17581 : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Arduino พื้นฐานสำหรับการเกษตรก้าวหน้าเพื่อรองรับอุตสาหกรรมอนาคต
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/12/2564 10:41:06
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  เกษตรกร / ผู้ประกอบการด้านการเกษตร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ชูพงษ์  ภาคภูมิ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กนกวรรณ  กรรเชียง
รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรพล  ธุระกิจเสรี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4.การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1.4 ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางการเกษตรโดยการผลักดันให้เป็นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต ภายใต้กรอบการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University) มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco. University) ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการพัฒนาทั้ง 3 ด้านไปพร้อมกันแต่ช่วงเวลาในการพัฒนาแต่ละด้านจะถูกวางแผนดำเนินภายใต้ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน นั่นคือ ระยะเริ่มต้น (พ.ศ. 2555 - 2559) ระยะกลาง (พ.ศ. 2560 - 2564) และระยะสุดท้าย (พ.ศ. 2565 - 2569) ภายใต้กรอบเวลาของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการพัฒนาในระยะสุดท้ายนั้น มหาวิทยาลัยได้มุ่งเน้นการพัฒนาส่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ และมีการวางแผนขยายผลสู่การปรับเปลี่ยนแนวคิด จิตสํานึก และพฤติกรรมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งนักศึกษา บุคลากร บัณฑิต ศิษย์เก่า และก่อนจะขยายผลการดําเนินงานสู่ชุมชนเพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นต้นแบบและเป็นผู้นำชุมชนและประเทศชาติสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จะเห็นได้ว่า การพัฒนาแต่ละช่วงภายใต้ขอบเขตของเวลาที่จำกัดนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมในด้านกำลังคนและเทคโนโลยีให้สอดรับกับโครงสร้างการพัฒนาของมหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองต่อแผนการพัฒนาประเทศและกำลังคนที่มีสมรรถนะและเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยสู่ New S-Curve ที่เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Arduino พื้นฐานสำหรับการเกษตรก้าวหน้าเพื่อรองรับอุตสาหกรรมอนาคต” นี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นนำไปสู่การพัฒนากำลังที่มีความรู้ความสามารถในการแข่งขัน หลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์ได้เล็งเห็นความสำคัญด้านการพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นผู้นำทางด้านการเกษตรแบบก้าวหน้าหรือเกษตรอัจฉริยะ ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงเกษตรกรเองด้วย การนำเอาเทคโนโลยีทางด้านฟิสิกส์มาใช้พัฒนาการเกษตรที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตและการเปลี่ยนรูปแบบการใช้แรงงานคนไปสู่เกษตรแบบก้าวหน้าหรือเกษตรอัจฉริยะที่มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซนเซอร์ เป็นต้น รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในระหว่างกระบวนการเพาะปลูกหรือกระบวนเก็บเกี่ยวผลผลิตก็ตามจึงจะต้องมีการเริ่มต้นและวางแผนการพัฒนาในระยะเวลายาวไปพร้อม ๆ กับนโยบายของประเทศและมหาวิทยาลัย โดยเริ่มจากระยะแรกเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานที่จะสามารถต่อยอดเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ในอนาคตเพื่อให้ทั้งเกษตรกรเกิดความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงระหว่างเกษตรแบบดั้งเดิมและเกษตรแนวใหม่ และสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรถึงอรรถประโยชน์ต่าง ๆ และการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนที่จะได้รับจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสู่เกษตรแนวใหม่ กอปรกับการพัฒนาทางด้านการเกษตรโดยการผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีพร้อมอยู่แล้วนั้นถือเป็นรากฐานสู่การต่อเริ่มต้นการพัฒนาระยะยาวหรือระยะสุดท้ายซึ่งจะเริ่มต้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่มีการรวมกลุ่ม ชุมชน รัฐวิสาหกิจชุมชน และภาคเอกชน เป็นต้น เพื่อผลักดันให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงอันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและการแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูงได้ เมื่อเทคโนโลยีเกิดความแพร่หลายและนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้สำเร็จจะทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้กลายเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์และมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้การนำเข้าเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อมาประยุกต์ใช้ทางด้านการเกษตรนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเทคนิคทางด้านกายภาพ เพื่อลดต้นของการใช้แรงงานคนและทุ่นระยะเวลาในการดูแลผลผลิตระหว่างเพาะปลูก การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซนเซอร์ ฯลฯ มาช่วยในกระบวนการเพาะปลูก การบริหารจัดการพื้นที่แปลงเกษตร การบริหารจัดการข้อมูล โดยเน้นการประยุกต์ใช้ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีความสะดวกและสามารถประหยัดต้นทุนค่าใช้ได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการเกษตรของไทยยุคใหม่ยังคงมีความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง โดยเฉพาะไมโครคอนโทรลเลอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ถูกเชื่อมต่อ เช่น อุปกรณ์วัดอุณหภูมิ อุปกรณ์วัดความชื้น อุปกรณ์วัดแสง อุปกรณ์วาล์วเปิดและปิดน้ำ เป็นต้น รวมถึงการควบคุมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตอีกด้วย ฉะนั้นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับทั้งบุคคลภายนอก นักศึกษา และบุคคลากรในมหาวิทยาลัยให้ได้รับความรู้และการใช้อรรถประโยชน์ที่มีอยู่อย่างสูงสุดจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เทคโนโลยี Arduino ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสําคัญยิ่งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยการบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งทางฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร และอุตสาหกรรม เข้าด้วยกัน และการศึกษาวิจัยในการนําเอาเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาบรูรณาการในงานนั้น สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์จึงเล็งเห็นความสําคัญดังกล่าว อีกทั้งสาขา ฯ มีบุคลากรสายวิชาการที่มีองค์ความรู้ความสามารถพร้อมในการให้บริการ ทางคณะผู้จัดอบรมจึงได้กําหนดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้นจํานวน 3 ครั้ง โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐาน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Arduino กับการเกษตร ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนําความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะกับอาชีพและความต้องการของผู้เข้าอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมากจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เช่น การใช้เทคโนโลยีช่วยในการ ตั้งเวลารดน้ำ เก็บข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ (ความชื้น, ความเข้มแสง เพื่อรวบรวมและส่งข้อมูลเข้าโทรศัพท์มือถือแจ้งข้อมูลรายวัน เป็นการลดต้นทุนด้านแรงงานคนและเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้วยตนเอง
เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่นวัตกรรมเกษตรยุคดิจิทัล
เพื่อเปิดโอกาสให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความสนใจได้พัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยี
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ประกอบการด้านการเกษตรและลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าการผลิต
เพื่อพัฒนาบุคลากรที่ทำงานในภาคส่วนของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุรักษ์พันธุ์พืช
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้รับการอบรม ได้องค์ความรู้ทางด้านการใช้เทคโนโลยี Arduino และสามารถปฏิบัติได้
KPI 1 : ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (Outcome) ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ สามารถทำการเชื่อมต่อและเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งาน Arduino กับงานทางด้านการเกษตรตามโปรแกรมการอบรมได้ทุกคน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ ผู้เข้าอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปประยุกต์ใช้จริงในพื้นที่เกษตรของตน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 6 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) ร้อยละของผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้รับการอบรม ได้องค์ความรู้ทางด้านการใช้เทคโนโลยี Arduino และสามารถปฏิบัติได้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ความรู้ทางด้านการใช้เทคโนโลยี Arduino”
- ประกาศรับสมัครค้นหาเกษตรกรเป้าหมายแบบเชิงรุก/คัดเลือกผู้เข้าอบรม
- ติดตามผลการนำไปประยุกต์ใช้จริง
- รายงานผลการดำเนินงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ชูพงษ์  ภาคภูมิ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ  กรรเชียง (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรพล  ธุระกิจเสรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 15 คน ๆ ละ 50 บาท 1 มื้อ 2 วัน 2 ครั้ง
เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 3 คน 2 วัน 2 ครั้ง เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น บอร์ด Arduino , sensor ทางการเกษตร ฯลฯ เป็นเงิน 35,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 35,200.00 บาท 0.00 บาท 35,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ แฟ้ม ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
Arduino technology มาบริการวิชาการ
ช่วงเวลา : 01/11/2564 - 30/09/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล