17829 : โครงการจัดการพลังงานทางเลือกของชุมชนอย่างยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/1/2565 11:06:39
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกรและชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2565 50,000.00
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบบริการวิชาการ ประจำปี พ.ศ. 2565 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ วิชชุดา  เอื้ออารี
อาจารย์ ดร. จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 1.1 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ สมเด็จพระนางเจา พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ ที่มีพระราชดําริโครงการขึ้นอยู่มากมายหลายโครงการ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของพลังงานในทุกด้าน ทั้งน้ำ แสงอาทิตย์ ลม และเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งพระองค์ทรงเป็น พระบิดาแห่งพลังงานไทย ทรงใช้ดิน น้ำ ลม ไฟให้เกิดประโยชน์สูงสุด และในสถานการณ์โลกปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือมลภาวะเป็นพิษ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกเรื่องหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากไปห่อหุ้มโลกชั้นบรรยากาศ อันเป็นการปิดกั้นไม่ให้มีการระบายความร้อนเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่พระองค์ตรัสถึงเรื่องการใช้พลังงานว่า "...ถ้าน้ำมันเชื้อเพลิงหมดแล้ว ก็ใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่นได้ มีแต่ต้องขยัน หาวิธีที่ทำให้เชื้อเพลิงเกิดใหม่เชื้อเพลิงที่เรียกว่าน้ำมันนั้นมันจะหมดภายในไม่กี่ปีหรือไม่กี่สิบปีก็หมด ถ้าไม่ได้ทำเชื้อเพลิงทดแทนเราก็เดือดร้อน...” ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2548 การลดสภาวะโลกร้อนตามแนวพระราชดำรินั้น ต้องมีการบูรณาการและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนด้วย โดยเฉพาะเรื่อง "ดิน-น้ำ-ป่าไม้"ซึ่ง ดิน ใช้ทฤษฎีจัดการพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมทฤษฎีหญ้าแฝก และทฤษฎีแกล้งดิน ส่วน น้ำ ใช้ทฤษฎีกำจัดน้ำเสีย และ ป่าไม้ ใช้ทฤษฎีการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธารและทฤษฎีป่าชายเลนและการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ซึ่งการสร้างความมั่นคงจากหลากหลายของแหล่งพลังงาน เทคโนโลยีท้องถิ่นแทนการนำเข้าเทคโนโลยีจากภายนอก ใช้พลังงานสะอาดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดโลกร้อน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาล ที่ยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง เศรษฐกิจพอเพียง และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนการและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระดับชุมชน โดยทิศทางพลังงานชุมชน ประจำปี 2560 จะมุ่งเน้นดำเนิน กิจกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน เพื่อตอบสนองต่อแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและการประหยัดพลังงาน โดยที่ชุมชนเองยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อครัวเรือนได้อีกด้วย ในประเทศที่มีพื้นฐานของการผลิตภาคการเกษตรอย่างเช่นประเทศไทนเรานั้น แนวความคิด Zero waste ที่เกิดในภาคอุตสาหกรรมทำให้ขยายต่อไปสู่ภาคการผลิตทางเกษตรกรรม ต่างให้ความสนใจในวิธีการตามแนวคิด Zero waste agriculture ที่จัดการระบบการผลิตทางการเกษตรให้ปลอดวัสดุเหลือใช้ หรือ การทำให้ขยะเหลือน้อยที่สุดและกำจัดที่เหลือ (residue)ด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล รวมทั้งการลดการใช้ สารเคมีในการผลิตทางการเกษตร การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองและการนำขยะอินทรีย์มาแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักโดยผ่านกระบวนการย่อยสลายด้วยไส้เดือนดิน กระบวนการผลิตกล้วยเล็บมือนางอบ ซึ่งเป็นผลไม้ประจำท้องถิ่นของภาคใต้และนิยมปลูกกันมากในจังหวัดชุมพร ขั้นตอนและกระบวนการผลิต การอบ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ การจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตและการจัดการภาพรวมของทั้งสายการผลิต ยังพบว่ามีการสูญเสียพลังงานในบ้างขั้นตอนไป ในส่วนของวัตถุดิบที่ไม่ผ่านมาตรฐานการบรรจุภัณฑ์ เช่น สีของผลิตภัณฑ์ไม่สม่ำเสมอ ขนาดและรูปร่างที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำวัตถุดิบที่ไม่มาตรฐานการบรรจุภัณฑ์มาพัฒนาการนำขยะกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้มากที่สุด เช่น การนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยผ่านกระบวนการย่อยสลายด้วยไส้เดือนดินหรือการนำไปประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนองโครงการตามแนวพระราชดำริด้านการจัดการด้านพลังงานทดแทนและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษในสถานการณ์โลกปัจจุบัน รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการพลังงานทางเลือก
2. ชาวบ้านในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรในท้องถิ่น อีกทั้งชุมชนยังให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทางเลือก
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ชาวบ้านในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
KPI 1 : ระยะเวลาการจัดอบรมการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบมีส่วนร่วมที่เป็นมิตรด้านด้านพลังงานทางเลือก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ครั้ง 2
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 4 : ชาวบ้านในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : คุณภาพชีวิตแบบมีส่วนร่วมที่เป็นมิตรด้านด้านพลังงานทางเลือก
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 9 : เกิดกลุ่มชาวบ้านในชุมชนที่มีการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กลุ่ม 1
KPI 10 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 11 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ชาวบ้านในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
การจัดอบรมกระบวนการนำวัตถุดิบที่ไม่ผ่านมาตรฐานการบรรจุภัณฑ์มาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยผ่านกระบวนการย่อยสลายด้วยไส้เดือนดิน และการนำไปประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ดินปลูก กะละมัง กระถาง เป็นเงิน 16,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,200.00 บาท 0.00 บาท 16,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กล่องใส กะละมัง ถุงกระดาษ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษสี กระดาษเอ4 แฟ้มใส่เอกสาร เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
กลุ่มชาวบ้านยังไม่ทราบเข้าใจเรื่อง zero waste รวมทั้งกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบเหลือใช้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
พัฒนากระบวนการนำวัตถุดิบเหลือใช้มาสร้างคุณค่า และสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มชาวบ้าน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล