17690 : โครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุนชนบ้านบุญแจ่ม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/11/2564 16:14:45
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เยาวชน และบุคคลทั่วไปที่ต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับการท่องเที่ยวชุมชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรรณิการ์  กาญจันดา
อาจารย์ ดร. น้ำฝน  รักประยูร
อาจารย์ ดร. เกศินี  วีรศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 65-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 65-3.1.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 65-3.1.4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ชุมชนบ้านบุญแจ่มเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีบ้านเรือนเรียงรายอยู่สองฝั่งแม่น้ำแม่กำปอง เดิมชื่อว่า “บ้านห้วยแจ้” เพราะอยู่ใกล้ลำน้ำห้วยแจ้ นอกจากนี้ยังมีป่าชุมชนอยู่รอบ ๆ หมู่บ้าน อีกทั้งชาวบ้านในชุมชนยังปลูกป่าตามหัวไร่และปลายนาเพื่อร่วมอนุรักษ์ป่าไม้ ชาวบ้านมีการดำรงชีวิตอย่างหลากหลาย รวมถึงมีประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ชุมชนบ้านบุญแจ่มได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านร้อยรางวัลนวัตวิถี เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับจังหวัดตามโครงการเชิดชูเกียรติเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น จังหวัดแพร่ ปี 2556 นอกจากนี้ชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ป่าชุมชน หมู่บ้านวิถีวัฒนธรรม โฮมสเตย์ การนวด/อบด้วยสมุนไพร ยาสมุนไพร ชาสมุนไพร การแปรรูปอาหาร (ปลาร้าอบ ปลาส้ม ปลาแดดเดียว, มะขามคลุก, แหนมหมู) การดำเนินวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน ฯลฯ เป็นต้น ด้วยความพร้อมด้านทรัพยากรของพื้นที่และศักยภาพของชาวบ้านบุญแจ่มทำให้สามารถพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นได้ ด้วยข้อจำกัดของทางเลือกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศช่วงหลังโควิด-19 รัฐบาลจึงได้กำหนดหลักการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว หรือภาคบริการอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน ให้มีการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานโดยหน่วยงาน องค์กร และสถาบันการศึกษาสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและชุมชน ดังนั้น ในระยะสั้นประเทศไทยควรเน้นให้น้ำหนักกับการจัดการกับวิกฤตการณ์และการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประเทศกลับมาอีกครั้ง เช่น การจ้างงานแบบไม่เต็มเวลา และการ Reskill/Upskill บุคคลากรในสาขาท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ในฐานะสถาบันการศึกษาของรัฐ ได้ตระหนักและเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน จึงประสงค์ที่จะจัดทำโครงการ “การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุนชนบ้านบุญแจ่ม” เนื่องจากปัจจุบันการท่องเที่ยวในชุมชนไม่ได้มีเพียงคนไทยเท่านั้น ยังมีชาวต่างชาติที่สนใจถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่อย่างไรก็ตาม ชุมชนยังขาดแคลนบุคลากรที่จะสามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่มีคุณค่าให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ จึงอาจทำให้เป็นการเสียโอกาสในการชักจูงและจูงใจให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในพื้นที่ส่งผลให้เสียโอกาสในการแสวงหารายได้ตามไปด้วย ดังนั้น โครงการจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการสร้างงานและสร้างอาชีพในชุมชนในระยะยาว โดยเฉพาะการพัฒนาเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพตามถนัด และมีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้ ตลอดจนใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เป็นฐานการเรียนรู้ในชุมชนและส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความสอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ/ พระบรมราโชบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ร.10 กล่าวโดยสรุป การศึกษา คือ ความมั่นคงของประเทศ ซึ่งตรงกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว โดยทรงเน้นเรื่องการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน สร้างให้คนไทยมีคุณสมบัติ 4 ด้าน คือ 1) มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง 3) มีงานทำ มีอาชีพ 4) เป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย พระองค์ทรงมุ่งหวังให้มีการยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น มีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น แล้วให้นำยุทธศาสตร์ใหม่มาพัฒนาใช้ และปรับให้เหมาะสมตามสภาพและประเพณีท้องถิ่น หมายความว่า ให้นำองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างตรงเป้าหมาย ตามความต้องการของท้องที่ และสร้างศักยภาพความสามารถในการเรียนรู้ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองพระราโชบายของรัชกาลที่ 10 โครงการ “การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุนชนบ้านบุญแจ่ม” โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิม พระเกียรติ มีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้ 1) ด้านการยกระดับมหาวิทยาลัยในการพัฒนาท้องถิ่น โครงการจะมีการจัดกิจกรรมบริการวิชาการเกี่ยวกับการให้องค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพแก่คนในท้องถิ่น 2) ด้านการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น โครงการจะมีการจัดกิจกรรมพันธกิจสัมพันธ์กับท้องถิ่นที่เน้นการพัฒนาท้องถิ่นในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นในท้องที่ตน ผ่านเวทีการสนทนากลุ่มเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการของคนในชุมชนเพื่อนำไปสู่การกำหนดรูปแบบ เนื้อหา และกิจกรรมการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) ด้านการพัฒนาใช้ยุทธศาสตร์ใหม่ โดยปรับให้เหมาะสมกับสภาพและประเพณีท้องถิ่น โครงการจะมีจัดให้มีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคืนข้อมูลเพื่อให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวชุมชนที่ สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพและประเพณีท้องถิ่น ซึ่งหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทาง/นโยบายใน การส่งเสริมสนับสนุนชุมชนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวชุมชนแบบพึ่งพาตนเองบนฐานความพอเพียงและความรู้
2. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวด้วยการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและองค์ความรู้ของชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจและมีส่วนร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุนชน 2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ความรู้และพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการ ท่องเที่ยวชุมชน
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละความรู้ความเข้าใจการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุนชนของผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.00408 0.01185 0.03407 ล้านบาท 0.05
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุนชน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากรับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจและมีส่วนร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุนชน 2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ความรู้และพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการ ท่องเที่ยวชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และความต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุนชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์  กาญจันดา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,450 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท
3. ค่าเช่าสถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,450.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,450.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 5,400 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 11850.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุนชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์  กาญจันดา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 7,350 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 10,500 บาท
3. ค่าเช่าสถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วัน ๆ ละ 500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,500 บาท
4. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 70 บาท (ขนาด A4 จำนวน 50 หน้า) เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 21,450.00 บาท 0.00 บาท 21,450.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกาไวท์บอร์ด ปากกา สมุด ดินสอ ฯลฯ เป็นเงิน 1,820 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,820.00 บาท 0.00 บาท 1,820.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 34070.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 ประสานงานและเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์  กาญจันดา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
- ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ส่วนตัว ระยะทาง 50 กิโลเมตรๆ ละ 4 บาท จำนวน 6 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ประสานงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 240 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 2,880 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,080.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,080.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4080.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล