18233 : โครงการ “ธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม ; สร้างฝายมีชีวิตเพื่ออนุรักษ์คน น้ำ ป่า และอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประจําปี 2565”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.อุรัชชา สุวพานิช (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/3/2565 11:23:42
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
07/03/2565  ถึง  07/04/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  57  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย 1. ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 7 คน 2. นักศึกษา คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 10 คน 3. ชาวชุมชนบ้านแม่ปาน – สันเกี๋ยง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน 4. ผู้แทนจากหน่วยงาน/องค์การ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน จำนวน 10 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณสนับสนุนจากเงินบริจาคสนับสนุนหน่วยงานเพื่อศึกษา วิจัยและบริการวิชาการ โครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม : สร้างฝายมีชีวิตเพื่ออนุรักษ์น้ำ ป่า คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 20,000.- บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) 2565 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
อาจารย์ ดร. ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์
น.ส. อุรัชชา  สุวพานิช
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.24 จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.4.3 พัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร ให้น่าสนใจและทันสมัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65info-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจ (MOC) (ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
เป้าประสงค์ 65Info-2.6 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยการรักษา เผยแพร่และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด 65Info2.26 ระดับความสำเร็จในการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ 65Info-2.6.2 การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของบุคลากร ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันและผู้ประกอบการ ในการสืบสานประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินงานโครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม; แม่ปาน – สันเกี๋ยง โมเดล ของคณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร (รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์) โดยการน้อมนำและสืบสานพระราชดำริและศาสตร์แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี มาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ คือ การระเบิดจากข้างใน เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา บนรากฐานของ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ผสานกับรากเหง้าขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน ส่งเสริมชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติ ให้ดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ภายใต้ทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ และสร้างเครือข่ายให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง ใช้ระบบประชาธิปไตยร่วมตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมต่อหลักปฏิบัติ ในการใช้หลักธรรมนำความรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงให้กับผืนป่า น้ำ และชุมชน ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อความสุขที่ยั่งยืน รวมถึงการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และจากการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ชุมชนได้ตระหนักถึงความสําคัญของการฟื้นฟูป่า รักษา พัฒนา และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อกักเก็บรักษาน้ำไว้ใช้ทั้งบริโภคและการเกษตร จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ชุมชนนำแนวคิดการแก้ปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ในโอกาสนี้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เห็นถึงความสําคัญของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นสืบสาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษา สืบทอดประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมการเกษตรร่วมกับท้องถิ่นชุมชน จึงได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน ระหว่างคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด, ชุมชนบ้านแม่ปาน – สันเกี๋ยง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภายใต้โครงการ “ธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม; สร้างฝายมีชีวิตเพื่ออนุรักษ์คน น้ำ ป่า และอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านการบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ของคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในการสนับสนุนและผลักดันการมีส่วนร่วมสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ และการจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ พร้อมไปกับการดำรงรักษา ถ่ายทอดและเผยแพร่ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมการเกษตร เพื่อการสร้างอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน เพื่อความยั่งยืนในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์การภาครัฐและภาคเอกชน ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่าและน้ำ ร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน
2. เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมการเกษตร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ “สร้างฝายมีชีวิต เพื่ออนุรักษ์คน น้ำ ป่า และอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดและเผยแพร่ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมการเกษตร สร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ และการจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อการสร้างอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กับท้องถิ่นและชุมชน
KPI 1 : เครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กับท้องถิ่นและชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 หน่วยงาน 5
KPI 2 : ร้อยละของชุมชนบ้านแม่ปาน – สันเกี๋ยง ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ และการจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผลงาน/สื่อวิดีโอ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ซึ่งได้ผ่าน กระบวนการพัฒนานักศึกษาที่สร้างสรรค์ และนำสู่การเผยแพร่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลงาน 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดและเผยแพร่ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมการเกษตร สร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ และการจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อการสร้างอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กับท้องถิ่นและชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการน้ำ เพื่อการอนุรักษ์คน น้ำ ป่า สู่อาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/03/2565 - 18/03/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางปฏิบัติงาน (บุคลากร)
- เช่าที่พัก จำนวน 4 ห้อง x 600.- บาท x 2 คืน = 4,800.- บาท
- ค่าพาหนะเดินทาง ค่าจ้างเหมาเช่ารถ(รถตู้) จำนวน 1 คัน x 1,800.- บาท x 3 วัน = 5,400.- บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 100.- บาท x 3 มื้อ = 9,000.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 19,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรถเช่า (รถตู้; มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย เชียงใหม่ ไป - กลับ บ้านแม่ปาน – สันเกี๋ยง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่) โดยประมาณการ จำนวน 1 คัน x 800.- บาท = 800.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
ชื่อกิจกรรม :
สํารวจพื้นที่ และจัดสร้างฝายชะลอน้ำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/03/2565 - 18/03/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายพงษ์ชัยยุทธ  กองสถาน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
(รายละเอียดการเบิกจ่ายปรับงบประมาณ ดำเนินการร่วมกับกิจกรรมที่ 1)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
ผลิตผลงานสื่อวิดีโอ “น้ำกับชีวิต และอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/03/2565 - 05/04/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสมพร  เกตุตะคุ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายพงศ์กฤตน์  ภูริชพิสิฐกร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
(รายละเอียดการเบิกจ่ายปรับงบประมาณ ดำเนินการร่วมกับกิจกรรมที่ 1)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้เป็นอุปสรรคในการจัดกิจกรรมนอกพื้นที่ และการอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบ Onsite ในลักษณะการรวมกลุ่มซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากได้ยาก
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
วางแผนการจัดกิจกรรมฯ กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมฯ และควบคุมการเว้นระยะห่างให้เป็นไปตามาตรการควบคุม และการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศของจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล