18541 : โครงการเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากมะม่วงหาวมะนาวโห่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/7/2565 13:44:41
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/07/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  อาจารย์ นักศึกษา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และผู้ประกอบการ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีเงินงบประมาณ 2565 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์  พิมพ์พิมล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 6.การพัฒนาตามยุทธศาสตร์/อัตลักษณ์/ภารกิจเฉพาะของส่วนงาน
เป้าประสงค์ ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 6.4.EN65 จำนวนผลิตภัณฑ์ (Produce Champion) ด้านเกษตรและอาหาร
กลยุทธ์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบของคณะ สามารถต่อยอดเพื่อหารายได้ให้แก่คณะ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cariassa carandas L. อยู่ในวงค์ APOCYNACEAE จัดเป็นผลไม้สมุนไพรชนิดหนึ่ง ลักษณะของผลจะมีสีแดงเรียวเล็กคล้ายกับมะเขือเทศราชินี รสชาติของผลสุกจะออกหวาน ผลมีสีม่วงเข้มหรือดำ เรียกว่า “มะม่วงหาว” แต่ถ้ายังไม่สุกมีรสเปรี้ยว ผลมีสีขาว-ชมพู หรือ ชมพูเข้ม เรียกว่า “มะนาวโห่” มีสรรพคุณแก้ไอ แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ มีธาตุเหล็กและวิตามินซีสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระจากแอนโทไซยานิน และฟีนอลิก จากงานวิจัยพบว่ามะม่วงหาวมะนาวโห่ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน เช่น ราก ใบ ยอดอ่อน เมล็ด เนื้อไม้ และผล โดยเมื่อผ่าผลจะมียางสีขาว มีรสฝาด และมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก สามารถรับประทานสด หรือนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถนำมะม่วงหาวมะนาวโห่มาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น สบู่ โลชั่น หรือแชมพูได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมะม่วงหาวมะนาวโห่มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล ช่วยลดการอักเสบของแผลเรื้อรังได้ดี และช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันตลาดเครื่องดื่มคาดการณ์ปี 2562-2564 การบริโภคเครื่องดื่มในประเทศ (สัดส่วน 90% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด) มีแนวโน้มเติบโตเล็กน้อยตามภาวะเศรษฐกิจ โดยตลาดเครื่องดื่มสำคัญทั้งน้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เบียร์ และสุรา เริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว ขณะที่ภาครัฐมีมาตรการต่างๆ เพื่อลดอัตราการบริโภคเครื่องดื่มกลุ่มที่ส่งผลกระทบหรือมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมน้ำตาลสูง เป็นต้น นอกจากนี้กำลังซื้อของกลุ่มผู้บริโภคฐานรากที่ยังอยู่ในระดับต่ำยังเป็นปัจจัยบั่นทอนการเติบโตของตลาด จึงทำให้มีผู้ที่หันมาบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำผัก-ผลไม้กันมากขึ้น โดยเห็นได้จากอัตราการเติบโตของตลาดน้ำผัก-ผลไม้ในปี พ.ศ. 2561 ที่มีอัตราการเติบโต 2.3% คิดเป็นมูลค่า 2,663 ล้านบาท นอกจากนี้กลุ่มตลาดผลิตภัณฑ์ชาชงมีแนวโน้มในการเติบโต 4.5% คิดเป็นมูลค่า 2,743 ล้านบาท และมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร จึงมีแนวคิดในการนำมะม่วงหาวมะนาวโห่นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคือ น้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ในส่วนของเนื้อ เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคน้อยเพราะรสชาติที่เปรี้ยวและฝาดของผลิตภัณฑ์ นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคือ น้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ ที่มีสารแอนโทไซยานิน สารประกอบฟีนอลิกรวม และมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์มีรสชาติ และคุณภาพดี
เพื่อต่อยอดน้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่สู่เชิงพาณิชย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากมะม่วงหาวมะนาวโห่
KPI 1 : จำนวนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากมะม่วงหาวมะนาวโห่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 2 : จำนวนมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 มาตรฐาน 1
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 4 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนสถานประกอบการที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 สถานประกอบการ 1
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1 ล้านบาท 0.1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากมะม่วงหาวมะนาวโห่
ชื่อกิจกรรม :
การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากมะม่วงหาวมะนาวโห่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์จักรพงษ์  พิมพ์พิมล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าจ้างเหมาตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ 10,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาตรวจคุณค่าทางโภชนาการ 10,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาทำฉลากผลิตภัณฑ์ 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน 5 คน วันละ 200 บาท จำนวน 2 วัน = 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร แฟ้ม ปากกา = 10,000 บาท
-วัสดุเกษตร เช่น มะม่วงหาวมะนามโห่ น้ำตาล เกลือ = 20,000 บาท
-วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ถุงมือวิทยาศาสตร์ กรดซิตริก = 20,000 บาท
-วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น บรรจุภัณฑ์ = 18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 68,000.00 บาท 0.00 บาท 68,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล