17582 : โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/12/2564 19:12:26
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  บุคคลทั่วไป นักเรียนหรือนักศึกษาในชุมชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัฒน์  สร้อยทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปราณรวีร์  สุขันธ์
อาจารย์ ดร. เนตราพร  ด้วงสง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4.การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1.4 ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ขยะเป็นปัญหาสำคัญของมนุษยชาติ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้เข้ามาเป็นหน่วยงานกลางที่ประสานความร่วมมือของประเทศต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองด้วยการกำหนดให้มีโครงการวันรณรงค์เพื่อโลกสะอาดเป็นครั้งแรกในปี1993 เพื่อเชิญชวนให้ทุกประเทศได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขยะในชุมชนของตน ทำให้ทุกคนได้เกิดความตระหนักถึงปัญหาขยะที่มีผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาขยะ การกำจัดขยะชุมชนมีอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งที่แสดงถึงการขาดความเข้าใจของคนไทยคือ ประชาชนมักทิ้งภาระหน้าที่ให้กับเจ้าพนักงานทำความสะอาด ไม่ร่วมมือในการลด และนำขยะชุมชนกลับมาใช้ประโยชน์ การแก้ไขปัญหาขยะจึงไม่ควรมองไปที่เรื่องของส่วนรวมเพียงอย่างเดียวแต่ควรมองย้อนกลับมาที่ตัวบุคคลเป็นหลัก สำหรับแนวทางที่แก้ปัญหาขยะล้นเมืองในภาคประชาชน และชุมชนนั้นสามารถใช้หลักการ 4 Rs สร้างจิตสำนึกต่อสังคม ได้แก่ 1) ลดการใช้ลดการบริโภคสินค้าที่ฟุ่มเฟือยใช้อย่างประหยัด และใช้เท่าที่จำเป็น 2)การซ่อมแซมการซ่อมแซมวัสดุสิ่งของที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพที่ดีใช้งานได้นาน ไม่ต้องทิ้งเป็นขยะ หรือต้องสิ้นเปลืองซื้อใหม่ 3) การใช้ซ้ำการนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า 4)การนำกลับมาใช้ใหม่การนำขยะมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่การลดขยะด้วยวิธีการเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น โดยประชาชนควรให้ความสนใจ มีการตระหนักและรับรู้ถึงปัญหาของขยะในสถานการณ์ปัจจุบันและที่จะขยายตัวในอนาคตอีกทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนควรมีการจัดโครงการรณรงค์พร้อมช่วยเหลือเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดขึ้น เทศบาลตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีจำนวนประชากรมากกว่า 11,000 คนและเทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนประชากรมากกว่า 9,000 คน ซึ่งทั้งสองเทศบาลเป็นเทศบาลที่มีจำนวนประชากรจำนวนค่อนข้างมากส่งผลให้เกิดขยะมูลฝอยในชุมชนอย่างมากประมาณวันล่ะ 3 ตัน ทั้ง 2 ชุมชน ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการจ้างจัดเก็บขน และกำจัดขยะ ซึ่งขยะชุมชนที่ทำการเก็บได้มากกว่าครึ่งเป็นขยะอินทรีย์ และขยะมูลฝอยทั่วไป เช่น พลาสติก กระดาษ แก้ว แต่อย่างไรก็ตามยังพบขยะอันตรายปะปนมาด้วย ซึ่งหากการจัดการไม่ถูกต้อง หรือใช้ระยะเวลาที่นานในการจัดเก็บ ทำให้เกิดทัศนียภาพที่ ไม่สวยงาม ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น และน้ำเน่าเสียจากขยะหมักหมม มีแมลง และสัตว์พาหะนำโรคมาอาศัยอยู่ในกองขยะ ปัญหาการจัดการขยะมูลชุมชนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากประชาชน/เยาวชน ยังขาดองค์ความรู้ในการคัดแยกขยะมูลฝอยในแต่ละประเภทภายในชุมชน ดังนั้นทั้ง 2 ชุมชน มีความจำ เป็นต้องดำเนินโครงการเชิงรุก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย และการลดปริมาณขยะที่จะนำไปกำจัดในพื้นที่ชุมชน สถานศึกษาอาคาร หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน ตลาดสด เป็นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์/ส่งเสริมให้ประชาชน/เยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย โดยการคัดแยกและจัดการประเภทขยะมูลฝอย (ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป) ที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดภายในชุมชนของตนเองได้ และสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ ภายในเขตพื้นที่ นอกจากนี้จากการที่ขยะชุมชนมีปริมาณขยะอินทรีย์จำนวนมากเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ และลดรายจ่ายของครัวเรือนจึงเพิ่มการสนับสนุนให้ครัวเรือนได้นำขยะอินทรีย์มาทำการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมาผ่านกระบวนการหมักและใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน นอกจากนี้ โครงการยังออกแบบให้มีความสอดคล้องกับ “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100” ข้อ 2.2 การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ GO. Eco. University เพื่อให้มหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสีเขียวและมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ โดยมุ่งเน้นที่ข้อ 2.2.2 มหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวชั้นนำของประเทศ (Green university ranking) เพื่อสร้างความ “อยู่ดี” ให้กับประเทศ นั่นคือ โครงการนี้สามารถสนับสนุนมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาข้างต้นได้โดยนำแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการไปใช้ประโยชน์ในส่วนของการจัดการขยะชุมชน โดยเริ่มตั้งแต่การให้องค์ความรู้แก่ประชาชน ในการดำเนินการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ร่วมไปถึงการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติได้จริง การเพิ่มมูลค่าให้ขยะชุมชน และการนำขยะชุมชนการพัฒนาเป็นพลังงานทางเลือกเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนอย่างเหมาะสม ซึ่งโครงการนี้สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริของพระบาท - กองทุนบำบัดและใช้ประโยชน์จากขยะในมูลนิธิชัยพัฒนา ในราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร - โครงการหลังคาเขียวเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ในราชดำริของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
ให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะชุมชน กับชุมชน หมู่บ้าน สถานศึกษา ตลาดสด ฯลฯ
ให้มีการคัดแยก และกระบวนการจัดการขยะอินทรีย์ (ผลิตปุ๋ยหมัก) ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนเป้าหมาย
ให้มีชุมชน/กลุ่มเป้าหมายนำร่องในการคัดแยกขยะจากต้นทาง เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. องค์ความรู้ในการคัดแยกขยะชุมชน 2. ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ในครัวเรือน 3. ชุมชนต้นแบบในการคัดแยกขยะ
KPI 1 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ จำนวนชุมชนนำร่องในการคัดแยกขยะจากต้นทาง เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุมชน 1
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.044 0.006 ล้านบาท 0.05
KPI 8 : ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (Outcome) ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. องค์ความรู้ในการคัดแยกขยะชุมชน 2. ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ในครัวเรือน 3. ชุมชนต้นแบบในการคัดแยกขยะ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 1 การประชุมวางแผน สำรวจพื้นที่เพิ่มเติม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/01/2565 - 31/03/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง ลงพื้นที่ 5 คน × 240 บาท × 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำแผ่นพับ จำนวน 50 แผ่น × 50 บาท ขนาด A4 เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา แฟ้ม เทปใส ไส้แม็กซ ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 9900.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะชุมชน และปฏิบัติการการคัดแยกและการจัดการขยะอินทรีย์ (ผลิตปุ๋ยหมัก) ขยะรีไซเคิล
ขยะอันตราย และขยะทั่วไป

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/01/2565 - 31/03/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 150 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำโปสเตอร์ ขนาด 0.6x 2 เมตร จำนวน 2 ป้าย × 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 1 คน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 4 คน ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา แฟ้ม เทปใส ไส้แม็กซ์ ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงดำ ถุงมือยาง กล่องพลาสติก ไม้กวาด ฯลฯ เป็นเงิน 6,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น หน้ากาก แว่นตานิรภัย ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 34100.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 การติดตาม ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ทำเอกสารและเขียนรายงานผลโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ซีดี ฯลฯ เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 6000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความเสี่ยงจากความความล่าช้าของการดำเนินโครงการจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น การสำรวจรวบรวมเศษพลาสติก การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
จัดการฝึกอบรมภายใต้การควบคุมไวรสโควิด-19 และประสานงานสาธารณสุขชุมชนในการช่วยดำเนินการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ความรู้เบื้องต้นของพลาสติก ปัญหาขยะพลาสติก กระบวนการแยกขยะพลาสติก การจัดการขยะพลาสติก และขยะอินทรีย์ที่ผ่านการแยกแล้วแก่ชุมชนผ่านกิจกรรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
ช่วงเวลา : 04/01/2565 - 30/09/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล