18447 : โครงการบริการวิชาการโดยบูรณาการกับรายวิชาหลักสูตร: การแปลตำราอาหารพื้นบ้านล้านนาจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์หทยา อนันต์สุชาติกุล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/6/2565 14:42:04
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
17/06/2565  ถึง  30/06/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  3  คน
รายละเอียด  จำนวนชุมชนในพื้นที่ศึกษาของโครงการวิจัยฯ ใน จ.เชียงใหม่ (บ้านสันป่าเปา อ.สันทราย, บ้านปางมะกล้วย ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง, และ บ้านดอนเจียง ต.สบเปิง อ.แม่แตง) และบุคคลทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2565 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หทยา  อนันต์สุชาติกุล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.14 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA65-มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA65-2.8 มีการบริการวิชาการที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา
ตัวชี้วัด LA65 -2.8 5.จำนวนโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอนและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา (ตัวชี้วัดคณะ)
กลยุทธ์ LA65-2.7-3. ส่งเสริมความร่วมมือการจัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA65 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC):การผลิตบัณฑิต หลักสูตร และการพัฒนานักศึกษา
เป้าประสงค์ LA65 -2.2เสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ ส่งเสริมและผลักดันหลักสูตรให้มีการพัฒนานักศึกษา 5 ด้าน
ตัวชี้วัด LA65-2.2-9 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ LA65-2.2-3.ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่นักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในการเรียนการแปลภาษานั้น การฝึกฝนเป็นเรื่องที่สำคัญ ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาภอ 241 การแปลเพื่อการสื่อสาร นักศึกษาจะได้ฝึกแปลด้วยแบบฝึกหัดที่อาจารย์ผู้สอนนำมาจากแหล่งต่างๆ ในภาคการศึกษาที่ 2/ 2564 คณาจารย์ผู้สอนเห็นว่าตำราอาหารพื้นบ้านล้านนาที่จัดทำโดยโครงการวิจัยพืชพื้นถิ่นล้านนา (ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)) และเผยแพร่เป็นภาษาไทยทางเว็บไซต์ LPBG | Local Plant Based Gastronomy (https://lpbgcnx.com) เป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่มีตัวบทที่เป็นประโยชน์สำหรับการฝึกแปลตัวบทประเภทอธิบายความจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของรายวิชา คณาจารย์ผู้สอนจึงได้กำหนดให้นักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนเรียนแปลตำราอาหารดังกล่าวโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงงาน (กลุ่ม) ซึ่งนอกจากนักศึกษาจะได้ฝึกทักษะการแปลแล้ว นักศึกษายังได้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหารและพันธุ์พืชสมุนไพรอีกด้วย เมื่อคณะทำงานโครงการวิจัยพืชพื้นถิ่นล้านนา ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนดังกล่าว จึงแสดงความจำนงที่จะได้รับการสนับสนุนในการรวบรวมตำราอาหารฉบับภาษาอังกฤษเพื่อนำไปใช้เป็นคู่มือฉบับภาษาอังกฤษให้ชุมชนในเครือข่ายของโครงการนำไปใช้การประกอบกิจกรรมด้านการเผยแพร่วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของชุมชน และเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวสู่สาธารณชนให้กว้างขวางทางเว็บไซต์ ดังนั้น เพื่อให้ตำราอาหารดังกล่าวมีคุณสมบัติพร้อมที่จะเผยแพร่ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขผลงานของนักศึกษาให้ถูกต้องและสมบูรณ์พอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ตำราอาหารพื้นบ้านล้านนาเป็นภาษาอังกฤษ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ตำราอาหารพื้นบ้านล้านนา (E-book)
KPI 1 : ตำราอาหารพื้นบ้านล้านนา (E-book)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เล่ม 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ตำราอาหารพื้นบ้านล้านนา (E-book)
ชื่อกิจกรรม :
ปรับปรุงแก้ไขบทแปลตำราอาหารพื้นบ้านล้านนาฉบับภาษาอังกฤษที่จัดทำโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ภอ 241 การแปลเพื่อการสื่อสาร ภาคการศึกษา 2-2564 เพื่อจัดทำเป็น E-book เผยแพร่ทาง https://lpbgcnx.com/

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/06/2565 - 30/06/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์หทยา  อนันต์สุชาติกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.นิทัศน์  บุญไพศาลสถิตย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
Unit 7 Thai-English Translation: Expository genre
ช่วงเวลา : 01/02/2565 - 30/06/2565
ตัวชี้วัด
5.2 กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
อาหารพื้นบ้านล้านนนา
ช่วงเวลา : 01/02/2565 - 30/06/2565
ตัวชี้วัด
สมศ 10 การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล