ชุดโครงการ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สารควบคุมกำจัดศัตรูพืชชีวภาพ และการผลิตพืชกระท่อมในระบบเกษตรอินทรีย์
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 100 ปี (2577) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสนับสนุนงานของโครงการ Well-being@chumphon โดยกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในโครงการเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการทั้งในระบบต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ทุกกิจกรรมส่งเสริมให้ยุทธศาสตร์ 100 ปี (2577) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประสบความสำเร็จ และผลการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมในชุดโครงการจะตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ ทำให้ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค รักษาสภาพแวดล้อม
จากงานวิจัย เรื่อง พัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน จากบริษัท ท่าฉาง อโกรเทค จำกัด โดยลงพื้นที่ไปใช้อุปกรณ์ปั้นเม็ดปุ๋ย ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำปุ๋ยหมักชีวภาพ หมู่ 8 ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงซึ่งมีอินทรียวัตถุสูงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 4 สูตร โดยในแต่ละสูตรประกอบด้วยธาตุอาหารพืชที่สูงและครบถ้วน และปุ๋ยทั้ง 4 สูตรที่พัฒนาขึ้นมานี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการขอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการและขอทะเบียนการค้าจากกระทรวงพานิชย์ อย่างไรก็ตามเมื่อย้อนกลับไปดูปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นเองในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลับพบว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นได้ดังกล่าวไม่สามารถขอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการและขอทะเบียนการค้าจากกระทรวงพานิชย์ ทั้งนี้เพราะเกษตรกรในกลุ่มยังขาดความรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้มีมาตราฐานและคุณสมบัติตามที่กรมวิชาการกำหนด และยังขาดความรู้เรื่องการส่งตัวอย่างปุ๋ยไปวิเคราะห์ แปรผลการวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังไม่ทราบขั้นตอนของการขอขึ้นทะเบียนการค้ากับกระทรวงพานิชย์ ดังนั้นทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำปุ๋ยหมักชีวภาพจึงได้ขอให้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ช่วยพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ของทางกลุ่มให้มีมาตรฐานและคุณสมบัติตามที่กรมวิชาการกำหนด และขอให้ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนการค้ากับกระทรวงพานิชย์ ซึ่งจากปัญหาข้างต้นดังกล่าวนับเป็นโอกาสที่ดีที่ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาซึ่งเป็นคอขวดของกลุ่มได้แล้ว ยังช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตพืชในระบบอินทรีย์ได้อีกทางหนึ่ง ทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 100 ปี (2577) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยค่าใช่จ่ายที่เกิดขึ้นในการขอขึ้นทะเบียนปุ๋ยและทะเบียนการค้าทางกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำปุ๋ยหมักชีวภาพจะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้ทั้งหมด
ข้อมูลการใช้ปัจจัยการผลิตในภาคการเกษตร พบว่า ต้นทุนประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์จะเป็นค่าปุ๋ยเคมี ดังนั้นหากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรโดยโน้มน้าวให้หันกลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งสามารถผลิตขึ้นเองได้ทดแทนแต่การใช้ปุ๋ยเคมีแต่เพียงอย่างเดียวจะส่วนลดต้นทุนการผลิตในภาคการเกษตรลงได้ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยปรับปรุงดิน ช่วยฟื้นฟูดินทำให้ดินมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเพราะปลูก และยังเป็นการช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ และในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากยิ่งขึ้นและเห็นความสำคัญของพืชที่ปลูกในระบบอินทรีย์ ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถเพาะปลูก พืชในระบบเกษตรอินทรีย์หรือระบบเกษตรที่ปลอดภัยแล้วจะทำให้เพิ่มมูลค่าของผลผลิต ปลอดภัยทั้งต่อตนเองและผู้บริโภค นอกจากนี้เป็นการช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีงานวิจัยเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการนำปุ๋ยอินทรีย์ไปใช้กับพืชเศรษฐกิจเป็นระยะเวลายาวนาน โดยร่วมมือทั้งกับภาครัฐและภาคเอกชนการวิจัยและนำไปอินทรีย์ในรูปแบบต่าง ๆ ไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะปาล์มน้ำมันกับยางพารา โดยในปี 2563 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีความร่วมมือกับโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เครือข่าย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กับบริษัท ท่าฉาง อโกรเทค จำกัด ในการวิจัยเพื่อนำวัสดุเหลือทิ้งได้แก่ ตะกอนดินขาว มีปริมาณ 4 ตันต่อวัน มาจากโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน ขี้แป้งมีปริมาณ 5 ตันต่อวัน มาจากโรงงานผลิตน้ำยางข้น ตะกอนน้ำทิ้ง ปริมาณ 24 ตันต่อวัน ขี้เถ้าปริมาณ 100 ตันต่อวัน มาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้กับพืชเศรษฐกิจของภาคใต้โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันและยางพารา นอกจากนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ยังได้ตกลงทำความร่วมมือกับบริษัท ออร์กานิคเวย์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิลผลิตภัณฑ์บำรุงพืชบำรุงดิน ตรา ออร์กานิคเวย์ ภายใต้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าจากหลากหลายมาตรฐาน เช่น JAS Organic, IFORM International, USDA และ EU Organic ซึ่งความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้งานบริการวิชาการนี้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การควบคุมแมลงศัตรูพืช โรคพืชโดยชีววิธีเป็นกรรมวิธีที่นำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยนำเอาแมลง เชื้อจุลชีพและสัตว์อื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติมาช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืช วิธีการนี้เป็นวิธีการดั้งเดิมซึ่งมนุษย์มีแนวความคิดที่จะใช้สิ่งที่มีประโยชน์ในธรรมชาติมาช่วยปราบแมลง ความรู้เก่าแก่ที่สุดในการดำเนินงานเริ่มต้นขึ้นมาในประเทศจีน โดยชาวจีนรู้จักนำเอามดตัวห้ำ (predatory ants) มาควบคุมแมลงบางชนิดในสวนส้ม และความรู้ในเรื่องการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติมาควบคุมแมลงศัตรูพืชก็กว้างขวางออกไป และนับวันจะมีบทบาทมากขึ้นเมื่อมนุษย์สามารถนำเอาสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ซึ่งเป็นการลดการใช้ยาฆ่าแมลงทำให้ผลเสียที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องลดน้อยลง
การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีจึงเป็นการใช้ประโยชน์ของศัตรูธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ตัวเบียน (parasites) ตัวห้ำ (predators) และเชื้อโรค (pathogens) ในการที่จะรักษาระดับความหนาแน่นของประชากรของแมลงศัตรูพืชชนิดใดชนิดหนึ่งให้อยู่ต่ำกว่าระดับที่จะทำให้อยู่ต่ำกว่าระดับที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต
ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชหมายถึง สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและเป็นศัตรูของแมลงศัตรูพืช ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ ตัวเบียน ตัวห้ำ และเชื้อโรค ซึ่งในกลุ่มของตัวเบียนและตัวห้ำนั้นมีทั้งที่เป็นแมลงและไม่ใช่แมลง แต่แมลงเป็นศัตรูพืชธรรมชาติที่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความสำเร็จในการควบคุมศัตรูพืชมานานแล้ว
แมลงเบียน (parasite) หมายถึง แมลงที่เบียดเบียนเหยื่อ (host) หรือเกาะกินอยู่กับเหยื่อ จนกระทั่งเหยื่อตาย และการเป็นตัวเบียนนั้นจะเป็นเฉพาะในช่วงที่เป็นตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะหากินอิสระ และในช่วงอายุหนึ่ง ๆ ต้องการเหยื่อเพียงตัวเดียวเท่านั้น
ตัวเบียนหรือแมลงเบียนมีหลายประเภท ซึ่งถ้าแบ่งตามความสัมพันธ์กับเหยื่อ จะแบ่งออกได้เป็นแมลงเบียนไข่ (egg-parasite) แมลงเบียนหนอน (larval parasite) แมลงเบียนดักแด้ (pupal parasite) แมลงเบียนตัวเต็มวัย (adult parasite) เป็นต้น ตัวอย่างของแมลงเบียน เช่น แตนเบียนไข่ หนอนกระทู้ผัก และแตนเบียนหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย แตนเบียนไข่หนอนกระทู้ผัก Chelonus sp. ตัวหนอนของแตนเบียน หนอนกระทู้ผักจะทำลายไข่ของหนอนกระทู้ผัก โดยตัวเต็มวัยของแตนเบียนจะวางไข่ลงไปในไข่ของหนอนกระทู้ผัก ตัวหนอนแตนเบียนจะอาศัยอยู่ในไข่และหนอนกระทู้ผักจนเป็นตัวเต็มวัย จึงออกมาภายนอก และวางไข่ทำลายไข่ของหนอนกระทู้ผักต่อไป แตนเบียนหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย Cotesia flavipes แตนเบียนชนิดนี้ตัวเต็มวัยจะวางไข่ลงไปในตัวหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย ตัวหนอนของแตนเบียนจะอาศัยเกาะกินอยู่ภายในลำตัวหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย จนกระทั่งโตเต็มที่จะเจาะผนังหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยออกมาเข้าดักแด้ และเป็นตัวเต็มวัยต่อไป วันที่หนอนของแตนเบียนเจาะออกมาจากลำตัว หนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย หนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยก็จะตายทันที แตนเบียนชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ
แมลงห้ำ (pradator) หมายถึง แมลงที่กินแมลงชนิดอื่น ๆ เป็นอาหาร และการกินนั้นจะกินเหยื่อ (prey) หลายตัว กว่าจะเจริญเติบโตครบวงจรชีวิต การกินจะกินเหยื่อไปเรื่อย ๆ และมักจะไม่จำกัดวัยของเหยื่อคือสามารถทำลายเหยื่อได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตัวห้ำที่เรารู้จักกันดีเช่น ด้วงเต่าชนิดต่าง ๆ ตั๊กแตนตำข้าว แมลงปอ มวนตัวห้ำ มวนเพชฌฆาต และมวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ เป็นต้น
เชื้อโรค (Insect pathogens) หมายถึง เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แมลงตายได้นั้น สามารถนำมาพัฒนาเพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชได้
ประเภทของการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี อาจแบ่งออกตามลักษณะการกระทำคือ
1. การควบคุมโดยชีววิธีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ (Naturally-occurring biological control) เป็นการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่เกิดในธรรมชาติ ณ แหล่งใดแหล่งหนึ่งโดยใช้ปัจจัยธรรมชาติ อันได้แก่ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรค ที่มีอยู่ในแหล่งนั้นมาเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณ และนำมาควบคุมแมลงศัตรูพืชในแหล่งที่ศัตรูธรรมชาติเหล่านั้นอยู่ ซึ่งวิธีการนี้รวมไปถึงการจัดการหรือส่งเสริมให้ศัตรูธรรมชาติในแหล่งนั้นมีความสามารถมากขึ้นในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในแหล่งเดิมนั้น
2. การควบคุมโดยชีววิธีแบบคลาสสิก (Classical biological control) เป็นการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยมีการนำเอาศัตรูธรรมชาติอันได้แก่ ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรค จากแหล่งอื่น ๆ หรือจากประเทศหนึ่งไปใช้ในอีกประเทศหนึ่ง โดยมากศัตรูธรรมชาติที่นำมาใช้กันได้ผลคือ ศัตรูธรรมชาติที่มีอยู่ในแหล่งดั้งเดิมของแมลงศัตรูพืช หรือกล่าวโดยสรุป การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีการนี้จะมีขั้นตอนของการนำ (Introduction) ศัตรูธรรมชาติจากแหล่งอื่น ๆ มาใช้ในอีกแหล่งหนึ่ง
3. การควบคุมโดยชีววิธีแบบประยุกต์ หรือแบบชั่วคราว (Contemporary biological control) เป็นการควบคุมโดยชีววิธี โดยอาศัยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การทำให้แมลงเป็นหมันหรือการดัดแปลงลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
4. การควบคุมโดยชีววิธีแบบร่วมสมัย (Modern biological control) เป็นการควบคุมแมลงโดยใช้สารเคมีต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ยาฆ่าแมลง แต่มีผลหรือนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงได้เช่น สารพวก hormone, pheromone และสารอื่น ๆ
โครงการบริการวิชาการนี้ จะสอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนา (Strategy) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในข้อที่ 7.พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ข้อที่ 8.พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน ข้อที่ 9.สร้างแม่โจ้ให้เป็นชุมชนสีเขียว(Green Society) ข้อที่ 10.สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษา บุคลากร และชุมชน ข้อที่ 11.พัฒนาพื้นที่ต้นแบบ "Green Campus" แบบครบวงจร
ในปัจจุบันเมื่อ กระท่อม ถูกนำออกจากบัญชี พืชเสพติด จึงเป็นโอกาสอันดีที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยและนักวิชาการเกษตรจะได้เชื่อมโยงองค์ความรู้ของพืช กระท่อม จากวิถีชาวบ้านเข้าสู่วิถีการวิจัยที่มีการศึกษา เก็บตัวเลข วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล แล้วนำผลนี้ถ่ายทอดลงสู่ชาวบ้าน ทำให้การผลิตกระท่อมเป็นไปอย่างต้องถูกตามหลักวิชาการ เกษตรกรได้รับผลผลิตสูงที่สุด ได้รายได้จากการผลผลิตสูงที่สุด ลดต้นทุนการผลิต และที่สำคัญผลผลิตจากกระท่อมสามารถพัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ
ปัจจุบันยังไม่พบข้อมูลวิธีแยกสายพันธุ์อย่างเป็นทางการ โดยส่วนมากจะเรียกชื่อตามลักษณะของใบกระท่อม และเรียกชื่อตามแต่ละพื้นถิ่นนั้นๆ หลักๆ จะจำแนกชนิดพันธุ์ตามสีของก้านใบ เช่น ก้านเขียว,ก้านแดง,ก้านขาว หรือถ้าหากใบมีเอกลักษณ์ก็จะเรียกกันตามจินตนาการ เช่น สายพันธุ์แตงกวา,สายพันธุ์หางกั้ง(บางพื้นที่ก็เรียกแมงดา) นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้ชื่อตามพื้นถิ่นที่ปลูก บวกกับลักษณะสีของก้านใบ เช่น Red Borneo คือกระท่อมที่มีก้านสีแดง ปลูกบนเกาะบอเนียว ประเทศอินโดนีเชีย หรือ Meangda Thai (แมงดาไทย) เป็นชื่อที่เรียกกันในไทย ปลูกในไทย ซึ่งลักษณะปลายใบมีเอกลักษณ์ เป็นติ่งปลายแหลม นอกจากนี้ยังพบข้อมูลว่า กระท่อมสายพันธุ์เดียวกัน เมื่อนำไปปลูกคนละพื้นที่ ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน สภาพดินต่างกัน ต้นกระท่อมอาจมีขนาดใบที่แตกต่างกัน และสร้างกลุ่มสารในปริมาณที่แตกต่างกัน ทำให้ใบกระท่อมแต่ละพื้นที่ มีสารสำคัญไม่เท่ากัน เมื่อนำไปบริโภคก็อาจจะได้ผลลัพธ์ไม่ค่อยตรงกัน อย่างเช่น ใบกระท่อมจากบางแหล่งเมื่อนำใบมาเคี้ยวเพียง 1 ใบก็อาจจะเห็นผลกับร่างกาย แต่ใบกระท่อมจากบางแหล่งเมื่อนำมาเคี้ยว 5 ใบ ก็อาจจะยังไม่เห็นผลกับร่างกายก็เป็นไปได้ ดังนั้นพื้นที่การปลูก การดูแล หรือระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว มีผลกับปริมาณสารสำคัญและคุณภาพของใบกระท่อมอย่างแน่นอน
ตัวอย่างชื่อสายพันธุ์กระท่อมรอบโลก ที่มีการเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการ
ประเทศไทย
Green Thai ก้านเขียวไทย
Effect : เพิ่มพลังงานสูง,กระตุ้นอารมณ์,กระปรี้กะเปร่า,ทนแดด,บรรเทาปวดเล็กน้อย, คลายความวิตกกังวล,ผ่อนคลายและบรรเทาความเครียด, มีสมาธิดีขึ้น
Green meangda แมงดาก้านเขียวไทย
Effect: เพิ่มพลังงานสูง,กระตุ้นอารมณ์ดี,กระปรี้กระเปร่า,ทนแดด,ผ่อนคลาย,บรรเทาปวดเล็กน้อย,มีสติและสมาธิดีขึ้น,บรรเทาอาการปวด
Red Vein Thai ก้านแดงไทย
Effect:เพิ่มความผ่อนคลาย,บรรเทาอาการปวด,ลดความเครียด,ส่งเสริมการนอนหลับที่ดีขึ้น,เพิ่มสมาธิ
White Vein Thai ก้านขาวไทย
Effect:เพิ่มพลังงานสูง,กระปรี้กระเปร่า,ทนแดดบรรเทาความเครียด,กระตุ้นอารมณ์ดี,บรรเทาปวดเล็กน้อย
นอกจากนี้กระท่อมไทยยังมีการเรียกชื่ออื่นๆแยกย่อยอีกมากมายตามแต่ละภูมิภาค เช่น ยักษา,เหรียญทอง,แตงกวา,หางกั้ง ส่วนมากพบว่าปลูกมากในภาคใต้ อาจมีภาคกลางบ้าง เหนือบ้าง อีสานบ้างปะปาย เนื่องจากขณะนั้นในประเทศไทยกระท่อมผิดกฏหมาย ต้องปลูกแบบหลบซ่อน การปลูกจึงยังไม่แพร่หลาย หลังจากนี้กฏหมายเริ่มปลดล็อคแล้ว อาจจะได้เห็นการนำไปทดลองปลูกอย่างจริงจังอีกหลายภูมิภาค เพื่อทดสอบว่าสารสำคัญในแต่ละพื้นที่มีปริมาณเท่าไหร่บ้าง
ประเทศ Indonesia
Green Indo เป็นกระท่อมอีกหนึ่งสายพันธุ์คลาสสิกของอินโดนีเซีย ปลูกกันในหลายพืื้นที่ในอินโดนีเชียพบข้อมูลว่าเป็นการผสมข้ามระหว่าง Green Malay กับ Meangda
Effect: เพิ่มพลังงาน,ตื่นตัว,ลดความวิตกกังวล,เข้าสังคมได้ดี,เพิ่มสมาธิ,ผ่อนคลาย,บรรเทาปวดเล็กน้อย
Green Ketapang เป็นสายพันธุ์ที่มีก้านสีเขียว บนเกาะบอร์เนียว อินโดนีเชีย ปลูกในพื้นที่ทางตอนใต้ของ Ketapang
Effect:เพิ่มพลังงาน,กระปรี้กระเปร่า,ผ่อนคลาย,บรรเทาปวดเล็กน้อย
Green Vein Borneo เป็นสายพันธุ์จากเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Effect:เพิ่มพลังงาน,ลดความวิตกกังวล,บรรเทาอาการคลื่นไส้,ช่วยเรื่องการย่อยอาหาร,บรรเทาอาการปวด,หลับดีขึ้น
Green Vein Kali หรือ(Super Green Kali) ปลูกบนเกาะกาลีมันตันประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก คนปลูกน้อย ค่อนข้างหายาก ขายไม่เยอะ และหลอกขายกันซะส่วนมาก ควรซื้อจากผู้ที่เชื่อถือได้เท่านั้น
Effect: เพิ่มพลัง,กระปรี้กระเปร่าและผ่อนคลายในเวลาเดียวกัน,บรรเทาปวดเล็กน้อย,มีสมาธิมากขึ้น
Green hulu kapuas ต้นกำเนิดน่าจะมาจากแถวๆเขต Kapuas Hulu Regency ในกาลิมันตันตะวันตก ประเทศอินโดนีเชีย ตั้งชื่อตามภูมิภาคที่มีต้นกำเนิดแม่น้ำ Kapuas เติบโตตามธรรมชาติ ใกล้กับแม่น้ำ Kapuas
Effect:เพิ่มพลังงาน,มีสมาธิ,บรรเทาอาการปวดเล็กน้อย,บรรเทาความวิตกกังวล
Red Bali ต้นกำเนิดของ Red Bali มักถูกโต้แย้งในหมู่ผู้ชื่นชอบกระท่อม เนื่องจากชื่อของมันมีคำว่า Bali หลายคนจึงเชื่อว่ามาจากเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย แต่ตามความเป็นจริง Red Bali อาจมีต้นกำเนิดมาจากเกาะบอร์เนียวซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และยังพบในแถบพื้นที่ป่า Djongkong ว่ากันว่าชื่อของสายพันธุ์นี้มาจากจุดส่งออก Kratom ที่คึกคักที่สุดของอินโดนีเซีย(บาหลี) นอกจากนี้ยังพบข้อมูลว่าว่าสายพันธุ์นี้มีอยู่ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ของมาเลเซีย ปาปัวนิวกินี เมียนมาร์ และไทย สาเหตุที่ได้ชื่อ Red Bali เพราะพันธุ์นี้ให้เอฟเฟคความสงบผ่อนคลาย แต่ไม่ได้มีต้นกำเนิดที่บาหลี แต่ชื่อบาหลีติดอยู่กับสายพันธุ์นี้เนื่องจากชื่อเสียงของบาหลีในเรื่องความสงบสุข
Effect:บรรเทาความรู้สึกไม่สบาย,ผ่อนคลาย,บรรเทาปวด,เพิ่มพลังงานเล็กน้อย,ลดความวิตกกังวล,หลับดีขึ้น
Red Hulu Kapuas ต้นกำเนิดน่าจะมาจากแถวๆเขต Kapuas Hulu Regency ในกาลิมันตันตะวันตก ประเทศอินโดนีเชีย ตั้งชื่อตามภูมิภาคที่มีต้นกำเนิดแม่น้ำ Kapuas เติบโตตามธรรมชาติ ใกล้กับแม่น้ำ Kapuas
Effect:เพิ่มพลังเล็กน้อย,บรรเทาความเครียด,บรรเทาอาการปวด,ช่วยในการนอนหลับ,ลดความวิตกกังวล
Red Indo เป็นสายพันธุ์คลาสสิกของอินโด ใบสีแดงและคล้ายกับพันธุ์ Red Vein Kali มีการปลูกบนเกาะหลายแห่งในอินโดนีเซีย
Effect:เพิ่มพลังเล็กน้อย,เสริมสร้างอารมณ์ผ่อนคลาย,บรรเทาอาการปวด,ลดความวิตกกังวล,ช่วยเรื่องการนอนหลับ,มีสมาธิ
Red Borneo สายพันธุ์นี้มาจากเกาะบอเนียวโดยทั่วไปสายพันธุ์นี้ มักจะเติบโตตามริมฝั่งแม่น้ำ ส่งผลให้มีเปอร์เซ็นต์อัลคาลอยด์สูงกว่าเมื่อเทียบกับพันธุ์ เกาะนี้มีสถาพแวดล้อมที่ดี ป่าอุดมสมบูรณ์ ดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเจริญเติบโตของกระท่อม
Effect:เพิ่มพลังงานเล็กน้อย,เพิ่มระดับความสุข,บรรเทาอาการปวด,ลดความวิตกกังวล,ผ่อนคลาย,บรรเทาความเหนื่อยล้า,หลับง่าย
White Meangda เป็นสายพันธุ์ ที่มีใบเส้นสีขาว หรือเรียก แมงดาก้านขาว สายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมของหลายคน ซึ่งพบข้อมูลว่ามีต้นกำเนิดในประเทศไทย จริงอยู่ที่สายพีนธุ์นี้มีต้นกำเนิดในประเทศไทย แต่ด้วยกฏหมาย ณ ขณะนั้นไม่เอื้ออำนวย จึงพบว่าสายพันธุ์นี้ได้มีการนำไปปลูกกันแพร่หลายในอินโดนีเซียและภูมิภาคอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเชียขายสายพันธุ์นี้ส่งออกไปทั่วโลก
Effect:เพิ่มพลังงาน,ลดความวิตกกังวล,บรรเทาอาการปวด,ลดความเครียด,กระตุ้นอารมณ์ผ่อนคลาย,มีสมาธิ
White Borneo เป็นสายพันธุ์จากเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเกาะที่มีป่าฝนขนาดใหญ่ ติดกับสามประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน
Effect:เพิ่มพลังงาน,มีสมาธิ,บรรเทาความเครียด,บรรเทาปวดเล็กน้อย
White Indo พันธุ์นี้มาจากอินโดนีเชีย มักใช้เรียกกระท่อมที่มีก้านสีขาว โดยแหล่งปลูกสองแห่งที่มีชื่อเสียงสำหรับสายพันธุ์นี้คือเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว หากปลูกบนเกาะสุมาตรา คนพื้นถิ่นเรียกว่า White Vein Sumatra หากปลูกที่บอร์เนียว ก็อาจจะเรียก White Borneo แต่ปริมาณสารต่างๆจะไม่เท่ากัน เป็นต้น
Effect:เพิ่มพลังงาน,กระตุ้นอารมณ์,ผ่อนคลาย,บรรเทาปวดเล็กน้อย
White Ketapang สายพันธุ์นี้มาจากเขต (Ketapang Regency) อยู่ทางตอนใต้ ของกาลิมันตันตะวันตก (West Kalimantan) ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นส่วนหนึ่งของเกาะบอร์เนียว เป็นที่รู้จักกันดีว่าสายพันธุ์ White Ketapang มีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งให้อัตราความแรงที่สูงมากทำให้ออกฤทธิ์เร็วมาก ผู้ใช้บางคนกล่าวว่าหลังการบริโภคภายใน15นาทีหรือเร็วกว่านั้นก็ออกฤทธิ์อย่างชัดเจน
Effect:เพิ่มพลังงาน,ร่าเริง,เพิ่มสมาธิ,บรรเทาปวดเล็กน้อย
ประเทศ Malaysia
Green Malay เติบโตตามธรรมชาติในป่าเขตร้อนของมาเลเซีย
Effect:เพิ่มพลังงาน,ผ่อนคลาย,มีสมาธิ,มองโลกในแง่ดี,บรรเทาอาการปวดเล็กน้อย
สุดท้ายแล้วในปัจจุบันการจำแนกสายพันธุ์ หลักๆ จะดูเพียงสีก้าน และลักษณะใบตามแต่ละพื้นที่ แล้วก็
เรียกชื่อตามแต่ละพื้นที่ ในแต่ละพื้นที่ก็เรียกไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นสายพันธุ์เดียวกัน เมื่อนำไปปลูกต่างที่ก็อาจจะมีการเรียกคนละชื่อ ดังนั้น ณ ปัจจุบัน พืชกระท่อมยังไม่พบข้อมูลการจำแนกความแตกต่างของแต่ละสายพันธ์ได้อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามพืชกระท่อมยังคงต้องมีการศึกษาทดลองกันต่อไป จนกว่าจะมีจุดที่สามารถแยกสายพันธุ์ได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันถูกกฏหมายแล้ว อีกไม่นานคงมีข้อมูลที่เป็นทางการเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลเพิ่มเติมคือ ก้านเขียว ก้านขาว ก้านแดง อาจขึ้นอยู่กับระยะการเก็บเกี่ยวด้วย ก็เป็นไปได้ อาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องสายพันธุ์ เนื่องจากบางต้นอาจมีทั้งก้านสีแดงและสีเขียวในต้นเดียวกัน
งานบริการวิชาการเรื่องนี้ สอดคล้องกับแนวประราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการพึ่งพาตนเอง เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต โครงการ
กระท่อม เป็นภูมิปัญญาที่ชาวบ้านนำมาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในลักษณะของภูมิปัญญาการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ กินใบเพื่อกินแก้อาการง่วงทำให้สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ เช่น เคี้ยวใบในขณะลงแปลงกรีดยางพาราในช่วงระหว่าง 02.00-06.00 น. เป็นต้น ความรู้ทั้งเรื่องพันธุ์ วิธีการปลูก การดูแลรักษา ชาวบ้านจะมีองค์ความรู้มากกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะอาจารย์ในมหาวิทยาลัยและนักวิชการเกษตร เนื่องด้วยที่ผ่านมา กระท่อม ยังถูกจัดไว้เป็นพืชเสพติด ทำให้การศึกษาวิจัยในต้นกระท่อมกระทำไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย
โครงการนำองค์ความรู้
การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้ทางใบปาล์มน้ำมันแบบไม่กลับกอง การผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากวัตถุเหลือทิ้งจากโรงงานปาล์มน้ำมันและยางพารา
การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้เชื้อราเมธาไรเซียม เพื่อกำจัดด้วงแรด
การเพาะพันธุ์พืชกระท่อม การจำแนกกระท่อมสายพันธุ์ต่างๆ
งานวิจัย : พัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน
: การผลิตปุ๋ยน้ำหมักระบบอัตโนมัติแบบเดิมอากาศ
: ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 3-5-5 ต่อการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน
: ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 3-5-5 ต่อการให้ผลผลิตของยางพารา
: การใช้สารสกัดจากต้นเคี่ยมเพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน
สอดคล้องกับ SDGs :
SDG 1 No Poverty คำอธิบาย เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ (End poverty in all its forms everywhere) เป็นเป้าหมายที่ว่าด้วยการลดความยากจนทั้งทางเศรษฐกิจ และความยากจนในมิติอื่น ๆ ด้วย (ตามการนิยามของแต่ละประเทศ) ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ทั้งชาย หญิง เด็ก คนยากจน และกลุ่มคนเปราะบาง เป้าประสงค์ของเป้าหมายนี้ครอบคลุมประเด็นการ ยกระดับรายได้ของผู้คนให้สูงกว่า $1.25 ต่อวัน หรือประมาณ 37.78 บาท (1.1) และลดสัดส่วนของความยากจนในมิติต่างๆ ของ คนทุกกลุ่มให้เหลือครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 (1.2) เน้นการใช้ระบบและมาตรการคุ้มครองทางสังคม (1.3) และการสร้าง หลักประกันในเรื่องสิทธิของการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ บริการพื้นฐาน รวมถึง กรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและทรัพย์สิน (1.4) นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิต้านทานให้กับคนยากจนและเปราะบางจากภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจสังคม และที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศด้วย ในทางนโยบาย เป้าหมายนี้จะเน้นให้มีการช่วยเหลือกันระหว่างประเทศ โดยการระดม ทรัพยากรที่หลากหลายไปช่วยประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า เพื่อลงทุนในโครงการที่ขจัดความยากจน (1.a) ให้นโยบายในระดับต่าง ๆ คำนึงถึงความละเอียดอ่อนด้านเพศสภาพและความยากจน
1.4 Community antipoverty programmes
1. โครงการบริการวิชาการ และโครงการบูรณาการ ต่างๆ โดยเป็นโครงการที่มีลักษณะดังนี้ - ให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนท้องถิ่นช่วยในการเริ่มต้น ธุรกิจที่ยั่งยืน ผ่านการศึกษา อบรม การให้คำปรึกษา หรือเข้าถึงแหล่งข้อมูลและสิ่งอำนวยความสะดวกของ มหาวิทยาลัย
|