17910 : โครงการพัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรในชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นายกฤษฎิ์ พลไทย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 31/8/2565 10:38:01
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
31/08/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2565 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย กฤษฎิ์  พลไทย
น.ส. ฐิตาภรณ์  ปิโม
อาจารย์ ดร. เชษฐ์  ใจเพชร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.6 ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.3 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 39. ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เนื่องจากงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีความพร้อมในด้านศักยภาพของบุคลากร องค์ความรู้ ฐานการเรียนรู้ โครงการและงานวิจัย เป็นที่ยอมรับของบุคคลภายนอกมาในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการแก่สังคมในวงกว้าง ซึ่งปัจจุบันยังมีศักยภาพในการผลิตด้านสัตว์น้ำ พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ ภายใต้นโยบายของรัฐบาลและมหาวิทยาลัย ในด้านการเกษตรแบบปลอดสารพิษ เพื่อคืนโอกาสให้แก่สังคม แต่ด้วยที่ผ่านมาจากวิชาการต่างๆยังคงกระจายอยู่ทั่วไปทำให้ประชาชนทั่วไปมองเห็นและจับต้องค่อนข้างลำบาก ซึ่งอาจเป็นผลให้มหาวิทยาลัยเสียโอกาสทั้งในด้านอัตลักษณ์ที่มีค่าและมีผลกระทบสืบต่อมาถึงจำนวนนักศึกษาที่ลดน้อยลงไปด้วยเหตุที่ภาพรวมของสังคมยังมองไม่เห็นความชัดเจนของโอกาสในการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ดังนั้นผู้ดำเนินโครงการจึงมองเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีมากในการที่จะเปลี่ยนวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบันที่ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสาเหตุสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ภัยธรรมชาติ ระบบการเมือง ตลอดจนโรคระบาดเช่นโควิด -19 โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้แสดงศักยภาพผู้นำทางความคิด ด้วยการรวบรวมองค์ความรู้ พัฒนาถ่ายทอดสู่ชุมชน โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมให้ชุมชนเลี้ยงปลาดุลูกผสมและการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว โดยการขายตรงและการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้มีความพร้อมในด้านศักยภาพขององค์ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่อยู่แล้วเกินกว่า 80% ในปัจจุบันและมีการทดลองปฏิบัตินำร่องมาแล้วระยะหนึ่ง ทำให้มองเห็นโอกาสความเป็นไปได้ของการดำเนินโครงการเกือบ 100% ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้มีความพร้อมในด้านศักยภาพขององค์ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่อยู่แล้วเกินกว่า 80% ในปัจจุบันและมีการทดลองปฏิบัตินำร่องมาแล้วระยะหนึ่ง ทำให้มองเห็นโอกาสความเป็นไปได้ของการดำเนินโครงการเกือบ 100% จึงได้นำเสนอแนวคิดและโครงการมา เพื่อขอสนับสนุนเติมเต็มในส่วนที่ยังขาด ประเภทพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อสนับสนุนแก่ชุมชน (พันธุ์ปลาดุก, พันธุ์หอยเชอรี่สีทอง) ซึ่งโครงการดังกล่าว อาจจะไม่สามารถตอบแทนในลักษณะรายได้จากผลกำไรที่สูง และอาจะต้องใช้เวลา 1 – 2 ปี ในการหมุนเวียน แต่โครงการดังกล่าวยังมีจุดเด่นจุดแข็งที่สามารถสร้างฐานรากแก่ชุมชนให้เข้มแข็งขึ้นจากเดิม ทั้งยังเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นในอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและที่สำคัญจะเป็นโครงการที่ยั่งยืนต่อเนื่อง หมุนเวียนรายได้เลี้ยงตัวเองได้ เป็นโมเดลให้กับสังคม ได้ยึดเป็นแนวทางต่อไป’

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาส่งเสริมให้เกิดอาชีพในชุมชน
2. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตการเกษตรไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับในอนาคต
3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการบริการวิชาการให้สอดคล้องกับโครงการ Well-Being@Chumphon
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานการเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมชมฐาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
85 ร้อยละ 85
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าชมฐาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานการเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
ชื่อกิจกรรม :
ถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 31/08/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายกฤษฎิ์  พลไทย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.ฐิตาภรณ์  ปิโม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เชษฐ์  ใจเพชร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ทำให้การร่วมกลุ่มประชุม มีปัญหาเนื่องจากไม่สามารถร่วมกลุ่มใหญ่ๆ ได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ใช้วิธีการติดต่อประสานงานถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านช่องทางระบบ online
นัดพบปะกลุ่มย่อย เป็นบางครั้ง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล