19037 : โครงการ "ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชและสมุนไพรในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/3/2566 11:09:36
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
08/02/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุเกษตรกร นักเรียน นักศึกษาและ ประชาชนที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณภายใต้โครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ นาตาลี อาร์  ใจเย็น
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.1 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 40. ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรคความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใดๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งเนื่องมาจากความสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพรสามารถเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย โดยคำว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพร มึความหมาย การนำพืชสมุนไพรมาแปรรูปตามหลักการการแปรรูปผลิตภัณฑ์โดยการนำส่วนของพืชสมุนไพรมาผสมปรุงหรือแปรสภาพอื่นๆ เช่น บดละเอียด โดยการเปลี่ยนแปลง สถานะของสมุนไพร ให้แตกต่างไปจากเดิม เพื่อประโยชน์ในการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น พืชสมุนไพรมีหลายชนิด และมีสรรพคุณทางยาเพื่อการรักษา บำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค ความเจ็บป่วย ที่เกิดจากพืช สัตว์จุลชีพหรือธาตุวัตถุที่มีความแตกต่างกันของรูป รส กลิ่น สี ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อให้การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีคุณภาพดี ตลอดจนการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าใกล้เคียงผลิตภัณฑ์เดิมมากที่สุด เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางประเภทไม่สามารถคงสภาพอยู่ได้นาน การแปรรูปซึ่งคงไว้คุณค่า และสรรพคุณที่ดีของพืชสมุนไพรไว้ (กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2559) ซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพจะมีต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญนั้นคือเครื่องมือเพื่ออบแห้งสมุนไพรโดยการประยุกต์ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นตัวสำคัญพร้อมทั้งวิธีและขั้นตอนในการสกัด และมีนำการทักษะในด้านการออกแบบพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์สมุนไพร สมุนไพรเป็นพืชสำคัญที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์และสามารถนำมาเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพิ่มรายได้เป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริมแก่ผู้สนใจหรือแก่ชุมชนที่มีสมุนไพรในท้องถิ่นโดยเฉพาะในเขตพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นั้นพบว่ามีสมุนไพรที่ควรค่าต่อการนำมาใช้ประโยชน์ อาทิเช่นสมุนไพรปลาไหลเผือก พื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพรเป็นพื้นที่อุดมด้วยพืชสมุนไพรโดยเฉพาะสมุนไพรปลาไหลเผือกจากปี 2562 โดยมีโครงการศึกษาองค์ความรู้ทางพันธุกรรมจำเพาะของพืชสมุนไพรปลาไหลเผือกเพื่อการอนุรักษ์สมุนไพรปลาไหลเผือกในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพรโดยโครงการนี้ได้ทำการสำรวจสมุนไพรปลาไหลเผือกพบว่าส่วนใหญ่ในพื้นที่แม่โจ้-ชุมพรจะพบชนิด Eurycoma longifolia Jack อยู่เป็นจำนวนมากและมีทั้งต้นโดยมีความสูง ˃390 เซนติเมตร และในปีเดียวกันมีการทำการเก็บรวบรวมพืชสมุนไพรท้องถิ่นในรูปเมล็ด ผล กิ่ง หัว รากเพื่อนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไว้ศึกษาโดยสมุนไพรปลาไหลเผือกเป็นหนึ่งชนิดที่ได้นำส่วนเมล็ด ผล กิ่ง หัว รากเพื่อนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และต่อเนื่องมาสู่ปี 2564 ได้รับโครงการโครงการศึกษาเปรียบเทียบสารที่พบในราก ใบ ยอด และเปลือกไม้ของพืชสมุนไพรปลาไหลเผือกเพื่อการอนุรักษ์สมุนไพรปลาไหลเผือกในบริเวณ และโครงการศึกษาและพัฒนาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลาไหลเผือก โดยโครงการทั้งสองในปี 2564 จะทำงานร่วมกันเพื่อตรวจสอบและเปรียบเทียบสาระสำคัญในราก ใบ ยอด และเปลือกไม้ทั้งที่เป็นต้นที่ได้จากส่วนพื้นที่และต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อตรวจสอบสารสำคัญในส่วนต่างๆจากรายงานฉบับสมบูรณ์ของ นิจศิรและคณะ (ม.ป.ป) การศึกษาวิจัยสมุนไพร ปลาไหลเผือก เพื่อประเมินคุณค่าและความสำคัญประกอบการพิจารณาในการประกาศให้เป็นสมุนไพรควบคุมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ได้กล่าวถึงสาระสำคัญในส่วนต่างๆของสมุนไพรปลาไหลเผือกดังนี้ ในลำต้นปลาไหลเผือก พบสารกลุ่ม quassinoids และสารกลุ่ม triterpenoids ซึ่ได้แก่สารกลุ่ม triterpene polyether และสารกลุ่ม biphenylneolignans จากส่วนเนื้อไม้ของปลาไหลเผือก ส่วนในรากปลาไหลเผือก พบสารกลุ่ม quassinoids ได้แก่ eurycomalactone eurycolactone และสาร phenylpropanoids ในใบของปลาไหลเผือก พบสาร longilactone และได้มีการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่ามีฤทธิ์ต้านมาลาเรียและปรสิต ผลต่อสมรรถภาพทางเพศและฮอร์โมน และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory activity) และสารสกัดเมทานอลจากรากปลาไหลเผือกมีสาร eurycomanone ซึ่งมีผลต่อปริมาณของ spermatocyte และปริมาณของ spermatid ระยะที่ 7 ในกระบวนการสร้างตัวอสุจิ (spermatogenesis cycle) เพิ่มมากขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เทคนิค การแปรรูปพืชสมุนไพร และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าผลิตภัณฑ์แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปในจังหวัดชุมพร และพัฒนาและฝึกทักษะ การสร้างผลิตภัณฑ์ตามแนวปรัชญาปรัชญาในการพัฒนาสังคมของรัชการที่9
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชและสมุนไพร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : - จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 5 : - ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 7 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชและสมุนไพร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ชื่อกิจกรรม :
ผลผลิต
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชและสมุนไพร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
- กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการสกัดสมุนไพรในการสร้างผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/02/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์นาตาลี อาร์  ใจเย็น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จักรกฤช  ณ นคร (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณิชาพล  บัวทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วันเป็นเงิน 5,600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คนๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,600.00 บาท 13,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 2 วันเป็นเงิน 3,600 บาท
ปฏิบัติ จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 4 คน 2 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน
ปฏิบัติ จำนวน 3 คน ๆ ละ 200 บาท 4 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,600.00 บาท 15,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวิทยาศาสตร์
เช่น แอลกอฮอร์ ขวดแก้วสีชา ชุดทำสบู่และยาสระผม ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
เช่น ขวดแก้วพร้อมฝา กะละมัง ถังน้ำ มีด เขียง กะละมัง ช้อน แม่พิมพ์ ฯลฯ เป็นเงิน 7,800 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
เช่น หมึกปริ๊นท์ ดำ สี แผ่น CD ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,800.00 บาท 20,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002 บริการ 66
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล