17705 : โครงการเสริมสร้างศักยภาพยุวมัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่สากล ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/6/2565 13:36:31
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เยาวชนตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ อโนชา  สุภาวกุล
อาจารย์ ดร. เกษราพร  ทิราวงศ์
อาจารย์ ดร. อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง
อาจารย์ ดร. สมบัติ  กันบุตร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 65-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 65-3.1.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 65-3.1.4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน การท่องเที่ยวไทยมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องทั้งจํานวนและรายได้จากการท่องเที่ยว ในระยะ 5 ปี ที่ผ่านมา โดยรายได้นักท่องเที่ยวไทย อยู่ที่ 653,621 ล้านบาท และรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในปี 2558 ทั้งสิ้น 9,923,185 ล้านบาท (กรมการท่องเที่ยว) แนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวอย่างมาก คือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน และสหราชอาณาจักร รองลงมาเป็นภูมิภาคอเมริกา แนวโน้มตลาดต่างประเทศในปี 2562 นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยยังคงเพิ่มขึ้นในภาพรวม แม้ว่าได้รับผลกระทบจากความผันผวนของสถานการณ์โลก เศรษฐกิจของหลายประเทศที่เติบโตต่ำกว่าคาดการณ์ และความตึงเครียดทางการค้าและการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยบั่นทอนบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยว แต่จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ผลักดันการเติบโตทางการท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งโดยการออกมาตรการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง การทำการตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ทดแทนตลาดที่ชะลอตัว การแสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและนอกอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กอรปกับมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียม Visa on Arrival การฟื้นตัวของตลาดจีนในช่วงครึ่งหลังของปี การเติบโตในอัตราสูงของตลาดอินเดีย และการได้รับความนิยมจากตลาดระยะใกล้ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และอาเซียน ส่งผลให้ในภาพรวมในปี 2562 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยประมาณ 39.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวประมาณ 1.96 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 อนึ่ง สถานการ์การท่องเที่ยวในปี 2563 นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และประเทศไทยยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก ประกอบกับภาครัฐให้การสนับสนุนนโยบายส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ทั้งในรูปของมาตรการท่องเที่ยวและการสร้างเครือข่ายคมนาคมรองรับการเดินทาง รวมทั้ง ททท. มีการสานต่อนโยบายการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่ท่องเที่ยวตามแนวคิด 5 More ของแต่ละภูมิภาค และจุดแข็งของประเทศไทยในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายที่สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี การนำเสนอความเท่ผ่านมหัศจรรย์ความงามของเมืองไทย และสนับสนุนการสร้างสรรค์สินค้าผ่านการใช้นวัตกรรม กระบวนการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายหรือกิจกรรมที่สามารถดึงให้นักท่องเที่ยวอยู่นานวันขึ้น โดยยังส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองหรือแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เชื่อมโยงกับพื้นที่เมืองหลัก อันมีส่วนช่วยผลักดันให้รายได้ทางการท่องเที่ยวของตลาดในประเทศมีการเติบโตเพิ่มขึ้น ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยเชื่อมโยงธุรกิจภาคบริการ อุตสาหกรรมและเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า เช่น ธุรกิจสุขภาพ อาหารและการท่องเที่ยว รวมทั้งสินค้าบริการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ การท่องเที่ยวลักษณะนี้จะเป็นการยกระดับเศรษฐกิจในระดับจุลภาคและยังสามารถกระจายรายได้สู่ชุมชนในระดับฐานราก จึงมีความจำเป็นต้องสร้างผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่แตกต่าง ที่ต้องใช้ทักษะในการจัดการขั้นสูงเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ASEAN การพาเยาวชนเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาทุนมนุษย์ทางการท่องเที่ยวไทย บุคลากรด้านการท่องเที่ยวจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะและองค์ความรู้ให้สามารถแข่งขันได้ ตลอดจนด้านการสื่อสารภาษาไทยและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมผู้ให้บริการ เพื่อนำไปสู่การให้บริการการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตำบลช่อแฮ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีหมู่บ้านทั้งสิ้น 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านมุ้ง หมู่ 2 บ้านพันเชิง หมู่ 3 บ้านพันเชิง หมู่ 4 บ้านธรรมเมือง หมู่ 5 บ้านต้นไคร้ หมู่ 6 บ้านใน หมู่ 7 บ้านปง หมู่ 8 บ้านน้ำจ้อม หมู่ 9 บ้านนาตอง หมู่ 10 บ้านทุ่งสวย ทิศเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ สถานที่ที่น่าสนใจในพื้นที่ได้แก่ วัดจอมเขา วัดต้นไคร้ วัดธรรมเมือง วัดนาตอง วัดบ้านใน วัดพระธาตุจอมแจ้ง วัดพระธาตุช่อแฮ วัดพันเชิง วัดสุวรรณาราม ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจของตำบลช่อแฮ ได้แก่ ผ้าคลุมเตียง ผ้าด้นมือ ผ้าฝ้ายแปรรูป ดังนั้น การจัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพยุวมัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จะมีส่วนช่วยให้ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชนให้มีความยั่งยืนได้ในกระแสโลก ตลอดจนช่วยยกระดับเศรษฐกิจและสังคมจากการท่องเที่ยว และเป็นการพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่นให้มีส่วนช่วยในการร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน โดยการฝึกปฏิบัติการเป็นยุวมัคคุเทศก์ที่ดี มีจิตบริการและมีความชำนาญในพื้นที่การท่องเที่ยว เล็งเห็นถึงคุณค่าทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในท้องถิ่นตนเอง ตลอดจนเพื่อฝึกฝนทักษะวิชาชีพการท่องเที่ยวกับเยาวชน อันจะเป็นประสบการณ์ที่ดีเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต และในบริบทไทยที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มีดุลยภาพทั้งในมิติเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนำเสนอการพัฒนาที่มั่นคง ยั่งยืน ตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั้นคือความยั่งยืน ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาคนและสังคม และการพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อถ่ายทอดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเป็นมัคคุเทศก์ให้กับเยาวชนในท้องถิ่น
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของเยาวชนสู่การเป็นยุวมัคคุเทศก์น้อยท้องถิ่น
3 เพื่อให้เยาวชนผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่ดีต่อการท่องเที่ยวและงานบริการ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เยาวชนตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้รับการพัฒนาและมีศักยภาพในการเป็น ยุวมัคคุเทศก์เพิ่มมากขึ้น
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0264 0.0236 ล้านบาท 0.05
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมเสวนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : เยาวชนที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพการเป็นยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เยาวชนตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้รับการพัฒนาและมีศักยภาพในการเป็น ยุวมัคคุเทศก์เพิ่มมากขึ้น
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การเสวนาถ่ายทอดความรู้การเป็นยุวมัคคุเทศก์สำหรับเยาวชนท้องถิ่น (ภาคภาษาไทย)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
4. ค่าเช่าสถานที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 4 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 14,400 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 200 บาท บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร, ปากกา, กระดาษ เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 26400.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นสู่สากล (ภาคภาษาอังกฤษ)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2569
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2,500 จำนวน 1 คัน เป็นเงิน 2,500 บาท
4. ค่าเช่าสถานที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 200 บาท บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 11,200.00 บาท 0.00 บาท 11,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 23600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล