17714 : โครงการศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรผสมผสาน ด้วยระบบ Smart Farm
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/12/2564 15:11:27
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เกษตร นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย สิทิไวกูล  ทิราวงศ์
นาย กิติพงษ์  วุฒิญาณ
นาง ธนันธรณ์  วุฒิญาณ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 65-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 65-3.1.3 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ 65-3.1.3.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่และผสมผสานโดยระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเกษตรผสมผสาน โดยกิจกรรมเหล่านี้จะมีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นระบบที่นำไปสู่ การเกษตรแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) ทั้งนี้ ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งที่ผ่านมามีนโยบายในการช่วยเหลือดูแลเกษตรกรรายย่อยและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ปลอดภัย ตลอดห่วงโซ่การผลิต ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดทางสายกลางบนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักประมาณอย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เน้นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลปัจจุบัน ได้น้อมนำมาเป็นนโยบายและพัฒนา ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของเกษตรกร เน้น “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา อีกทั้งการพัฒนานั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่ คนที่อยู่ในระดับครัวเรือน ระดับท้องถิ่น จึงจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังปฏิวัติการทำระบบเกษตรรูปแบบใหม่ในชื่อที่เรียกว่า Smart Farm โดยการนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรแผนใหม่ผสมผสานกับองค์ความรู้ของเกษตรกรท้องถิ่นมีการจัดการและ นวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการในการผลิต เน้นการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดแรงงานการทำเกษตรทฤษฎีใหม่และผสมผสาน ด้วยระบบ Smart Farm แบบพอเพียง จะเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบง่ายในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่และผสมผสาน โดยเน้น การประหยัดและยั่งยืน ในการทำเกษตรแบบพอเพียง ตามแนวทางพระราชดำริ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่และผสมผสาน ด้วยระบบ Smart Farm แบบพอเพียง
2 เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่และผสมผสาน ด้วยระบบ Smart Farm แบบพอเพียง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่และผสมผสาน ด้วยระบบ Smart Farm แบบพอเพียง
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่และผสมผสาน ด้วยระบบ Smart Farm แบบพอเพียง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ศูนย์ 1
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 4 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการรับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 8 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่และผสมผสาน ด้วยระบบ Smart Farm แบบพอเพียง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 จัดทำศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่และผสมผสาน ด้วยระบบ Smart Farm แบบพอเพียง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายสิทิไวกูล  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายกิติพงษ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางธนันธรณ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เช่น ท่อ Pe ท่อน้ำ ก๊อกน้ำ หัวสปริงเกอร์ ไทม์เมอร์ ฯลฯ เป็นเงิน 28,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 28,400.00 บาท 0.00 บาท 28,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 28400.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 ถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่และผสมผสาน ด้วยระบบ Smart Farm แบบพอเพียงให้แก่กลุ่มประชาชนและเกษตรที่สนใจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายสิทิไวกูล  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายกิติพงษ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางธนันธรณ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,200.00 บาท 0.00 บาท 13,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 7 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 21600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล