19036 : โครงการ "การใช้สารสกัดพืชสมุนไพรในท้องถิ่นจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  เกษตรกร ชาวประมง เยาวชน ประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบโครงการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์
นาย ชัยวิชิต  เพชรศิลา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากการศึกษาการใช้ประโยชน์จากต้นเสม็ดขาว ซึ่งเป็นสมุนไพรชายหาดที่พบมากในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ด้วยต้นเสม็ดขาวเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้น ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมนำเห็ดมารับประทาน นำยอดอ่อนมาเป็นผักเหนาะ ใบนำมาทำเป็นน้ำชาดื่ม น้ำต้มจากใบนำมาย้อมแหเพราะสีของน้ำต้มเป็นสีน้ำตาล เปลือกและลำต้นเอามาทำเสาบ้าน เป็นต้น จากที่กล่าวมาเกษตรกร ชาวบ้านบางคนยังไม่ทราบถึงการสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพร และนำเอาสารสกัดที่ได้มาใช้ประโยชน์ และจากที่ได้ทำการศึกษาการนำใบเสม็ดขาวมาใช้ประโยชน์ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2559, 2560, 2563 และ 2565 นั้น โดยได้มีการนำสารสกัดและน้ำมันหอมระเหยจากใบเสม็ดขาวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ยาหม่อง, น้ำมันเขียวสมุนไพรเสม็ดขาว (จดอนุสิทธิบัตร), สบู่สมุนไพรเสม็ดขาว, สมุนไพรกำจัดและ/หรือไล่แมลงจากสารสกัดใบแห้งเสม็ดขาวที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล, ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมสารสกัดจากเสม็ดขาว, ครีมเจลเสม็ดขาว และได้พัฒนาน้ำมันหอมระเหยมาใช้สลบสัตว์น้ำ ซึ่งจากการทำงานบริการวิชาการที่สนองต่อโครงการในพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์และการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาพัฒนาการใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนนั้น ในปีที่ผ่านมาจากการทำงานโครงการบริการวิชาการได้มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการสกัดสารจากสมุนไพรในท้องถิ่นและการนำสารสกัดสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรไล่แมลง และนำสารสกัดจากสมุนไพรมาทำผลิตภัณฑ์อเนกประสงค์ใช้ในครัวเรือนนั้น ชุมชนเป้าหมายเป็นเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้นสอบถามพบปะพูดคุยกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนั้นในโครงการครั้งนี้จะมุ่งเน้นถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการนำสารสกัดสมุนไพรในท้องถิ่น จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อกระจายองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร ชาวประมง ชุมชนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหม่ และเป็นการนำสารสกัดจากสมุนไพรในท้องถิ่นสมุนไพรไทยมาใช้ประโยชน์กับสัตว์น้ำเพื่อการเพิ่มมูลค่า และการผลิตสัตว์น้ำปลอดภัย รวมทั้งบูรณาการโดยนำฐานการเรียนรู้สวมสมุนไพรในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่คณะได้เคยรับการสนับสนุนจากโครงการบริการวิชาการ งบประมาณแผ่นดิน มาเชื่อมโยงเพื่อให้มีความต่อเนื่องในด้านการดูแลฐานการเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ โดยได้ระบุได้ในชั่วโมงกิจกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และรายวิชาที่มีความเกี่ยวข้องตามที่ได้ระบุไว้ใน มคอ.3 ประจำปีการศึกษา 2564 ด้วย สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ 1. โครงการเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi Powell) กับการใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2559 2. โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงจากเสม็ดขาว จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2560 3. โครงการ สมบัติการต้านอนุมูลอิสระและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากใบเสม็ดเพื่อเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ภายใต้ชุดโครงการ การอนุรักษ์และพัฒนาต้นเสม็ดอย่างยั่งยืน จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2563 4. โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเสม็ดเพื่อใช้ประโยชน์ในการสลบสัตว์น้ำและเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2565 แนวทางการขับเคลื่อนผลงานบริการวิชาการไปสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ การเชื่อมโยงหรือความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ใช้ประโยชน์จากงานบริการวิชาการ (Stakeholder and User Engagement) โดยระบุชื่อหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมและชุมชน โดยอธิบายกระบวนการดำเนินงานร่วมกันและการเชื่อมโยงการขับเคลื่อนผลการบริการวิชาการไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน (โปรดอธิบาย) โครงการนี้จึงเชื่อมโยงกับชุมชนเขาชวาลาหมู่ 7 ตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากการที่เคยจัดกิจกรรมอบรมโครงการบริการ ประจำปี 2565 ได้มีการแลกเปลี่ยนและเสนอแนะจากผู้นำชุมชนปาล์มแปลงใหญ่ (นายนิพนธ์ ศรีสว่าง) ได้ให้ความสนใจการนำสารสกัดจากเสม็ดขาวมาใช้ประโยชน์กับผักสวนครัว ผักในครัวเรือน ดังนั้นในปี 2566 กระบวนการดำเนินการร่วมกับชุมชนเน้นการนำสารสกัดมาใช้ประโยชน์ตามเดิม และจัดกิจกรรมทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชุมชนในปริมาณที่เหมาะสมกับการดำเนินงานของโครงการในครั้งนี้ เพื่อให้การใช้ประโยชน์สมุนไพรเสม็ดขาวในชุมชนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการติดตามประเมินผลจากการเข้าพบประพูดคุยเกี่ยวกับประสิทธิภาพและการใช้ประโยชน์เป็นช่วงๆ กับเกษตรกรในชุมชนผู้ใช้สารสกัด

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการนำสารสกัดสมุนไพรในท้องถิ่น จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของต้นเสม็ดอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเชื่อมโยงการใช้สมุนไพรและฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพรให้มีส่วนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : อบรมการใช้สารสกัดสมุนไพรในท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ร้อยละ 50
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนองค์ความรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 เรื่อง 2
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 9 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 10 : จำนวนผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : อบรมการใช้สารสกัดสมุนไพรในท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ชื่อกิจกรรม :
1 ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการใช้สารสกัดสมุนไพรในท้องถิ่น
กิจกรรม : 2 การทำสารสกัดสมุนไพรเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายชัยวิชิต  เพชรศิลา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 22 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 3,080 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,080.00 บาท 0.00 บาท 3,080.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 22 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 5,280 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,280.00 บาท 0.00 บาท 5,280.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมพืช อบและบดตัวอย่าง เก็บสมุนไพรตัวอย่างทั้งสดและอบแห้ง บดละเอียด และทำการหมักตัวอย่าง เพื่อทำผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 งาน เป็นเงิน 14,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 1 คนๆละ 200 บาท 30 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ภาคบรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน/2 ครั้ง เป็นเงิน 4,800 บาท
ภาคบรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน/2 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 2 คน 1 วัน/2 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่างานบ้านงานครัว เช่น กระดาษชำระ น้ำยาล้างจาน ขวดพลาสติก เป็นเงิน 4,040 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,040.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,040.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวิทยาศาสตร์ เช่น พิมเสน การบูร หัวเชื้อ แอลกอฮอล์ ถุงมือ กระดาษกรอง กรวยกรอง เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การเก็บใบเสม็ดขาว เก็บได้เป็นช่วงๆ เนื่องจากฝนตกบ่อย/ การเข้าชุมชมจะต้องเป็นวันรวมกลุ่มของชุมชนเท่านั้น
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานผู้รับเหมาเก็บใบเสม็ดล่วงหน้า และใบสดอาจต้องมีการปรับตามสถานการณ์อีกครั้ง/ ประสานงานกับผู้นำชุมชนหรือตัวแทนกลุ่มให้ช่วยประสานงานล่วงหน้า
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย02บริการพัชรินทร์2566-1
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเคมีทั่วไป วิชาชีวเคมีเบื้องต้น วิชาเคมีอินทรีย์ และวิชาการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 2566-2566 จำนวนทั้งหมด 20-50 คน โดยระบุไว้ในข้อตกลง มคอ 3. ของรายวิชาข้างต้น มาเข้าร่วมกิจกรรมในการดูแลสมุนไพรภายในสวนสมุนไพร การจัดหาสมุนไพรเพิ่มเติม การปลูก ขยายพันธุ์ การเก็บเกี่ยว การนำมาสกัด เทคนิคการสกัด สารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพหรือกายกาพอื่นๆ และนักศึกษาบางรายอาจต้องลงชุมชมร่วมกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ
ช่วงเวลา : 01/12/2565 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล