17742 : โครงการ "คลีนิคกฎหมาย"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 10/1/2565 14:42:14
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  25  คน
รายละเอียด  ประชาชนทั่วไป นักศึกษา เจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัย
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2565 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. จักรกฤช  ณ นคร
อาจารย์ ดร. ชรินทร  ศรีวิฑูรย์
อาจารย์ ดร. จุฑามาส  เพ็งโคนา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.5 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 41. สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ ๓๓ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔ “...กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรมไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยาตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย...” เนื่องด้วยกฎหมายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน เพราะการใช้ชีวิตในประจำวันของประชาชนย่อมต้องดำเนินอยู่ในกรอบแห่งกฎหมาย ที่เป็นบรรทัดฐานอันเดียวกัน เรื่องของบทบัญญัติของกฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและติดตามการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เนื่องจากกฎหมายก็ย่อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย กฎหมายในปัจจุบันมีอยู่เกือบ 100 ฉบับและจะมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเชื่อแน่ว่าประชาชนทั่วไปไม่มีทางที่จะติดตามหรือรู้ได้เลยว่ากฎหมายแต่ละฉบับนั้นได้กำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของตนไว้อย่างใดบ้าง จึงมีโอกาสที่ประชาชนทั่ว ๆ ไปจะทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว อาทิเช่นเช่น มียาชนิดหนึ่งไว้ในครอบครองเพื่อทานเป็นประจำ ซึ่งเดิมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด แต่ต่อมามีกฎหมายกำหนดให้การครอบครองยาดังกล่าวเป็นความผิด ผู้ครอบครองไม่อาจแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าการมียาไว้กับตัวเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าว และต้องได้รับโทษในกรณีเช่นนี้ย่อมไม่เป็นธรรม ยิ่งทุกวันนี้กฎหมายมีมากขึ้น บุคคลจึงไม่อาจอ้างว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อปฏิเสธความรับผิด สุภาษิตกฎหมายที่ว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่อาจเป็นข้อแก้ตัวได้” นั้นมาจากภาษาลาตินที่ว่า “Ignorantia juris non excusat” หรือที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Ignorance of the law is no excuse. เป็นหลักกฎหมายที่นานาประเทศรวมถึงประเทศไทยได้ยอมรับและปฏิบัติตามมานานแล้ว ประมวลกฎหมายอาญาของไทย มาตรา 64 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” ซึ่งหมายความว่าความไม่รู้ว่าการกระทำของตนเป็นความผิดต่อกฎหมายนั้น ไม่อาจใช้เป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้พ้นผิดได้ และปัจจุบัน มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องด้วยภารกิจต่าง ๆ ทำให้ไม่มีโอกาสในการศึกษาหาความรู้ความที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เมื่อเกิดกรณีปัญหาขึ้น ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหา หรือเข้าใจประเด็นปัญหาได้อย่างถ่องแท้ และปล่อยเวลาล่วงเลยไปเนิ่นนานจนปัญหาเรื้อรังแก้ไขได้ยาก จนต้องพึ่งพาการให้บริการด้านกฎหมายที่มีค่าใช้จ่ายสูง ถ้าหากได้รับการแก้ไขปัญหาหรือรับทราบข้อมูลในการปฏิบัติที่ถูกต้องก่อน ปัญหาก็จะไม่เรื้อรังกลายเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้น จึงได้เกิดแนวความคิดจัดทำโครงการคลินิกกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรขึ้น เพื่อให้คำปรึกษาด้านกฎหมายในเบื้องต้น ให้แก่ประชาชน บุคลากร นักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ประสบปัญหาด้านกฎหมาย หรือต้องการความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมายต่าง ๆ เพื่อไปเป็นแนวทางหรือ นำไปใช้ในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้ประชาชน บุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับคำปรึกษาในปัญหาด้านกฎหมายเบื้องต้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายให้กับประชาชน บุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในโครงการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ประชาชน นักศึกษา เจ้าหน้าทีของมหาวิยาลัย ได้รับคำปรึกษาด้านกฎหมาย
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ประชาชน นักศึกษา เจ้าหน้าทีของมหาวิยาลัย ได้รับคำปรึกษาด้านกฎหมาย
ชื่อกิจกรรม :
ให้ความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จักรกฤช  ณ นคร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จุฑามาส  เพ็งโคนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ความรู้ด้านกฎหมาย
ช่วงเวลา : 01/10/2564 - 30/09/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล