19121 : โครงการการศึกษาวิธีการดูดซับกลิ่นหอมดอกกล้วยไม้ด้วยเซียร์บัตเตอร์และศึกษาวิธีการใช้ไลโพโซมบรรจุกลิ่นหอมจากกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมสุขภาพ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.สุรีย์ชล วงศ์ประสิทธิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/3/2566 14:50:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/02/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  ประชาชน บุคลากร นักศึกษา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานพื้นฐาน/แผนรอง : แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์/ผลผลิต : ผลงานการให้บริการวิชาการ/กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์/แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม/งานบริการวิชาการแก่ชุมชน/กองทุนบริการวิชาการ/งบเงินอุดหนุน/เงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) 2566 188,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. จุฑามาศ  พิลาดี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล
รองศาสตราจารย์ ดร. อรุณี คงดี  อัลเดรด
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 66 AP การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.19 66 AP องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 66 AP 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากผลกระทบในการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของทรัพยากรต่างๆ ทั้งพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ถูกทำลายลงไปเป็นอย่างมากจนส่งผลกระทบต่อพันธุ์พืชและสัตว์หลายชนิดใกล้สูญพันธุ์รวมทั้ง พืชป่าหลายชนิดเริ่มหายากและใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะกล้วยไม้ป่าชนิดต่างๆ ถูกนำออกจากป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยจนเกิดการสูญเสียความความหลากหลายของระบบนิเวศ เป็นผลมาจากการลักลอบนำทรัพยากรเหล่านี้เพื่อการค้าที่ผิดกฎหมาย ทั้งในระดับท้องถิ่นภายในประเทศ หรือลักลอบส่งออกไปยังต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นสาเหตุต้นๆ ของการลดลงอย่างต่อเนื่องของประชากรกล้วยไม้ในป่าธรรมชาติ จนถึงปัจจุบันการค้ากล้วยไม้ป่ายังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาพื้นที่ป่าที่มีพื้นที่ลดลง จากการถูกบุกรุกแผ้วถาง ส่งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อจำนวนประชากรของกล้วยไม้ป่าที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และหายากมากขึ้นในปัจจุบัน และสถานะกล้วยไม้ไทยหลายชนิดกำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ กล้วยไม้เป็นพืชชนิดหนึ่งที่แสดงถึงความงดงาม และแสดงถึงคุณค่าทางจิตใจต่อมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และประเพณี กล้วยไม้มีความงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งความหลากหลายของชนิดพันธุ์ สีสัน หรือ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ จึงเป็นพืชที่ได้รับความสนใจจากผู้คนอย่างแพร่หลาย ซึ่งในอีกแง่มุมหนึ่ง กล้วยไม้ก็เป็นพืชที่ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงในการสูญพันธุ์ไปจากแหล่งอาศัยในธรรมชาติ โดยเฉพาะ “กล้วยไม้ไทย” ซึ่งเป็นพืชที่อาศัยตามป่าหรือแหล่งธรรมชาติและบางชนิดมีเฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรหวงแหนและควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากกล้วยไม้เป็นพืชที่มีความสำคัญในระบบนิเวศ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทุกพื้นที่ป่า ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นตัวชี้วัดถึงความสมบูรณ์ของพื้นที่นั้นๆ นอกจากนั้นการนำกล้วยไม้พันธุ์ไทยพันธุ์แท้ มาปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้มีความสวยงาม และมีลักษณะที่ดีขึ้นจากสภาพธรรมชาติเพื่อสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ ประเด็นสำคัญกล้วยไม้อีกจำนวนมากที่ยังสามารถนำมารับประทานได้ เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาในการรักษาอาการต่างๆ ได้ และสามารถนำกลิ่นมาใช้ในการนำไปสู่สารตั้งต้นของอุตสาหกรรมสุขภาพ ไลโพโซมบรรจุกลิ่นหอมจากกล้วยไม้ กลิ่นหอมจากกล้วยไม้ เป็นสารหอมระเหยกลุ่มเอสเทอร์ที่มีจุดเดือดต่ำ ที่อุณหภูมิห้องก็สามารถระเหยออกมา ทำให้มนุษย์ได้กลิ่นได้ จากการที่กลิ่นหอมจากกล้วยไม้มีจุดเดือดต่ำทำให้เกิดปัญหาความคงทนของกลิ่นเมื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โลชั่น สบู่ น้ำหอม ในปัจจุบันการทำให้กลิ่นของสารหอมระเหยต่างๆ อยู่คงทนนั้นสามารถทำได้โดยใช้เทคโนโลยีเอนแคปซูลเลชันบรรจุกลิ่นหอมต่างๆ ไว้ภายในถุงไขมันที่มีการเรียงตัวของโมเลกุลเป็นชั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชนอาศัยการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน รูปแสดงไลโพโซมที่บรรจุกลิ่นหอมไว้ภายใน จากการที่โมเลกุลกลิ่นหอมถูกบรรจุอยู่ภายในถุงไขมัน การมีถุงไขมันจะทำให้โมเลกุลกลิ่นหอมจะค่อยๆ ระเหยแทรกตัวออกจากชั้นไขมัน และชั้นไขมันจะปกป้องโมเลกุลกลิ่นหอมไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น อุณหภูมิสูง ความดันหรือแรงกดทับ ผลิตภัณฑ์ที่มีไลโพโซมนี้จึงคงกลิ่นหอมอยู่ได้นาน ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าใจการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ จากความสำคัญและประเด็นดังกล่าวจึงนำมาสู่การศึกษาการมีส่วนร่วมในการศึกษารวบรวมกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ที่มีกลิ่นหอมเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์โดยการสกัดกลิ่นด้วยเชียร์บัตเตอร์โดยชุมชน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการปลูกเลี้ยงและในสภาพโรงเรือนที่เหมาะสมต่อไป โดยการศึกษาในระบบนิเวศของกล้วยไม้สมุนไพรนกคุ้มไฟ พื้นที่ป่าชุมชนบ้านปงไคร้โดยมีชาวบ้านเป็นผู้นำการสำรวจ เพื่อให้ทราบถึงวงจรชีวิตและระบบนิเวศของกล้วยไม้ และนำกล้วยไม้ป่าที่ได้จากการขยายพันธุ์กลับคืนสู่ป่าธรรมชาติ ตามสภาพภูมิสังคมของชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อรวบรวมกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ที่มีกลิ่นหอมและอนุรักษ์นอกถิ่นอาศํยเพื่อศึกษาการเจริญเติบโต
เพื่อศึกษาวิธีการดูดซับสารหอมของกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ที่ให้กลิ่นหอมเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมสุขภาพ
เพื่อศึกษาวิธีการเก็บรักษาสารหอมในไลโพโซมของกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ที่ให้กลิ่นหอมเพื่อนำไปใช้เป็นวัตดุดิบทางอุตสาหกรรมสุขภาพ
เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : รวบรวมต้นกล้ากล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ที่มีกลิ่นหอม
KPI 1 : โครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนชนิดพันธุ์กล้วยไม้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ชนิด 10
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.188 บาท 0.188
KPI 4 : ผลของการดำเนินงานที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : รวบรวมต้นกล้ากล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ที่มีกลิ่นหอม
ชื่อกิจกรรม :
-รวบรวมกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ที่มีกลิ่นหอมและอนุรักษ์นอกถิ่นอาศัยเพื่อศึกษาการเจริญเติบโต
-เพื่อศึกษาวิธีการสกัดสารหอมในกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ที่ให้กลิ่นหอมเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมสุขภาพ
-อบรมเชิงปฏิบัติการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จุฑามาศ  พิลาดี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.สุรีย์ชล  วงศ์ประสิทธิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายบุญตัน  สุเทพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.วัชราภรณ์  สุขขี (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.จีระนันท์  ตาคำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นิศานาถ  มิตตะกัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาดูดซับกลิ่นกล้วยไม้จากเชียร์บัตเตอร์ ดูแลรดน้ำ เก็บข้อมูล ทำเอกสารประกอบการเก็บข้อมูล จำนวน 1 คน 4 งวดๆ ละ 13,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 54,000.00 บาท 54,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารอบรม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 40 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 40 คนๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำป้ายไวนิล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย(บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ(บุคลากรของรัฐ) จำนวน 4 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,800.00 บาท 18,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 19,700.00 บาท 0.00 บาท 19,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 188000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล