่ามาขายได้อีกทางหนึ่ง โดยมีเป้าหมายในพื้นที่บ้านปงไคร้ ความรับผิดชอบของอำเภอแม่ริม และพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรและการอนุรักษ์กล้วยไม้ของประเทศไทยต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมกล้วยไม้เอื้องคำ Dendrobium chrysotoxum Lindl.
2. เพื่อพัฒนาเทคนิคการปลูกเลี้ยงการขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องคำ เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่มีคุณภาพและปริมาณสูง
3. เพื่อศึกษาระบบ สภาพแวดล้อมในการปลูกเลี้ยงที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปลูกเลี้ยง
4. เพื่อศึกษาการศึกษากล้วยไม้เอื้องคำ เพื่อเป็นต้นแบบการนำไปใช้ในการผลิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนเพื่อนำไปใช้สร้างอาชีพเสริม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ปัจจัยที่เหมาะสมในการอนุบาลและปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เอื้องคำเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์
KPI 1 : ต้นกล้วยไม้เอื้องคำที่ได้จากการรวบรวม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ต้น 100
KPI 2 : โครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : การรอดตายของต้นกล้ากล้วยไม้เอื้องคำ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ปัจจัยที่เหมาะสมในการอนุบาลและปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เอื้องคำเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์
ชื่อกิจกรรม :
- ศึกษาการเจริญเติบโตของต้นกล้ากล้วยไม้เอื้องคำในสภาพปลอดเชื้อ
- ศึกษาการอนุบาลต้นกล้ากล้วยไม้เอื้องคำจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จุฑามาศ  พิลาดี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายบุญตัน  สุเทพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.วัชราภรณ์  สุขขี (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.จีระนันท์  ตาคำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.สุรีย์ชล  วงศ์ประสิทธิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นิศานาถ  มิตตะกัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมา เตรียมอาหาร ล้างขวด เก็บข้อมูล วิเคราะห์ผลการทดลอง ตลอดจนการรวบรวมผลการทดลองและการจัดทำรายงาน (1 คน x 5 งวด x 12,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารและเข้าเล่มรายงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร (ต้นกล้วยไม้ วัสดุปลูก กระถาง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ (สารเคมีบริสุทธิ์ ถุงมือ กระดาษกรอง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน (กระดาษ ปากกา ค่าถ่ายเอกสาร)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ (หมึกปริ้น แผ่นซีดี)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว (มีด เขียง ตะกร้า)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 190000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล